Skip to content
Home » News » สิ้นสุดจักรวรรดิรัสเซีย

สิ้นสุดจักรวรรดิรัสเซีย

สิ้นสุดจักรวรรดิรัสเซีย
https://th.wikipedia.org/wiki/ประวัติศาสตร์รัสเซีย

สิ้นสุดจักรวรรดิรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซียในช่วงปี พ.ศ. 2368- พ.ศ. 2391 เป็นสมัยที่ชาวรัสเซียทั่วไปต้องประสบกับการถูกควบคุมตัวอย่างใกล้ชิดจากสถาบันสูงสุดของชาติ เนื่องจากซาร์ที่ปกครองรัสเซียในสมัยนี้คือซาร์นิโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซียนั้น ทรงปกครองประเทศอย่างเข้มงวดเด็ดขาดมาก

เนื่องจาก พระองค์นั้นทรงยึดมั่นในทฤษฎีการเป็นกษัตริย์ตามแบบเทวสิทธิ์ที่ว่า กษัตริย์ทรงเป็นผู้ที่พระผู้เป็นเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้นมา สถาบันกษัตริย์จึงเปรียบเทียบได้ว่าเป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้าบนพื้นพิภพ ดังนั้น อำนาจของกษัตริย์จึงเป็นอำนาจสูงสุดที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้ ผู้ใดที่บังอาจคิดร้ายต่อสถาบันกษัตริย์

ต้องถือว่าเป็นกบฏเป็นอาชญากรรมอย่างร้ายแรง ซาร์นิโคลัสที่ 1 ได้ทรงตั้งจุดประสงค์ในการครองราชย์ของพระองค์ซึ่งทางราชการเรียกว่า “Official-Nationality” ในปี พ.ศ. 2376 อันมีคำขวัญว่า อนุรักษนิยม อัตตาธิปไตย และสัญชาติ ผู้ที่ถวายความคิดนี้ คือ เคานต์เซียร์เกย์ อูวารอฟ ดังนั้น ในสมัยนี้จึงจัดว่าเป็นสมัยที่ชาวรัสเซียต้องกระทบกระเทือนกับระบบกลไกต่าง ๆ ของรัฐบาล

สิ้นสุดจักรวรรดิรัสเซีย
https://th.wikipedia.org/wiki/ประวัติศาสตร์รัสเซีย

มีฮาอิล บาคูนิน ผู้รู้จักกันในนามบิดาแห่งอนาธิปไตย เขาออกจากรัสเซียไปยุโรปตะวันตกในปี พ.ศ. 2385 และกลายเป็นนักสังคมนิยมหลังจากเขามีส่วนร่วมในการปฏิวัติที่เดรสเดินในปีพ.ศ. 2392 เขาถูกจำคุกไปที่ไซบีเรีย ในที่สุดเขาก็หลบหนีมาได้และกลับไปยุโรป เผยแพร่ทฤษฎีอนาธิปไตยจนแพร่หลายในยุโรป

ทฤษฎีสังคมของเขาเป็นประโยชน์มากสำหรับกลุ่มหัวรุนแรงที่ต่อต้านระบอบกษัตริย์และพระราชวงศ์ เป็นเหตุให้มีการปฏิวัติขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ เขาคัดค้านลัทธิคอมมิวนิสต์ของคาร์ล มาร์กซ ด้วยเหตุผล ที่ว่าลัทธิคอมมิวนิสต์รวมอำนาจทุกชนิดของสังคมเข้าสู่รัฐ และลงท้ายด้วยการรวมกรรมสิทธิ์ไว้กับรัฐ ซึ่งเขาเห็นว่าจะมีชนชั้นหนึ่งได้ผลประโยชน์จากการให้คงมีรัฐอยู่เสมอ และในกรณีของรัฐคอมมิวนิสต์คือชนชั้นข้ารัฐการ

ตั้งแต่รัสเซียประสบกับความพ่ายแพ้ในสงครามไครเมียแล้ว สถานการณ์ดังกล่าวนี้ ได้ทำให้ชาวรัสเซียทั้งมวลทุกชั้นวรรณะ ตลอดจนพระองค์ซาร์เอง ก็ได้มีความเห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ถึงความจำเป็นในการที่อาณาจักรรัสเซียควรจะเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองและสภาพสังคมในแทบทุก ๆ เรื่อง

ดังนั้นหลังจากที่ได้มีการเซ็นสัญญาสงบศึกกับสัมพันธมิตรเพื่อสงบศึกไครเมียแล้ว ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซียจึงทรงปรึกษาหารือกับบรรดาขุนนาง ถึงการที่จะมีพระราชโองการปลดปล่อยทาสติดที่ดิน ในตอนนี้ปัญหาที่ว่ายังไม่มีถึงเวลาที่จะปลดปล่อยทาสนั้นได้หมดสิ้นไปแล้ว แต่ในที่สุดก็ได้มีปัญหาใหม่ว่าการปลดปล่อยทาสนั้นจะมีวีการอย่างไร แต่ในที่สุดก็ได้มีพระราชโองการปลดปล่อยทาสได้ในที่สุด และผลที่ตามมาก็คือ รัสเซียได้ปฏิรูปงานบริหารราชการแผ่นดินอีกหลายอย่าง รวมทั้งระบบเศรษฐกิจ การทหาร การปกครองในจังหวัดต่าง ๆ และทางด้านการศึกษา

ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ทรงตั้งพระทัยที่จะเปลี่ยนการปกครองเป็นประชาธิปไตยแต่ในตอนเช้าของวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2424 ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ขณะมีพระชนมพรรษา 62 พรรษา ทรงถูกปลงพระชนม์ในขณะเสด็จกลับจากการตรวจแถวทหารมายังพระราชวังฤดูหนาว และพระองค์ก็เสด็จสวรรคตในอีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา พระองค์ถูกปลงพระชนม์โดยพวกอนาธิปไตย

