Skip to content
Home » News » หลังเกิดเหตุการณ์ตากใบ

หลังเกิดเหตุการณ์ตากใบ

หลังเกิดเหตุการณ์ตากใบ
https://www.matichon.co.th/prachachuen/prachachuen-scoop/news_1730594

หลังเกิดเหตุการณ์ตากใบ เหตุการณ์ดังกล่าวจุดประกายให้เกิดการประท้วงอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ วีซีดีซึ่งจัดทำโดยกลุ่มมุสลิม ได้แสดงให้เห็นถึงภาพเหตุการณ์เช่นเดียวกับเสียง วีซีดีเหล่านี้ได้ถูกส่งเวียนไปตามกลุ่มมุสลิมในประเทศไทย

รัฐบาลทักษิณ ชิณวัตร อ้างว่าเป็นการผิดกฎหมายในการครอบครองวีซีดีดังกล่าวและกล่าวว่ารัฐบาลสามารถฟ้องร้องผู้ที่มีไว้ในครอบครองได้ โดยวีซีดีดังกล่าวมีเนื้อหาโฆษณาชวนเชื่อและมุ่งโจมตีรัฐบาลทักษิณ

ไม่นานหลังจากเหตุการณ์ ปฏิกิริยาแรกของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ออกมากล่าวว่าชายเหล่านี้เสียชีวิต “เพราะพวกเขายังอ่อนแอจากการอดอาหารระหว่างเดือนรอมฎอน”

กระทั่งวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 ไม่มีสมาชิกกองกำลังความมั่นคงที่มีส่วนรับผิดชอบถูกนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ต่อมา นายกรัฐมนตรี สุรยุทธ์ จุลานนท์ กล่าวแสดงความขอโทษอย่างเป็นทางการต่อเหตุการณ์ดังกล่าว

ภาคประชาสังคมได้มีความพยายามเรียกร้องสันติภาพ รวมทั้งต่อต้านการใช้ความรุนแรง

ผลสอบคณะกรรมการ

หลังเกิดเหตุการณ์ตากใบ รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการ 11 คน เพื่อสืบสวนหาความจริง คณะกรรมการได้รายงานข้อค้นพบกับรัฐบาลในเดือนธันวาคม 2548 แต่ข้อค้นพบดังกล่าวไม่ได้ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ โดยคณะกรรมการอิสระตรวจสอบข้อเท็จจริงสรุปว่าวิธีการสลายการชุมนุมที่ใช้กำลังติดอาวุธและใช้กระสุนจริง

โดยเฉพาะใช้กำลังทหารเกณฑ์ และทหารพรานซึ่งมีวุฒิภาวะไม่สูงพอเข้าร่วมในการเข้าสลายการชุมนุมนั้นเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสมไม่เป็นไปตามแบบแผน และวิธีปฏิบัติที่ใช้กันตามหลักสากล นอกจากนี้คณะกรรมการดังกล่าวยังพบว่าผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องละเลยไม่ควบคุมดูแลการลำเลียง

และเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมประท้วงที่ถูกควบคุมตัวให้แล้วเสร็จ แต่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหารระดับชั้นผู้น้อยที่มีข้อจำกัดด้านประสบการณ์ โดยผลสอบของคณะกรรมการเป็นดังนี้

พล.ท.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ขาดความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา
พล.ต.สินชัย นุตสถิตย์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 ผู้ได้รับคำสั่งจากแม่ทัพภาคที่ 4 ให้จัดเตรียมน้ำ อาหาร และพื้นที่รองรับผู้ถูกควบคุมที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง

ปฏิบัติงานไม่ครบถ้วนตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา จากกรณีพบว่าในรถบรรทุกมีคนตาย แต่กลับมิได้มีคำสั่งหรือดำเนินการใดๆ กับผู้ควบคุมรถบรรทุกหรือผู้ถูกควบคุมที่จอดรออยู่ เพื่อบรรเทาความเสียหายที่เห็นว่าน่าจะเกิดขึ้น
พล.ต.เฉลิมชัย วิรุฬห์เพชร ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5

