Skip to content
Home » News » อายัดทรัพย์ ซินแสโชกุน คืนผู้เสียหายกว่า 400 ราย

อายัดทรัพย์ ซินแสโชกุน คืนผู้เสียหายกว่า 400 ราย

อายัดทรัพย์ ซินแสโชกุน
https://www.thaich8.com/news_detail/31066/ปปง-ตรวจเส้นทางการเงิน-โชกุน-หลอกทำขายตรง

อายัดทรัพย์ ซินแสโชกุน คืนผู้เสียหายกว่า 400 ราย กรมบังคับคดีแจงขั้นตอนอายัดทรัพย์คดี “ซินแสโชกุน” โยงอาญาและแพ่ง รอศาลสั่งก่อนนำทรัพย์สินไปขายทอดตลาด จ่ายค่าสินไหมผู้เสียหาย มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 15 ล้าน

24 เม.ย.2560 น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี เปิดเผยความคืบหน้าคดี น.ส.พสิษฐ์ อริญชย์ลาภิศ หรือซินแสโชกุน กรรมการบริหารบริษัท เวลท์เอเวอร์ ผู้ต้องหาคดีร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และพวก ว่า เรื่องดังกล่าวเป็นคดีอาญาเกี่ยวเนื่องกับคดีแพ่ง ตามกฎหมาย ป วิ.อาญา หมวด 2 มาตรา 40-44/1

โดยกระบวนการ อายัดทรัพย์ ซินแสโชกุน และบังคับคดีนั้น เมื่อพนักงานสอบสวนสั่งฟ้องอัยการให้ศาลพิจารณาก่อนมีคำพิพากษาเรื่องค่าสินไหมทดแทน และหากลูกหนี้ไม่สามารถชำระได้ก็จะให้กลุ่มผู้เสียหายรวมตัวมาตั้งเรื่องที่ กรมบังคับคดี ดำเนินการสืบทรัพย์ พร้อม อายัดทรัพย์สินผู้กระทำความผิดเพื่อนำทรัพย์สินไปขายทอดตลาดนำเงินมาใช้กับผู้เสียหายต่อไป

น.ส.รื่นวดีกล่าวอีกว่า สำหรับการเฉลี่ยทรัพย์คืนให้แก่ผู้เสียหายนั้นจะต้องเฉลี่ยคืนให้ได้ทั้งหมดก่อน อาจจะไม่ครบตามจำนวนทั้งหมด และหากจำเลยยังไม่มีทรัพย์มาชดใช้ ทางกรมบังคับคดีก็จะดำเนินการฟ้องล้มละลาย โดยขณะนี้มีผู้เสียหายในคดีประมาณ 403 คน มูลค่าความเสียหายประมาณ 15 ล้านบาท แต่ทรัพย์ที่ยึดผู้ต้องหามาได้ขณะนี้มีเพียง 12 ล้านบาท

อีกทั้ง พล.ต.ท.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) ได้ประสานนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้กรมบังคับคดีเป็นหนึ่งในหน่วยงานร่วมกับกรมพัฒนาธรกิจการค้า ดำเนินการดังกล่าวด้วย โดยวันที่ 28 เม.ย. นัดประชุมที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.)

นอกจากนี้ กรมบังคับคดีได้รับการประสานจาก พล.ต.อ.สุวิระ ทรงเมตตา ที่ปรึกษา (สบ 10) คดีแชร์ยูฟัน ซึ่งศาลมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 22 มี.ค. และพร้อมจะดำเนินการช่วยเหลือผู้เสียหายตามขั้นตอนต่อไป อย่างไรก็ตาม กรมบังคดีทำงานเชิงรุกพร้อมให้คำแนะนำผู้เสียหาย โดยกรมบังคับคดีเคยทำคดีเกี่ยวกับแชร์ลูกโซ่ ที่ผ่านมาในอดีตพบว่าผู้เสียหายส่วนมากไม่รู้วิธีการจึงอยากให้คำแนะนำต่างๆ

อายัดทรัพย์ ซินแสโชกุนเพิ่มอีกกว่า 90 รายการ

มีคำสั่งยึดอายัดทรัพย์ “คดีซินแสโชกุน” เพิ่ม 91 รายการ มูลค่ากว่า 1 ล้านบาท มีทั้ง “ห้องชุด-ทอง-รถยนต์”

เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้เผยแพร่คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม ที่ย.60/2560 เรื่องยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว (เพิ่มเติม) โดยระบุว่า ตามที่เลขาธิการ ปปง. ได้มีคำสั่ง ที่ย. 47/2560 ลงวันที่ 12 เม.ย. 2560 เรื่องอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว รายบริษัท เวลท์เอเวอร์ จำกัด กับพวก รวม 6 คน มีกำนหนดไม่เกิน 90 วัน ซึ่งจากการตรวจสอบรายงานการทำธุรกรรมหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของบุคคล รวมถึงผู้เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหือความผิดฐานฟอกเงินในคดีดังกล่าว พบข้อมูลเพิ่มเติมว่า บริษัท เวลท์เอเวอร์ จำกัด โดยน.ส.พสิษฐ์ อริญชย์ลาภิศ หรือซินแสโชกุน ผู้ต้องหาในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชน หลังจัดทัวร์ญี่ปุ่นแบบขึ้นเครื่องบินเช่าเหมาลำ ก่อนปล่อยลอยแพผู้เสียหายนับพันคน กับพวก เป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือมีสิทธิครอบครองในทรัพย์สินเพิ่มเติมอีก 91 รายการ

โดยคำสั่ง ยังระบุอีกว่า ซึ่งพบหลักฐานว่าเป็นทรัพย์สินที่น.ส.พสิษฐ์ กับพวก ได้มาระหว่างที่มีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิด ซึ่งทรัพย์สินเป็นสังหาริมทรัพย์ ประเภทเงินสด ทองรูปพรรณ เครื่องประดับ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และกล้องถ่ายรูป ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่สามารถโอน ยักย้าย ปกปิด และซ่อนเร้นได้ง่าย นอกจากนี้ ยังมีทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์ ประเภทห้องชุด ซึ่งปรากฎหลักฐานในทางทะเบียน เป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์หรือผู้มีสิทธิ์ครอบครองโดยผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ซึ่งอาจดำเนินการทางนิติกรรมในการโอนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ดังกล่าว

ดังนั้น ปปง. จึงอาศัยอำนาจตามกฎหมายฟอกเงิน และมติคณะกรรมการธุรกรรม จึงมีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินดังกล่าวไว้ชั่วคราว (เพิ่มเติม) 91 รายการ พร้อมดอกผล ตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค. 2560 ถึงวันที่ 20 ส.ค. 2560 โดยเบื้องต้นราคาประเมิน 1,152,509.25 บาท โดยยังไม่รวมมูลค่าของทรัพย์สินประเภททองรูปพรรณ เครื่องประดับ รถยนต์ และห้องชุด ซึ่งไม่ได้มีการประเมินราคา เนื่องจากอยู่ระหว่างการอายัดของกองบังคับการปราบปราม

ทั้งนี้ กรณีผู้ถูกอายัดทรัพย์สินตามคำสั่งนี้หรือผู้ส่วนได้เสียในทรัพย์สินดังกล่าว ประสงค์จะขอให้มีการเพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์สิน ให้ยื่นคำขอต่อเลขาธิการ ปปง. พร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้องที่แสดงว่าทรัพย์สินดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ภาายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งหรือทราบคำสั่งนี้

เปิด 6 บัญชีธนาคาร 3.2 ล้าน หลังเลขาฯ ปปง.สั่ง อายัดทรัพย์ ซินแสโชกุน “เลขาฯ-กรรมการบริษัท”

เลขาฯ ปปง.สั่งอายัดทรัพย์ 6 บัญชีธนาคาร “เครือข่ายซินแสโชกุน” ผู้ต้องหาร่วมคดีฉ้อโกง เบื้องต้นแค่ 3.2 ล้านบาทเศษ เผยเป็นบัญชี “ซินแสโชกุน” ในชื่อเดิม หลัก 9 พันบาท และบัญชีชื่อใหม่ เกือบ 2 ล้านบาท ส่วนบัญชีอื่นอีก 2 รายการเป็นของเลขานุการและกรรมการบริษัท เวลท์เอเวอร์ จำกัด

24 เม.ย.2560 มีรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ว่า ปปง.เผยแพร่คำสั่งเลขาธิการ ปปง.เมื่อวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 48 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบคณะกรรมการธุรกรรมว่าด้วยการรับเรื่องการตรวจสอบ การพิจารณาดำเนินการ และการควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2556 ข้อ 18 เลขาธิการ ปปง.มีคำสั่งที่ ย.47/2560 อายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เวลท์เอเวอร์ จำกัด มี น.ส.พสิสิษฐ์ อริญชย์ลาภิศ หรือ น.ส.ศรัณย์พัชร์ กิติขจรพัชร์ หรือซินแสโชกุน เป็นกรรมการ จำนวน 6 รายการพร้อมดอกผลมีกำหนดไม่เกิน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2560 ถึงวันที่ 10 กรกฎาคม 2560

