
สาธารณรัฐเกาหลีที่ 5 ประธานาธิบดีวาระที่ 11 ของเกาหลีใต้ (2523-2524)
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2523 ประธานาธิบดี เช กิวฮา ประกาศว่าจะลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี และในวันที่ 27 สิงหาคม สภาแห่งชาติเพื่อการรวมประเทศ ในขณะนั้นถูกควบคุมโดยคณะผู้เลือกตั้งแห่งเกาหลีใต้ ได้ลงคะแนนเลือกนายช็อน ดู-ฮวันเป็นประธานาธิบดี ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม เพราะนายช็อน ดู-ฮวันเป็นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเพียงคนเดียว เขาเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2523 เป็นประธานาธิบดีวาระที่ 11 ของสาธารณรัฐเกาหลี
สาธารณรัฐเกาหลีที่ 5 วันที่ 17 ตุลาคม ชอนได้ใช้อำนาจสั่งการยุบพรรคการเมืองทุกพรรค รวมถึง “พรรคสาธารณรัฐประชาธิปไตย” ซึ่งได้จัดไว้เป็นฐานอำนาจของ พัก จองฮี ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอยู่ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2524 ชอนได้ร่างพรรคการเมืองของตนขึ้นมาคือ พรรคยุติธรรมประชาธิปไตย (ดีเจพี)
อย่างไรก็ตาม ความตั้งใจและเจตนาทั้งหมดก็คงเป็นพรรคสาธารณรัฐประชาธิปไตยแต่อยู่ในชื่ออื่นเท่านั้น ภายหลังจากนั้นไม่นาน ชอนได้รับเอารัฐธรรมนูญใหม่ ขณะที่ยังมีความเป็นเผด็จการน้อยกว่ารัฐธรรมนูญยูซินของพัก ซึ่งยังคงให้อำนาจในการเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างยุติธรรม ชอนเลือกตั้งประธานาธิบดีซึ่งเป็นสิทธิของเขา และกลายเป็นประธานาธิบดีวาระที่ 12 ของสาธารณรัฐเกาหลี
“บันทึกข้อความเกี่ยวกับขีปนาวุธ”
ในปีพ.ศ. 2523 ในขณะที่เผชิญความตึงเครียดกับสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการเข้าควบคุมทาวทหารของชอน ประธานาธิบดีชอนได้ออกบันทึกข้อความว่าประเทศเกาหลีใต้จะไม่พัฒนาขีปนาวุธพิสัยไกลเกินกว่า 180 กิโลเมตรหรือความสามารถของหัวรบที่หนักกว่า 453 กิโลกรัม ภายหลังจากได้รับคำสัญญานั้น รัฐบาลของโรนัลด์ เรแกน ก็ได้ให้การรับรองรัฐบาลทหารของชอน
ในปลายทศวรรษที่ 90 เกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกาได้คุยกับในเรื่องบันทึกข้อความเกี่ยวกับขีปนาวุธ แทนที่จะทำให้บันทึกข้อความนี้สมบูรณ์อย่างเต็มที่ ทั้งสองประเทศได้ตกลงอนุญาตขยายให้พัฒนาขีปนาวุธพิสัยไกลได้ 300 กิโลเมตร และมีความสามารถของหัวรบ 500 กิโลกรัม ข้อสัญญานี้จะมีผลในปี พ.ศ. 2544 ภายใต้ชื่อระบบควบคุมเทคโนโลยีขีปนาวุธ
ประธานาธิบดีวาระที่ 12 ของเกาหลีใต้ (2524-2531)
ภายหลังจากได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีลำดับที่ 12 ของสาธารณรัฐเกาหลีในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 ชอนได้ปฏิเสธความเป็นประธานาธิบดีของพัก จองฮี ถึงแม้ว่าจะเสี่ยงต่อการโจมตีจากการอ้างอิงจากเรื่องการปฏิวัติเดือนเมษายนของพักที่อยู่ในรัฐธรรมนูญ
ช็อน ดู-ฮวันประกาศว่าจะฟื้นฟูความยุติธรรมกลับมาสู่รัฐบาลก็กำจัดความฉ้อฉลและการฉ้อราษฎร์บังหลวงของประธานาธิบดีพัก จองฮี เป็นการเริ่มต้นด้วยการล้มล้างเป็นการฝึกฝนที่จะเป็นประธานาธิบดีมากกว่าหนึ่งสมัย และขยายสมัยของประธานาธิบดีเป็นเจ็ดปี
ช็อน ดู-ฮวันได้สรุปส่วนสำคัญว่าเป้าหมายของเขาคือโปรแกรมช่วยเหลือสวัสดิการสังคม,ตรึงราคาสินค้า,กำจัดอาชญากร,พัฒนาเศรษฐกิจ,ประสบความสำเร็จในการจัดงานโอลิมปิกฤดูร้อนปี 1988 ที่เกาหลีจะเป็นเจ้าภาพ,และภาพรวมการค้าระหว่างประเทศเป็นไปได้ด้วยดี
ช็อน ดู-ฮวันบริหารประเทศแบบเผด็จการ อย่างไรก็ตาม เขาก็มีอำนาจน้อยเมื่อเทียบกับพัก สมัยพักเป็นประธานาธิบดี ในการใช้อำนาจในหลายๆส่วนของชอนค่อนข้างจะอ่อนแอ
แผนการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
ทฤษฎีที่ว่าประธานาธิบดีชอนพยายามที่จะพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ในช่วงทศวรรษที่ 1980 และได้ล้มเลิกโครงการไปตามคำกล่าวอ้างของสหรัฐอเมริกา