หลังเกิดเหตุการณ์ตากใบ ผู้ควบคุมกำลังและเป็นหน่วยภาคยุทธวิธีในการสลายการชุมนุมที่สถานีตำรวจภูธรตากใบ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ปฏิบัติงานไม่ครบถ้วนตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา จากกรณีไม่อยู่ควบคุมดูแลภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วง แต่ได้ออกจากพื้นที่ไปพบนายกรัฐมนตรี ที่อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส โดยไม่มีเหตุผลและความจำเป็น

คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 335/2547 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 แต่งตั้งคณะกรรมการอิสระสอบข้อเท็จจริงกรณีมีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสได้กำหนดให้คณะกรรมการอิสระมีอำนาจและหน้าที่ในการสอบข้อเท็จจริงถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นให้ได้ความว่า

การใช้อำนาจรัฐเข้าควบคุมสถานการณ์และความสงบเรียบร้อย การสลายการชุมนุม การต่อต้านขัดขืนการใช้อำนาจรัฐ การควบคุมตัวผู้ชุมนุมและการเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุม ตลอดจนเหตุแห่งการบาดเจ็บและเสียชีวิตมีสาเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร มีพฤติการณ์ประการใด กระทำไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ

หลักวิชาหรือมาตรฐานในการควบคุมหรือเคลื่อนย้ายบุคคลในสถานการณ์เช่นนั้นหรือไม่ ประการใด หากไม่เป็นไปตามนั้น มีผู้สมควรต้องรับผิดชอบประการใดหรือไม่ และมีมาตรการป้องกันตลอดจนช่วยเหลือหรือแก้ไขเยียวยาเพื่อบรรเทาความเสียหายแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตอย่างไร

หลังเกิดเหตุการณ์ตากใบ
https://www.posttoday.com/social/general/237846

การชุมนุมที่ สภ.อ.ตากใบ จังหวัดนราธิวาส ในวันที่ 25 ตุลาคม 2547 มีการจัดตั้งหรือไม่

ปรากฏข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า การมาชุมนุมที่ สภ.อ.ตากใบ จังหวัดนราธิวาส ในวันที่ 25 ตลุาคม 2547 มีด้วยกันหลายสาเหตุ แต่มีอยู่ 2 สาเหตุที่มีการแจ้งหรือนัดหมายกันล่วงหน้า คือ การชุมนุมเรียกร้องให้ปล่อยตัว ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ทั้ง 6 คน

และการมาละหมาดฮายัด(การขอพรต่อพระผู้เป็นเจ้า) ให้แก่ ชรบ. ทั้ง 6 คน ประกอบกับก่อนวันที่ 25 ตุลาคม 2547 มีเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงเจ้าหน้าที่สองครั้ง ครั้งที่หนึ่งที่อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ครั้งที่สอง ชาวบ้านอำเภอสุไหงปาดี ไม่พอใจทหาร โดยกล่าวหาว่าทหารยิงปืนถูกขาหญิงไทยมุสลิมคนหนึ่ง

แต่เมื่อแพทย์ตรวจแล้วพบว่ามีรอยถลอกเล็กน้อยและไม่ใช่เกิดจากรอยกระสุนปืน แต่การชุมนุมประท้วงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีการถอนทหารออกจากฐานปฏิบัติการดังกล่าว

คณะกรรมการอิสระได้พิจารณาข้อเท็จจริงข้างต้นแล้วเห็นว่า การชุมนุมประท้วงที่หน้า สภ.อ.ตากใบ ไม่ว่าจะเป็นพิจารณาข้อมูลเชิงพฤติกรรมของผู้ชุมนุมบางส่วนในขณะเกิดเหตุ หรือหลังเกิดเหตุ เป็นการกระทำที่มีการวางแผนมาก่อนโดยคนกลุ่มหนึ่ง มีการจัดตั้งคล้ายกับการชุมนุมคัดค้านเจ้าหน้าที่ก่อนหน้านั้นสองครั้ง ที่อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

และที่อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส โดยเคลื่อนไหวตามสถานการณ์ มีความมุ่งหมายที่กำหนดไว้แน่นนอน การเรียกร้องให้ปล่อยตัว ชรบ. 6 คนเป็นเพียงข้อกล่าวอ้างเท่านั้น