สิ้นสุดจักรวรรดิรัสเซีย
https://th.wikipedia.org/wiki/ประวัติศาสตร์รัสเซีย

ซาร์นิโคลัสที่ 2 กษัตริย์องค์สุดท้ายของรัสเซียและจักรพรรดินีอเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนา พระมเหสี
รัสเซียในช่วง พ.ศ. 2424 จนถึง พ.ศ. 2437 เป็นสมัยที่ชาวต่างชาติมักจะมองกันว่ารัสเซียสงบราบรื่น ถึงขนาดที่มีผู้ให้สมญาซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย ว่าทรงเป็น “ซาร์แห่งสันติภาพ”

ซึ่งผู้ที่ให้สมญาดังกล่าวอาจจะมองรัสเซียอย่างผิวเผินเฉพาะเหตุการณ์ทางด้านการต่างประเทศ และความสงบจากการที่รัสเซียสามารถแก้ปัญหาจากการปฏิวัติทุกรูปแบบภายในประเทศได้สำเร็จ ทางด้านการต่างประเทศนั้น รัสเซียได้ดำเนินนโยบายเป็นมิตรสนิทกับจักรวรรดิเยอรมนีและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

จนกระทั่งเกิดปัญหาเรื่องดินแดนในคาบสมุทรบอลข่านในช่วงปลายปี พ.ศ. 2413 ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับออสเตรียและเยอรมนีก็เริ่มเสื่อมคลายลง รัสเซียจึงเปลี่ยนนโยบายไปเป็นมิตรสนิทสนมกับฝรั่งเศสและอังกฤษ ในรัชสมัยของซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 กลุ่มต่อต้านระบอบกษัตริย์เงียบหายไปอย่างรวดเร็ว

มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งได้พยายามวางแผนลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระจักรพรรดิในงานครบรอบหกปีการเสด็จสวรรคตของพระชนกนาถ ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ที่จัดขึ้น ณ ป้อมปีเตอร์และปอล มหาวิหารสุสานหลวงแห่งราชวงศ์โรมานอฟในกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เหล่านักวางแผนก่อการร้ายได้ยัดระเบิดลงไว้ในไส้ข้างในของหนังสือเรียนที่พวกเขาตั้งใจจะขว้างใส่จักรพรรดิขณะเสด็จกลับจากมหาวิหาร

อย่างไรก็ตาม ตำรวจลับรัสเซียได้เปิดโปงแผนการร้ายก่อนที่ถูกทำให้สำเร็จลุล่วง นักศึกษาจำนวนห้าคนถูกจับแขวนคอ รวมทั้งอเล็กซานเดอร์ อูลยานอฟ เขามีน้องชายที่มีพรสวรรค์คนหนึ่ง ซึ่งมีความคิดทางการเมืองในเชิงปฏิบัติดังเช่นพี่ชาย เด็กชายคนนั้นคือ วลาดีมีร์ เลนิน

ซึ่งอีกหลายปีต่อมาได้ใช้เวลาส่วนมากกับขบวนการปฏิวัติใต้ดินอยู่ในทวีปยุโรปในการหล่อหลอมแนวคิดและทฤษฎีทางการเมืองที่เขาจะนำมาใช้ในประเทศรัสเซียหลังจากการกลับมาในปี พ.ศ. 2460 เพื่อล้างแค้นให้กับการตายของพี่ชาย ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนพ.ศ. 2437 ณ พระราชวังลิวาเดีย ที่ประทับตากอากาศบนแหลมไครเมีย ขณะมีพระชนมพรรษาได้ 49 พรรษา

หลังจากซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งรัสเซียสวรรคต มกุฎราชกุมารนิโคลัสได้ครองราชสมบัติต่อเป็นซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของรัสเซีย

พระองค์ขึ้นครองราชย์พร้อมกับการเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส ไม่สามารถตกลงอะไรกันได้กับอังกฤษ ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นจักรพรรดิที่อ่อนแอ ไม่สามารถจัดการกับสถานการณ์ที่ปั่นป่วนของประเทศ พ่ายแพ้การรบทางเรือในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2447-พ.ศ. 2448 ได้ทรงเข้าบัญชาการรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่พระองค์ไม่สามารถควบคุมกองทัพได้

สิ้นสุดจักรวรรดิรัสเซีย ในปีพ.ศ. 2458 หลังเกิดสงครามโลกเพียงปีเดียว ได้ทรงเข้าเป็นผู้บัญชาการกองทัพรัสเซียเพื่อสู้รบการฝ่ายทหารส่วนกลางและกลุ่มชนชั้นกลางซึ่งเป็นฝ่ายปฏิวัติ ทำให้ราษฎรไม่พอใจลุกขึ้นต่อต้านเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังทรงปล่อยให้ เกรกอรี รัสปูติน พระนอกรีตลึกลับ

เข้าไปมีมีอิทธิพลในราชสำนักโดยเฉพาะช่วงที่ขณะออกสงคราม และมีจักรพรรดินีอเล็กซานดราทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ทรงถูกครอบงำ พระองค์จึงถูกโค่นราชบัลลังก์โดยถูกพวกบอลเชวิคที่เป็นฝ่ายปฏิวัติบังคับให้สละราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. 2460 ถูกนำไปกักขังไว้และถูกยิงสิ้นพระชนม์พร้อมพระราชวงศ์หลายพระองค์ นับเป็นการสิ้นสุดราชวงศ์โรมานอฟอันยาวนาน

วันที่ในข่าวนี้ 1 มกราคม 1942 วันที่ประมาณการ