รัฐบาลของชอนไม่ได้มีอิทธิพลทางการเมืองที่สำคัญเหมือนอย่างในสมัยที่พักเป็นประธานาธิบดี รัฐบาลของเขาไม่อาจละเลยความต้องการของสหรัฐอเมริกา และเขาไม่มีทางเลือกจึงต้องยุติการพัฒนาโครงการอาวุธนิวเคลียร์[6][7] ชอนกังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้และอเมริกา ซึ่งอาจนำมาซึ่งจุดจบอย่างสำคัญของอำนาจเผด็จการอย่างยาวนานของพัก จองฮี และชุนอยากได้การรับรองอย่างถูกต้องของรัฐบาลของเขาตามกฎหมายจากสหรัฐอเมริกา
การปฏิรูปการเมือง[แก้]
ภายหลังจากพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ชอนจำกัดการติวนอกโรงเรียนและห้ามการสอนตัวต่อตัวหรือการติวแบบตัวต่อตัว
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2523 ชอนได้ยกเลิก กฎหมายที่กำหนดความผิดของการรวมกลุ่มสมาคม
ในปี พ.ศ. 2524 ชอนได้ออกกฎหมาย “แคร์แอนคัสทูดี” (Care and Custody) ชอนเชื่อว่า อาชญากรที่พึ่งพ้นจากคุกมาจะไม่กระทำผิดซ้ำอีกทันทีที่กลับเข้าสู่สังคม
ในฤดูหนาวปี พ.ศ. 2527 ก่อนที่ชอนจะประกาศหยุดพักการชำระหนี้ของเกาหลีใต้ ชอนได้ไปเยือนญี่ปุ่นและขอกู้ยืมเงินหกพันล้านดอลลาร์สหรัฐ
จากการรัฐประหารยึดอำนาจและการปะทะหน้ากับกลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยทั่วประเทศ การเมืองภาคพลเมืองมีความต้องการที่จะไม่ใส่ใจ และในวิถีทางนโยบาย 3เอสคือ เอส-เซ้กส์,เอส-สกรีนและเอส-สปอร์ต นั่นผ่านความเห็นชอบ บนพื้นฐานในทางที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของนักกิจกรรมชาวญี่ปุ่น เซจิมะ เรียวโจ
โดยชอนพยายามที่จะดึงดูดประชาชนเพื่อที่จะเป็นการรับประกันว่าการเตรียมการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนในปี พ.ศ. 2531 จะประสบความสำเร็จ ชอนได้ออกกฎหมายหลายตัวอย่างรวดเร็วเพื่อทำสิ่งนี้ให้เสร็จสิ้น เช่น ร่างลีกเบสบอล,ฟุตบอลอาชีพ,เริ่มถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์สีให้ครอบคลุมทั่วประเทศบรรเทาการเซ็นเซอร์ที่อยู่ในภาพยนตร์และละคร,สร้างเครื่องแบบนักเรียนและอื่นๆ
ในปีพ.ศ. 2524 ชอนได้จัดการเทศกาล “โคเรียน บรีซ” อย่างยิ่งใหญ่ แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจจากรประชาชน
ความพยายามลอบสังหาร
ความพยายามลอบสังการเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2526 โดยสายลับชาวเกาหลีเหนือ ระหว่างชอนไปเยือนพม่า ระเบิดในครั้งนั้นได้ทำให้ผู้ติดตามของชอน 17 คน รวมถึงคณะรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ชาวพม่า 4 คน
นโยบายด้านต่างประเทศ
ช็อน ดู-ฮวันเป็นประธานาธิบดีในช่วงที่สงครามเย็นถึงจุดสูงสุด และนโยบายทางด้านการต่างประเทศของเขาทำให้มีการยุติกับประเทศคอมมิวนิสต์ไปรอบบริเวณ ไม่เพียงจากเกาหลีเหนือ อีกด้วย หลังจากนั้นเริ่มสถาปนาทางการทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน
ความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกาได้กดดันให้เกาหลีใต้ยุติแผนการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
ความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น
หนังสือพิมพ์ของญี่ปุ่นได้รายงานอย่างกว้างขวางว่าชอนเป็นผู้นำโดยพฤตินัย ของประเทศหนึ่งเดือนก่อนที่เขาจะเคลื่อนไหวสู่การเป็นประธานาธิบดี
ความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือ
ในปี พ.ศ. 2525 ชอนได้ประกาศ “โครงการการรวมชาติอย่างสันติของประชาชนชาวเกาหลี” แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากเกาหลีเหนือว่าโครงการนี้ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นได้
ความสัมพันธ์กับฟิลิปปินส์
จากปี พ.ศ. 2529 ถึงปี พ.ศ. 2531 ชอนและประธานาธิบดีคอราซอน อากีโน ของฟิลิปปินส์ ได้พูดคุยกันระหว่างสองประเทศเพื่อที่จะสร้างเศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์และเกาหลีใต้ให้แข็งแกร่งขึ้น รวมทั้งทางด้านสังคมและความสัมพันธ์ที่ดีของทั้งสองประเทศ