แกนนำผู้ชุมชนดูเสมือนจงใจให้การชุมนุมเกิดขึ้นช่วงเดือนถือศีลอดของชาวไทยมุสลิม จงใจให้เกิดการยืดเยื้อ น่าจะมีเบื้องหลังมากกว่าการชุมนุมเรียกร้องตามปกติ มีการวางแผนยั่วยุเจ้าหน้าที่

ในขณะที่กลุ่มคนมาชุมนุมประท้วง เจ้าหน้าที่ระบุได้เฉพาะแกนนำกลุ่มหนึ่งประมาณ 30 คนที่อยู่ด้านหน้าเท่านั้น ผู้ชุมนุมที่เหลือไม่สามารถแยกแยะได้ว่าผู้ใดบ้างที่มาร่วมชุมนุมเพราะคำชักชวนหรือได้รับแจ้งให้มาละหมาดฮายัดให้ ชรบ.หรือมาให้กำลังใจ

ชรบ.หรือเป็นประเภทที่มาดูด้วยความอยากรู้อยากเห็น มาทราบชัดเจนเมื่อมีการควบคุมตัวและมีการซักถามในภายหลัง ซึ่งส่วนใหญ่มาเพราะอยากรู้อยากเห็นหรือถูกชักชวนให้มาร่วมละหมาดฮายัด หรือมาให้กำลังใจ ชรบ.ทั้ง 6 คน

หลังเกิดเหตุการณ์ตากใบ
https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_361958

หลังเกิดเหตุการณ์ตากใบ ผู้ชุมนุมพกพาอาวุธมาด้วยหรือไม่

ปรากฏข้อเท็จจริงจากภาครัฐและกลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งได้สอบถามในภายหลังสรุปได้ดังนี้

ภาครัฐ ทั้งรายงานของ กอ.สสส.จชต. ที่กราบเรียนนายกรัฐมนตรีและคำชี้แจงของ มทภ.4 (พล.ท.พิศาล วัฒนวงศ์คีรี) สรุปได้ว่าในกลุ่มชุมนุมมีการพกพาอาวุธมาด้วย ภาคประชาชน สำหรับกรณีที่ทางการได้ตรวจพบอาวุธสงคราม ระเบิด มีดดาบในแม่น้ำหลังสลายการชุมนุมในวันรุ่งขึ้น (วันที่ 26 ตุลาคม 2547) นั้น

ผู้ถูกควบคุมซึ่งให้ข้อมูลในภายหลังทุกคนยืนยันว่า ในที่ชุมนุมไม่ได้พบเห็นว่า มีผู้ใดพกพาอาวุธเข้าไปในบริเวณที่เกิดเหตุ และในการเดินผ่านด่านหรือจุดสกัดต่างๆ จะถูกตรวจค้นจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารอย่างละเอียด ผู้ให้ข้อมูลบางคนให้ปากคำว่าระหว่างสลายการชุมนุม ถ้ามีอาวุธคงมีการใช้อาวุธตอบโต้เจ้าหน้าที่อย่างแน่นอนและการสูญเสียของฝ่ายเจ้าหน้าที่คงมีมากกว่านี้

คณะกรรมการอิสระได้พิจารณาข้อเท็จจริงข้างต้นแล้ว เห็นว่าการที่ภาครัฐรายงานว่าผู้เข้าชุมนุมบางส่วนซุกซ่อนอาวุธมาด้วยนั้น โดยเฉพาะอาวุธสงครามและกระสุนจำนวนมากที่เจ้าหน้าที่ยึดได้หลังจากสลายการชุมนุมในวันนั้น และจากการที่งมอาวุธได้จากแม่น้ำต้องมีหลักฐานมาอ้างมากกว่านี้จึงจะทำให้เชื่อได้

อย่างไรก็ดี รอยกระสุนปืนที่โรงพัก ต้นไม้หรือที่พักในสวนสาธารณะมีทิศทางมาจากกลุ่มผู้ชุมนุม และเจ้าหน้าที่ตำรวจรายหนึ่งได้รับบาดเจ็บจากกระสุนที่มีทิศทางมาจากกลุ่มผู้ชุมนุม ก็แสดงว่ากลุ่มผู้ชุมนุมมีอาวุธ ซึ่งคงมีจำนวนไม่มากและไม่กี่คนเท่านั้น เพราะถ้าแกนนำผู้ชุมนุมมีอาวุธมากจริงและใช้อาวุธยิงเจ้าหน้าที่แบบต่อสู้กัน เจ้าหน้าที่คงตายและบาดเจ็บอีกหลายคน

