Skip to content
Home » News » สืบสวน คดีเพชรซาอุ

สืบสวน คดีเพชรซาอุ

สืบสวน คดีเพชรซาอุ จุดเริ่มต้นจากการที่นายเกรียงไกร เตชะโม่ง ซึ่งเป็นแรงงานไทยที่ได้เดินทางไปทำงานยังประเทศซาอุดิอาระเบีย และถูกจัดให้เข้าไปทำงานเป็นพนักงานทำความสะอาดภายในพระราชวังของกษัตริย์ซาอุดิอาระเบียเขาเริ่มการโจรกรรมในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2532 เมื่อนายเกรียงไกรเมื่อเข้าไปทำงานในพระราชวังจึงได้เห็นช่องทางในการขโมยเครื่องเพชรดังกล่าว เพราะเครื่องเพชรเหล่านั้นมีจำนวนมากและถูกวางไว้อย่างไม่เป็นที่เป็นทาง แม้แต่ตู้เซฟก็ยังถูกเปิดทิ้งเอาไว้

นายเกรียงไกรอาศัยช่วงเวลาที่เจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด บิน อับดุล อซิซ (Prince Faisal Bin Fahud Bin Abdul Aziz) แปรพระราชฐานไปพักผ่อนในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในเดือนธันวาคม 2532 ทำการขโมยเครื่องเพชร 91 กิโลกรัม (200 ปอนด์) ซึ่งรวมไปถึงเพชรน้ำเงินกับอัญมณีอื่น ๆ รวม 50 กะรัต โดยแอบนำถุงกระสอบขนาดใหญ่เข้าไปในพระราชวัง ซ่อนตัวอยู่ภายในพระราชวังจนถึงเวลากลางคืน

แล้วจึงทำการขโมยเครื่องเพชรใส่ถุงกระสอบแล้วโยนถุงกระสอบลงมาออกนอกกำแพงพระราชวัง เมื่อได้เครื่องเพชรมาแล้ว นายเกรียงไกรใช้วิธีส่งเครื่องเพชรกลับมายังประเทศไทยล่วงหน้า ด้วยบริการขนส่งพัสดุทางอากาศ โดยปะปนกับเสื้อผ้าและเครื่องใช้ส่วนตัว ซึ่งด่านศุลกากรของทั้งสองประเทศไม่สามารถตรวจพบ เมื่อทำการโจรกรรมเรียบร้อยแล้ว เกรียงไกรได้เดินทางกลับประเทศไทยทันที ก่อนที่เจ้าชายไฟซาลจะเสด็จกลับมายังพระราชวัง ทั้งที่เหลือเวลาทำงานตามสัญญาอีก 2 เดือน

โดยเครื่องเพชรดังกล่าวถูกนำมายังจังหวัดลำปาง เนื่องจากเครื่องเพชรเหล่านั้นแยกยาก เขาจึงขายมันเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย โดยเครื่องเพชรส่วนใหญ่ถูกขายให้กับช่างทำเพชรพลอยชาวกรุงเทพ สันติ ศรีธนะขัณฑ์ หลังจากนั้นไม่นานรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย ประสานมายังรัฐบาลไทย ขอให้ติดตามเครื่องเพชรประจำราชวงศ์ส่งคืน

สืบสวน คดีเพชรซาอุ
https://twitter.com/beaver_ch5/status/629123551979638785?lang=es

สืบสวน คดีเพชรซาอุ เครื่องเพชรบลูไดมอนด์ ถูกหยิบยกขึ้นมาจากสื่อในประเทศไทยฝ่ายเดียว ตั้งแต่เริ่มมี “คดีเพชรซาอุ” โดยมีนายเกรียงไกรเป็นผู้กระทำความผิด พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรัตน์ ผช.อตร. เจ้าของคดี ทราบเรื่องนี้ดี เพราะเป็นผู้ถามสื่อมวลชนเองว่า “ไปเอาเรื่องนี้มาจากไหน ตนไม่เคยได้ยิน หรือเห็นมาก่อนเลย” จากนั้นก็มีการไปเอารูปภริยาอธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น พล.ต.อ. แสวง ธีระสวัสดิ์ ภาพใน น.ส.พ. ฉบับหนึ่ง ผู้หญิงสวมสร้อยคอที่มีจี้เป็นอัญมณีสีน้ำเงินล้อมเพชรและทอง ปรากฏตัวในงานเลี้ยงงานหนึ่ง แล้วก็ลือกันตามมาว่าเป็นเพชรบลูไดมอนด์ของเจ้าฟ้าชายไฟซาล