ทั้งนี้ หลังจากได้เบาะแสพฤติการณ์แห่งการกระทำผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนตามกฎหมายอาญา และความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญาอันมีลักษณะเป็นปกติธุระ อย่างไรก็ตาม การกระทำความผิดในคดีนี้เป็นอสังหาริมทรัพย์ประเภทเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารอันเป็นทรัพย์ที่สามารถโอน ยักย้าย ปกปิด ซ่อนเร้นได้ง่ายโดยเร็ว หากได้มีการออกคำสั่งให้อัดทรัพย์สินดังกล่าวไว้ชั้วคราว รวมทั้งหากเนิ่นช้ากว่าการประชุมกรรมการธุรกรรมเพื่อพิจารณาอายัดทรัพย์สินในกรณีดังกล่าว ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด อาจมีการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ้อนเร้นเสียได้อันเป็นกรณี จำเป็นเร่งด่วน

มีรายงานว่า ทรัพย์สิน 6 รายการที่เลขาธิการ ปปง.มีคำสั่งอายัด มีจำนวนทั้งสิ้น 3,284,150.95 บาท ประกอบด้วย เงินในบัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย ของซินแสโชกุน 3 รายการ จำนวน 1,899,235.24 บาท 38,820 บาท และ 200,000 บาท เงินในบัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย ของ น.ส.ภวิศ ภูริภัทร์เมฆินทร์ (ชื่อเดิมซินแส โชกุน) จำนวน 9,940 บาท เงินในบัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย ของนางประนอม พลานุสนธิ์ (เลขานุการของซินแสโชกุน) จำนวน 1,124,947.79 บาท และเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย ของ น.ส.สิริธนัตถ์ รติวสุธัญกุล (กรรมการบริษัท เวลท์เอเวอร์) จำกัด จำนวน 11,207.92 บาท

สำหรับผู้ต้องหาคดีร่วมกันฉ้อโกงมีจำนวนทั้งสิ้น 8 ราย ประกอบด้วย น.ส.ทัศย์ดาว สมัครกสิกรรณ์ อายุ 35 ปี แฟนสาวของซินแสโชกุน นางมณฑญาณ์ นิรันดร หรือจันทร์ฉาย นาคฤทธิ์ อายุ 55 ปี นายก้องศรัณย์ แสงประภา อายุ 22 ปี นางประนอม พลานุสนธิ์ อายุ 40 ปี เลขานุการของซินแสโชกุน นางณิชมน แสงประภา อายุ 64 ปี นางพารินธรญ์ หงส์หิรัญ ดัคกอร์ อายุ 35 ปี น.ส.สุดารัตน์ อเนกนวล อายุ 25 ปี และนายโกวิท ช่วยสัตว์ อายุ 30 ปี

มีรายงานว่า ก่อนหน้าที่ ปปง.จะมีคำสั่งอายัดทรัพย์สินของซินแสโชกุน ประกอบด้วย เงินฝากในธนาคาร จำนวนกว่า 3 ล้านบาทแล้ว ยังจะมีการพิจารณาอายัดห้องพักที่คอนโดมิเนียมแห่งหนึ่ง และรถยนต์หรูอีก 6 คัน มูลค่ารวมประมาณ 10 ล้านบาท ซึ่งทรัพย์สินหลายรายการมีชื่อซินแสโชกุนเป็นผู้ครอบครอง บางส่วนก็เป็นชื่อของบุคคลอื่นๆ โดย ปปง.กำลังตรวจสอบที่มาของทรัพย์สินดังกล่าว

สำหรับรถยนต์หรูที่เจ้าหน้าที่อายัดมาตรวจสอบเนื่องจากสงสัยว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด ประกอบไปด้วย รถเบนซ์ เอสแอลเค 350 สีเทา ทะเบียน พศ 9995 กทม. รถแรนจ์โรเวอร์ สีแดง ทะเบียน 6 กค 4990 กทม. รถเก๋งโตโยต้า คัมรี่ สีดำ ทะเบียน 4 กณ 789 กทม. รถตู้แวนฮุนได สตาร์เร็กซ์ ทะเบียน 3 กฮ 9797 กทม. ส่วนรถยนต์อีกสองคันคือ รถเก๋งนิสสัน ทีด้า ทะเบียน ฎท 6198 กทม. รถยนต์มิตซูบิซิ ปาเจโร่ สีเทา ทะเบียน กฉ 5444 ลพบุรี จะต้องนำส่งคืนตามขั้นตอน เนื่องจากตรวจสอบพบว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาก่อนการกระทำความผิด รวมทั้งเป็นรถของบุคคลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคดีด้วย

ข้อมูลของกรมบังคับคดีระบุว่า ขณะนี้มีผู้เสียหายในคดีประมาณ 403 คน มูลค่าความเสียหายประมาณ 15 ล้านบาท แต่ทรัพย์ที่ยึดผู้ต้องหามาได้ขณะนี้มีเพียง 12 ล้านบาท