มาตรการที่เจ้าหน้าที่ใช้ก่อนการสลายการชุมนุมที่ สภ.อ.ตากใบ จังหวัดนราธิวาส เหมาะสมหรือไม่

ปรากฏข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า ในช่วงเช้าของวันที่ 25 ตุลาคม 2547 เจ้าหน้าที่ได้ตั้งด่านสกัดผู้เดินทางไม่ให้ไปยัง สภ.อ.ตากใบ แต่ไม่สามารถสกัดกั้นได้ ข้อเท็จจริงปรากฏต่อไปด้วยว่า เจ้าหน้าที่ระดับสูงคือ รอง ผอ.สสส.จชต. (นายศิวะ แสงมณี) มทภ.4 ปลัดจังหวัดนราธิวาส และผู้นำศาสนาอิสลาม

และบิดาของ ชรบ.ซึ่งต้องคดีคนหนึ่งและมารดาของ ชรบ.ซึ่งต้องคดีอีกคนหนึ่ง ได้พยายามเจรจาด้วยภาษาไทยและภาษามลายูท้องถิ่นหลายครั้งเพื่อขอให้กลุ่มผู้ชุมนุมแยกย้ายกลับไป รวมทั้งได้พูดผ่านเครื่องขยายเสียงว่าให้ผู้ชุมนุมแยกย้ายกลับไป มิฉะนั้นเจ้าหน้าที่จำต้องสลายการชุมนุม แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ

คณะกรรมการอิสระได้พิจารณาข้อเท็จจริงข้างต้นแล้วเห็นว่า มาตรการที่เจ้าหน้าที่ใช้ไม่ว่าจะเป็นการสกัดกั้นผู้เดินทางไม่ให้เข้าไปยัง สภ.อ.ตากใบ หรือการเจรจา 5 ถึง 6 ครั้ง ซึ่งดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ ผู้นำทางศาสนา และบิดามารดาของ ชรบ. 6 คน ที่ถูกจับกุมนั้น เป็นไปอย่างเหมาะสมแล้ว อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการอิสระมีข้อสังเกตว่า หากการสกัดกั้นมิให้ผู้เดินทางเข้าไปยัง สภ.อ.ตากใบประสบความสำเร็จ ผู้ชุมนุมอาจจะมีจำนวนน้อยกว่านี้

นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงจากการสอบถามผู้ชุมนุมในภายหลัง ปรากฏว่า การพูดผ่านเครื่องขยายเสียง เพื่อให้ผู้ชุมนุมแยกย้ายกันกลับไปนั้น ผู้ชุมนุมบางส่วนไม่ได้ยิน เพราะมีแกนนำในการชุมนุมพยายามโห่ร้องส่งเสียงดังอยู่เสมอ

คณะกรรมการอิสระจึงมีข้อสังเกตว่า ในการใช้เครื่องขยายเสียงเพื่อเจรจากับผู้ชุมนุมนั้น ควรคำนึงถึงกำลังของเครื่องขยายเสียงกับการโห่ร้องส่งเสียงดังของแกนนำในการชุมนุม เพื่อกลับเสียงจากเครื่องขยายเสียงและทิศทางที่ลมพัดพาด้วย

การเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุมจาก สภ.อ.ตากใบ จังหวัดนราธิวาส ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหารจังหวัดปัตตานี มีมาตรฐานหรือไม่

ปรากฏข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า จำนวนรถบรรทุกที่ใช้ขนส่งเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุมจำนวน 1,370 คน มีไม่เพียงพอ จึงได้สั่งให้นำรถบรรทุกทั้งของทหารและตำรวจมาเพิ่ม