เรื่องนี้ได้มีการพิสูจน์กันสองทางคือ ประการแรกตำรวจได้ส่งภาพถ่ายดังกล่าวไปให้สถาบันอัญมณีในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตรวจพิสูจน์ ได้ข้อยุติว่า วัตถุที่ว่าเป็นอัญมณีสีน้ำเงินแล้วอนุมานว่าเป็นเพชรบลูไดมอนด์ ได้คำตอบ ไม่ใช่เพชรหรืออัญมณีแต่อย่างใด แต่เป็นวัตถุที่ทำด้วยผ้ากำมะหยี่สีน้ำเงินเข้มที่นำมาประดิษฐ์เข้าคู่กับเพชรและทอง ผลพิสูจน์นี้อยู่ ในสำนวนการสอบสวนของตำรวจ ประการที่สอง บุตรชายของสุภาพสตรีท่านนั้นได้นำสร้อยและจี้ที่ปรากฏในภาพถ่ายมาแสดงต่อพนักงานสอบสวนเจ้าของคดี ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับผลตรวจพิสูจน์ของสถาบันในลอนดอน

การให้การของนายเกรียงไกร กรณีเพชรบลูไดมอนด์ มีความคลุมเครือ ไม่ชัดเจน เหมือนว่าขายให้นายสันติ แต่นายเกรียงไกรก็ไม่เคยยืนยันอย่างหนักแน่นกับพนักงานสอบสวนในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากไม่มีความมั่นใจ เพราะนำเครื่องเพชรออกมาเป็นจำนวนมากจนไม่สามารถจดจำรายละเอียดได้ครบถ้วน

พนักงานสอบสวน และราชสำนักซาอุดิอาระเบีย ประมาณการณ์ว่า เพชรซาอุถูกขายไปประมาณ 20 % ทั้งนายสันติ และภริยา ต่างยืนยันว่า ไม่เคยเห็นเพชรบลูไดมอนด์ ความตายของนางดาราวดี และ ด.ช.เสรี ศรีธนขันฑ์ เป็นข้อพิสูจน์ได้ดีว่า ผู้รับซื้อเพชรซึ่งมีอยู่รายเดียวจากนายเกรียงไกร ต่างไม่เคยเห็นเพชรบลูไดมอนด์ มิฉะนั้นคงรับสารภาพและคืนให้ไปแล้วเมื่อเห็นความตายและความเดือดร้อนของตนเอง ครอบครัว และบุตรอยู่ตรงหน้า

ผลสรุปของการสอบสวนคดีเพชรซาอุ มีข้อยุติว่า ไม่มีใครที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยเคยเห็นเพชรบลูไดมอนด์อยู่ในเครื่องเพชรที่นายเกรียงไกรขโมยมา กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเพชรบลูไดมอนด์ไม่เคยมีอยู่ในประเทศไทย การกล่าวหากล่าวอ้างว่าบุคคลนั้นบุคคลนี้ครอบครองเพชรบลูไดมอนด์ไว้ จึงไม่เป็นความจริง

ประการที่สองเจ้าชายหรือเจ้าหญิงของซาอุดิอาระเบียไม่รู้ว่าเครื่องเพชรที่ถูกขโมยมีชนิดหรือประเภทใดอย่างครบถ้วนเพราะเครื่องเพชรมีเป็นจำนวนมากที่อยู่ในครอบครองและที่ถูกขโมยมา ทั้งยอมรับว่าเครื่องเพชรที่ถูกขโมยมีทั้งของจริงและของปลอมที่ซื้อจากห้าง May Flower ซึ่งทำอัญมณีประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงมาก ทั้งไม่ทราบว่าเครื่องเพชรอันใดเทียมหรือจริง ข้อตำหนิเรื่องส่งคืนเครื่องเพชรปลอมและไม่ครบถ้วนจึงสามารถทำความเข้าใจที่ชัดเจนได้ในเวลาต่อมา

อธิบดีกรมตำรวจ พลตำรวจเอกประทิน สันติประภพ มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบพื้นที่ในเขตภาคเหนือ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ ออกติดตามเครื่องเพชรคืนให้แก่รัฐบาลซาอุดิอาระเบีย หลังจากนั้นเมื่อนายเกรียงไกร ถูกชุดสืบสวนของ พล.ต.ท.ชลอ จับกุมและนำตัวมาสอบสวนจนยอมรับสารภาพ และให้การถึงบุคคลที่รับซื้อเครื่องเพชรไป เนื่องจากเกรงว่าจะถูกจับส่งไปดำเนินคดีที่ซาอุฯ ซึ่งมีโทษเพียงสถานเดียว คือ “แขวนคอ” ทำให้ศาลพิพากษาตัดสินจำคุกนายเกรียงไกร เตชะโม่งในข้อหาลักทรัพย์ 7 ปี จำเลยรับสารภาพลดโทษเหลือ 3 ปี 6 เดือน

