
สันติภาพ อาณาจักรรัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ค่อนข้างไม่มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น ขณะนี้ราชวงศ์จักรีเข้าควบคุมทุกส่วนของรัฐบาลสยาม เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระราชโอรส-ธิดารวมทั้งสิ้น 42 พระองค์
พระมหาอุปราช พระอนุชา มีพระโอรส-ธิดารวม 43 พระองค์ และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชโอรส-ธิดาทั้งสิ้น 100 พระองค์ จึงมีเจ้านายพอที่จะจัดเข้าสู่ระบบข้าราชการประจำ กองทัพ สมณเพศอาวุโสและรัฐบาลส่วนภูมิภาค มีการเผชิญหน้ากับเวียดนาม ซึ่งกลายมาเป็นมหาอำนาจในภูมิภาค เหนือการควบคุมกัมพูชาใน พ.ศ. 2356 ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยการฟื้นฟูสถานะเดิม
อิทธิพลของตะวันตกเริ่มแผ่ขยายเข้ามาในภูมิภาค โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2328 อังกฤษยึดครองปีนัง และใน พ.ศ. 2362 เข้ามาตั้งสิงคโปร์ ไม่นาน อังกฤษก็ได้เข้ามาแทนที่ฮอลันดาและโปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองหลักในสยาม อังกฤษคัดค้านระบบเศรษฐกิจสยาม
ซึ่งเจ้านายเป็นผู้ผูกขาดการค้า และธุรกิจถูกจัดเก็บภาษีตามอำเภอใจ ใน พ.ศ. 2364 ลอร์ดฮัสติงส์แห่งบริษัทอินเดียตะวันออก ซึ่งขณะนั้นเป็นข้าหลวงใหญ่แห่งอินเดีย ส่งตัวแทนของบริษัท จอห์น ครอว์เฟิร์ด เป็นคณะทูตเพื่อเรียกร้องให้สยามยกเลิกการจำกัดการค้าเสรี อันเป็นสัญญาณแรกของประเด็นซึ่งจะครอบงำการเมืองของสยามในคริสต์ศตวรรษที่ 19
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2367 กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ เสวยราชสมบัติต่อเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชโอรสพระองค์เล็ก เจ้าฟ้ามงกุฎ ทรงได้รับการแนะนำให้ออกผนวช เพื่อจะได้ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง
ใน พ.ศ. 2368 อังกฤษส่งคณะทูตเข้ามาในกรุงเทพมหานครอีกครั้ง นำโดย ผู้แทนทางการทูตของบริษัทอินเดียตะวันออก เฮนรี เบอร์นี ขณะนั้น อังกฤษได้ผนวกพม่าตอนใต้แล้ว และจึงเป็นเพื่อนบ้านของสยามทางตะวันตก และอังกฤษยังพยายามขยายการควบคุมเหนือมลายูด้วย พระมหากษัตริย์ไม่เต็มพระทัยยอมข้อเรียกร้องของอังกฤษ แต่ที่ปรึกษาของพระองค์กราบทูลเตือนว่า สยามจะเผชิญชะตาเดียวกับพม่าหากไม่บรรลุข้อตกลงกับอังกฤษ
ฉะนั้น ใน พ.ศ. 2369 สยามจึงบรรลุสนธิสัญญาพาณิชย์ฉบับแรกกับชาติตะวันตก คือ สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ (หรือสนธิสัญญาเบอร์นี) ภายใต้เงื่อนไขแห่งสนธิสัญญา สยามตกลงจัดตั้งระบบการจัดเก็บภาษีเป็นแบบเดียวกัน ลดภาษีการค้าต่างชาติและลดการผูกขาดของหลวงบางประเภท ผลคือ การค้าของสยามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ชาวต่างชาติจำนวนมากเข้ามาตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพมหานคร และอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกเริ่มแผ่ขยาย ราชอาณาจักรมั่งคั่งขึ้นและกองทัพติดอาวุธดีขึ้น
กบฏเจ้าอนุวงศ์ของลาวพ่ายแพ้ใน พ.ศ. 2370 ซึ่งหลังจากนั้นสยามได้ทำลายกรุงเวียงจันทน์ และดำเนินการถ่ายโอนประชากรแบบบังคับขนานใหญ่จากลาวมายังภาคอีสานปัจจุบันที่ครอบครองแน่นหนากว่า และแบ่งแยกเมืองลาวเป็นหน่วยเล็ก ๆ เพื่อป้องกันการก่อการกำเริบอีก ใน พ.ศ. 2385-2388 สยามทำสงครามกับเวียดนามเป็นผลสำเร็จ ซึ่งเป็นผลให้สยามปกครองกัมพูชาได้รัดกุมขึ้น
จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1840 เป็นที่ประจักษ์ว่า เอกราชของสยามอยู่ในอันตรายจากประเทศเจ้าอาณานิคม ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนจากสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่งระหว่างอังกฤษกับจีนใน พ.ศ. 2382-2385 ใน พ.ศ. 2393 อังกฤษและอเมริกาส่งคณะทูตมายังกรุงเทพมหานครเรียกร้องให้ยุติการจำกัดการค้าทั้งหมด จัดตั้งรัฐบาลแบบตะวันตกและสิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่พลเมืองของตน รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวปฏิเสธข้อเรียกร้องเหล่านี้ ทิ้งให้ผู้สืบราชสมบัติอยู่ในสถานการณ์อันตราย