คณะกรรมการอิสระพิจารณาข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วเห็นว่า การเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมจากตากใบไปค่ายอิงคยุทธบริหาร ค่อนข้างจะเป็นไปด้วยความสับสนและฉุกละหุกภายใต้สถานการณ์ขณะนั้น เมื่อความเสียหายอย่างร้ายแรงเกิดขึ้นเพราะมีคนตายมาก จึงต้องทบทวนหาข้อบกพร่องในทุกขั้นตอน

การเตรียมรถในช่วงเวลาฉุกละหุก แม้จำนวนรถจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่ถ้าเชื่อตามเอกสารที่ทหารจัดส่งมาให้ คือมีรถของตำรวจ ทหาร และนาวิกโยธิน รวม 28 คัน และจำนวนผู้ถูกควบคุมซึ่งขณะนั้นยังไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน เพิ่งมาทราบทีหลังว่ากว่า 1,300 คน คิดเฉลี่ยคันละกว่า 50 คน

ซึ่งเป็นจำนวนที่บรรทุกได้ แต่เมื่อรถคันแรกๆ บรรทุกไม่ถึง 50 คน คันหลังต้องบรรทุกมากกว่า 50 คน โดยแน่แท้ เพราะเจ้าหน้าที่ต้องพยายามบรรทุกให้หมด อีกทั้งต้องมารับคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกสกัดและควบคุมตัวไว้ที่สามแยกตากใบก็ต้องพยายามบรรทุกคนขึ้นไปให้หมด ผลจึงปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิตจำนวนมากอยู่ในรถบรรทุกคันหลังๆท่าของผู้ถูกควบคุมบนรถบรรทุก

สำหรับวิธีการเคลื่อนย้ายนั้น ผู้ถูกควบคุมส่วนใหญ่อ้างว่าถูกบังคับให้นอนคว่ำหน้าทับซ้อนกันหลายชั้น บางคนพูดถึง 3-4 ชั้น ในขณะที่ทางเจ้าหน้าที่อ้างว่าให้นั่งไปและยืนไป มีรถคันหนึ่งในสี่คันแรกที่มีการนอนทับซ้อนกัน และต้องมาขนลงหลังจากที่ ผบช.ภ.9 และ มทภ.4 มาพบและสั่งให้เอาลง ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติชนซึ่งถ่ายภาพรถบรรทุกผู้ควบคุมคันหนึ่ง ซึ่งนอนทับซ้อนกันหลายชั้นได้ชี้แจงว่าได้ยิน ผบช.ภ.9 และ มทภ.4 สั่งให้เจ้าหน้าที่เอาคนลงมา แต่ไม่ได้อยู่ดูว่ามีการปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่

คณะกรรมการอิสระจึงเห็นว่า น่าจะฟังได้ว่ามีการเอาผู้ชุมนุมนอนทับซ้อนกันจริงในรถบรรทุกคันแรกของขบวนแรกจนผู้บังคับบัญชามาเห็น จึงสั่งให้เอาคนลงมาและจัดขึ้นไปใหม่ ซึ่งต่อมาไม่น่าจะมีการสั่งให้เอาคนนอนทับซ้อนกันหลายชั้นเช่นนั้นอีก

อย่างไรก็ดี คงปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่มีการทับซ้อนในรถคันหลังๆ เพราะจากรายงานของคณะอนุกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานด้านการแพทย์และพยาบาล ซึ่งพิจารณาผลชันสูตรพลิกศพ และจากการสอบถามแพทย์ผู้รักษาผู้บาดเจ็บ และการเยี่ยมผู้บาดเจ็บล้วนสรุปได้ว่า การเสียชีวิตส่วนใหญ่ของผู้ถูกควบคุมอยู่ในสถาวะอ่อนแอ ช่วยตัวเองไม่ได้เต็มที ขาดอาหารและน้ำประกอบกับได้รับอากาศหายใจน้อย

เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจอ่อนแรงลงและจากการกดทับ ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้ง “แนวนอน แนวดิ่ง และแนวเฉียง” เพราะการบรรทุกที่แน่นเกินไป หลายรายตายจากสาเหตุจากการถูกกดทับ ที่หน้าอก หลายรายมีภาวะเสียสมดุลของสารในเลือด มีภาวะการทำลายกล้ามเนื้อเกิดขึ้น (Rhabdomyolysis) 