ทางการไทยส่งตัวแทนไปคืนเครื่องเพชร แต่ทางการซาอุดีอาระเบียพบว่าเพชรบลูไดมอนด์หายไป และเครื่องเพชรประมาณครึ่งหนึ่งเป็นของปลอม นอกจากนี้ มีข่าวลือในสื่อไทยว่าภาพถ่ายในงานเลี้ยงการกุศลพบว่าภรรยาของข้าราชการหลายคนสวมสร้อยคอเพชรที่คล้ายกับเครื่องเพชรที่ถูกโจรกรรมจากซาอุดีอาระเบีย ทำให้ซาอุดีอาระเบียสงสัยว่าตำรวจไทยยักยอกเครื่องเพชรเอาไว้เอง

การย้อนรอยตามหาเพชรฯ โดยคณะทำงานของ พล.ต.ท.ชลอ เริ่มต้นที่กลุ่มญาติของ พล.ต.อ.แสวง ธีระสวัสดิ์ อ.ตร. แต่ภายหลังเมื่อมีการตรวจสอบไม่พบว่ามีมูลความจริง นอกจากนี้ นักการเมือง ตลอดจนคุณหญิง คุณนาย และ “คนมีสี” หลายคนก็ถูกกล่าวหาว่ามีการจัด “ปาร์ตี้เพชรซาอุฯ” ในสโมสรแห่งหนึ่ง ระหว่างนั้น นายโมฮัมหมัด ซาอิค โคจา อุปทูตซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทย ได้ว่าจ้าง “ชุดสืบสวนพิเศษ” เพื่อแกะรอยอย่างลับ ๆ ตามหาเครื่องเพชรราชวงศ์แห่งซาอุดิอาระเบีย”ซาอุดีอาระเบียไม่เคยได้รับความกระจ่างในเรื่องการเสียชีวิตของนักการทูตเราสี่คนที่ถูกฆ่าในกรุงเทพมหานคร ไม่ต้องพูดถึงการได้เห็นความยุติธรรม”

https://variety.teenee.com/foodforbrain/76327.html

ข้าราชการชาวซาอุดีอาระเบีย

Mohammad al-Ruwaili นักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบียที่ใกล้ชิดกับราชวงศ์ซะอูด เดินทางมายังกรุงเทพมหานครเพื่อสืบสวนด้วยตนเอง เขาหายสาบสูญไปในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2533 และสันนิษฐานว่าถูกฆ่า ก่อนเขาหายตัวไป นักการทูตชาวซาอุดีอาระเบียถูกฆ่าในย่านสีลม เขตบางรัก ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 มีนักการทูตชาวซาอุดีอาระเบียเสียชีวิตเพิ่มอีก 3 คนในย่านยานนาวา ซึ่งคดีเหล่านี้ยังไม่ได้ข้อยุติมาจนปัจจุบัน ถึงแม้ไม่มีความเชื่อมโยงว่ารัฐบาลไทยเกี่ยวข้องกับการโจรกรรมเครื่องเพชร แต่ทางการซาอุดีอาระเบียเชื่อว่ารัฐบาลไทยดำเนินการไม่เพียงพอในการไขปริศนาเกี่ยวกับการฆ่านักการทูตซาอุดีอาระเบีย

มีสมมุติฐานหลายประการเกี่ยวกับเหตุการณ์ฆ่าดังกล่าว โมฮัมเหม็ด ซาอิด โคจา (Mohammed Said Khoja) นักการทูตชาวซาอุดีอาระเบีย เชื่อว่ามีนายตำรวจ 18 นายเกี่ยวข้องกับการหายไปของเพชร และเชื่อว่าตำรวจเป็นผู้ลงมือฆ่านักการทูตชาวซาอุดีอาระเบียสามคน ด้านบันทึกการทูตในปี 2553 จากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทยที่เผยแพร่โดยวิกิลีกส์ระบุว่า การฆ่าดังกล่าว “แทบแน่นอน” ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบาดหมางระหว่างซาอุดีอาระเบียกับกลุ่มติดอาวุธเลบานอนฮิซบุลลอฮ์

บทสัมภาษณ์ในเวลาต่อมา เกรียงไกรไม่สามารถระบุได้ว่าเพชรบลูไดมอนด์ขณะนี้อยู่ที่ใด และว่า “ถ้าเรื่องไม่เกี่ยวข้องกับผู้มีอำนาจในประเทศไทย เรื่องก็จะไม่ใหญ่ขนาดนี้” ในปี 2563 ไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กว่า “สร้อยพระศอของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเป็นบลูแซฟไฟร์ไม่ใช่บลูไดมอนด์เครื่องเพชรราชวงศ์ซาอุ

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B8

1ม.ค.1990(วันที่ประมาณการ)