ในทางเศรษฐกิจ นับแต่ก่อตั้งราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ พ่อค้าจีนมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากเดิมที่ถูกขับไล่ออกไปโดยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี นอกเหนือจากพ่อค้า ชาวจีนที่เป็นชาวนาก็เข้ามาแสวงโชคไม่หยุดหย่อนในราชอาณาจักร ผู้ปกครองสมัยนี้ต้อนรับชาวจีนเพราะเป็นแหล่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจ พ่อค้าเชื้อสายจีนบางคนได้กลายมาเป็นข้าราชสำนึกถือตำแหน่งสำคัญ วัฒนธรรมจีน
เช่น วรรณกรรม ได้รับการยอมรับและสนับสนุน ความสัมพันธ์ของสยามกับจักรวรรดิจีนนั้นเข้มแข็ง ซึ่งรับประกันโดยคณะทูตบรรณาการ ซึ่งดำเนินเรื่อยมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้น ชาวจีนจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการเกิดใหม่ของราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์
การทำให้ทันสมัย
สันติภาพ อาณาจักรรัตนโกสินทร์ เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2394 ทรงถูกกำหนดให้ช่วยสยามให้รอดพ้นจากการครอบงำอาณานิคมโดยทรงบังคับให้คนในบังคับทันสมัย แม้พระองค์จะเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชในทางทฤษฎี แต่พระราชอำนาจของพระองค์มีจำกัด หลังจากออกผนวชนาน 27 ปี
พระองค์จึงขาดฐานในหมู่เจ้านายที่ทรงอำนาจ และไม่อาจดำเนินระบบรัฐสมัยใหม่ตามพระประสงค์ได้ ความพยายามแรกของพระองค์ในการปฏิรูปเพื่อสถาปนาระบบการปกครองใหม่และยกสถานภาพของทาสสินไถ่และสตรีไม่สัมฤทธิ์ผล
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงต้อนรับการบุกรุกของตะวันตกในสยาม อันที่จริง พระองค์และข้าราชบริพารนิยมอังกฤษอย่างแข็งขัน ใน พ.ศ. 2398 มีคณะทูตอังกฤษ นำโดย เซอร์จอห์น เบาริง ผู้ว่าราชการฮ่องกง เดินทางเข้ามาในกรุงเทพมหานครเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทันที
โดยได้รับการสนับสนุนจากการข่มขู่ใช้กำลัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมยอมรับข้อเรียกร้องทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ เรียกว่า สนธิสัญญาเบาว์ริง ซึ่งจำกัดอัตราภาษีขาเข้าที่ร้อยละ 3 กำจัดการผูกขาดการค้าของพระมหากษัตริย์ และให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่คนในบังคับอังกฤษ ไม่นาน ชาติตะวันตกอื่น ๆ ก็ได้เรียกร้องและได้สัมปทานที่คล้ายกัน
ไม่นาน พระองค์ก็ทรงตระหนักว่า ภัยคุกคามต่อสยามแท้จริงนั้นมาจากฝรั่งเศส มิใช่อังกฤษ อังกฤษสนใจในประโยชน์พาณิชย์ แต่ฝรั่งเศสสนใจสร้างจักรวรรดิอาณานิคม ฝรั่งเศสยึดครองไซ่ง่อนใน พ.ศ. 2402 และ พ.ศ. 2410 ได้สถาปนารัฐในอารักขาเหนือเวียดนามตอนใต้และกัมพูชาตะวันออก
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหวังว่าอังกฤษจะปกป้องสยามหากพระองค์พระราชทานสัมปทานเศรษฐกิจตามที่ต้องการ แต่เหตุการณ์ในรัชกาลต่อมาได้พิสูจน์แล้วว่า ความหวังของพระองค์เป็นเพียงภาพลวงตา แต่ก็เป็นจริงที่อังกฤษมองสยามเป็นรัฐกันชนที่มีประโยชน์ระหว่างพม่าและมลายูของอังกฤษกับอินโดจีนฝรั่งเศส
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการด้านต่างๆ สมัยรัตนโกสินทร์
- ทำเลที่ตั้งของกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีเส้นทางออกสู่ทะเลได้สะดวก ทำให้ติดต่อค้าขายกับพ่อค้าต่างชาติ ได้ง่าย
- อิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุก ช่วยเอื้อำนวยต่อ การเพาะปลูก
- การมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง จึงเหมาะแก่การเพาะปลูกและใช้อุปโภคบริโภค
- การเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม เนื่องจากอยู่ในเส้นการค้าระหว่างโลกตะวันตกและ ตะวันออก
วันที่ในข่าวนี้ 1 มกราคม 1785 วันที่ประมาณการ