และอาจมีอาการไตวายชนิดเฉียบพลัน (Acute renal fallure) ซึ่งเป็นสาเหตุของการตายทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น การทับกันคงมีจริง แต่ทับแบบไหน แนวนอน แนวดิ่ง หรือแนวเฉียง ซึ่งทุกแนวทำให้เกิด Compression Syndrome ทำให้กล้ามเนื้อขาดเลือดไปเลี้ยงได้ทั้งนั้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ถึงแก่ความตายได้หากเกิดขึ้นเป็นเวลานาน

เหตุผลอีกประการหนึ่งคือรถบรรทุกคันหลังเสียเวลาการลำเลียงคนลงนานกว่าคันแรกๆ ประกอบกับการอัดทับ และความอ่อนเพลียจากการอดอาหารและน้ำ เสียแรงตลอดทั้งวัน ความต้านทานของร่างกายจึงน้อยลง

นอกจากนี้ ผลการชันสูตรพลิกศพยืนยันว่า ผู้เสียชีวิตทั้ง 78 คน ไม่มีผู้ใดเสียชีวิตมาจากสาเหตุคอหัก และไม่มีร่องรอยของการรัดคอหรือการครอบถุงพลาสติค

คณะกรรมการเห็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นต้องถือว่าผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องขาดการใช้วิจารณญาณเป็นอย่างมาก ละเลยไม่ดูแลการลำเลียงและเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุมให้แล้วเสร็จ แต่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหารระดับชั้นผู้น้อย ที่มีข้อจำกัดด้านประสบการณ์ และมุ่งแต่เพียงปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงไปเท่านั้นโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอื่นประกอบ เนื่องจากเจ้าหน้าที่เหล่านี้ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนจึงไม่อาจคาดได้ว่าจะเกิดการตายเช่นนี้

https://narater2010.blogspot.com/2014/10/blog-post_64.html

ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระฯ

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสลายการชุมนุม

เพื่อป้องกันมิให้เกิดการเสียชีวิตในกรณีมีการชุมนุมประท้วงเช่นนี้อีก ให้ชุดปราบจลาจลของตำรวจที่ได้รับการฝึกอบรม และมีความพร้อมในเรื่องอุปกรณ์การปฏิบัติงานในพื้นที่เป็นหลัก สำหรับชุดปราบปรามจลาจลของฝ่ายทหาร จะใช้เป็นกองหนุนในกรณีที่กำลังตำรวจมีไม่พอเท่านั้น และห้ามติดอาวุธ

ข้อเสนอแนะในการควบคุมตัวและการเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุม

2.1 ในการควบคุมตัวผู้ชุมนุม ควรควบคุมเฉพาะแกนนำในการชุมนุม หรือผู้ต้องสงสัยเท่านั้น และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องควบคุมตัวผู้เข้าร่วมชุมนุมจำนวนมาก ควรจัดให้มีการสอบสวนเบื้องต้น เพื่อแยกประชาชนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องออกโดยเร็วที่สุด นอกจากนี้ ควรต้องมีมาตรการเพื่อเปิดทางให้ประชาชนผู้มาร่วมชุมนุมถอนตัวออกจากที่ชุมนุมได้
2.2 ยานพาหนะที่ใช้ต้องจัดให้มีจำนวนมากเพียงพอ และต้องมีเจ้าหน้าที่ชั้นสัญญาบัตรควบคุมขบวน
2.3 หากระยะทางที่ไกล ควรจัดให้ผู้ถูกควบคุมตัวทุกคนได้นั่งไป

ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

3.1 การจัดตั้งองค์กรบริหารราชการ ควรจัดตั้งให้มีลักษณะพลเรือนมากขึ้น โดยให้องค์กรประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น
3.2 ควรใช้นโยบายการเมืองนำการทหาร และน้อมนำแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “เข้าถึง เข้าใจ และพัฒนา”
3.3 ควรนำองค์กรเครือข่ายอาสาสมัครภาคประชาชนในระดับตำบล และหมู่บ้านทุกองค์กรมาสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

วันที่ในข่าวนี้ 1 ธันวาคม 2005 วันที่ประมาณการ