Skip to content
Home » News » อิหร่านจะล้างแค้นสหรัฐฯอย่างไร

อิหร่านจะล้างแค้นสหรัฐฯอย่างไร

อิหร่านจะล้างแค้นสหรัฐฯอย่างไร การสังหาร คาเซ็ม สุเลมานี ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษคุดส์ สังกัดกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน ของอิหร่าน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน ถึงจุดเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ครั้งอิหร่านจับชาวอเมริกัน 52 คนเป็นตัวประกันเมื่อปี 1979

คำสั่งสังหารจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ถือเป็นการขจัดศัตรูตัวฉกาจที่สุดคนหนึ่งของสหรัฐฯ และก็สร้างความสั่นคลอนให้กับอิหร่าน ทำให้ภูมิภาคที่ไร้เสถียรภาพอยู่แล้วยิ่งตกอยู่ในภาวะไม่มั่นคงยิ่งขึ้น

สถานการณ์เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน สหรัฐฯ และอิหร่าน ต่างก็ไม่อยากให้เกิดสงคราม แต่การสังหาร สุเลมานี อาจนำไปสู่การคาดการณ์ที่ผิดพลาด ของแต่ละฝ่ายซึ่งจะนำไปสู่การนองเลือดในที่สุด

ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน อยาโตลาห์ อาลี คาเมนี เป็นผู้นำในพิธีทางศาสนาเพื่อไว้อาลัยต่อศพของพลตรี กาส์เซม สุไลมานี ผู้ถูกสังหารในปฏิบัติการของกองทัพสหรัฐฯ ตามคำสั่งของประธานาธิบดี ‘ทรัมป์’ ของสหรัฐฯ เมื่อวันศุกร์ (3 ม.ค.) ที่ผ่านมา ท่ามกลางประชาชนอิหร่านหลายแสนคนที่เข้าร่วมในพิธีศพครั้งนี้ในวันจันทร์ที่กรุงเตหะราน

โลงบรรจุศพของพลตรีสุไลมานีและผู้เสียชีวิตอีก 5 คนจากการโจมตีของสหรัฐฯ เดินทางมาถึงกรุงเตหะราน ของอิหร่าน ในช่วงสุดสัปดาห์ และจะมีพิธีฝังศพในวันอังคารนี้ (7 ม.ค.) ที่เมืองเคอร์มาน บ้านเกิดของพลตรีสุไลมานี

ชาวอิหร่านพากันชูภาพของพลตรีสุไลมานี วัย 62 ปี ซึ่งเป็นผู้นำกองกำลังคุดส์ของอิหร่าน พร้อมถือป้ายต่อต้านอเมริกา และตะโกนว่า “อเมริกาและอิสราเอลจงไปตายซะ”

บุตรสาวของพลตรีสุไลมานี กล่าวต่อประชาชนอิหร่านด้วยความโศกเศร้าว่า “ทรัมป์คือสัญลักษณ์ของความโง่เขลา และเป็นของเล่นที่อยู่ในมือของขบวนการไซออนิสต์”

ขณะเดียวกัน การทวีตโต้ตอบระหว่างประธานาธิบดีทรัมป์กับเจ้าหน้าที่ของอิหร่านยังคงดำเนินต่อไป โดยในวันจันทร์ ผู้นำสหรัฐฯ ทวีตข้อความว่า “IRAN WILL NEVER HAVE A NUCLEAR WEAPON!” หรือ “อิหร่านจะไม่มีวันครอบครองอาวุธนิวเคลียร์!” หลังจากที่อิหร่านประกาศว่าจะเลิกปฏิบัติตามข้อตกลงจำกัดการพัฒนานิวเคลียร์ที่ทำไว้กับประเทศตะวันตกเมื่อปี ค.ศ. 2015

อิหร่านจะล้างแค้นสหรัฐฯอย่างไร
https://www.bbc.com/thai/international-51010149

เมื่อวันอาทิตย์ ปธน.ทรัมป์ ได้ทวีตว่าตนจะสั่งการโจมตีเป้าหมาย 52 แห่งในอิหร่าน “อย่างรุนแรงและรวดเร็ว” หากว่าอิหร่านโจมตีเจ้าหน้าที่อเมริกันหรือผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ซึ่งตัวเลข 52 นี้ตรงกับตัวเลขจำนวนชาวอเมริกันที่เคยถูกอิหร่านจับเป็นตัวประกันเป็นเวลา 444 วัน ในช่วงการปฏิวัติอิสลามเมื่อปลายทศวรรษ 1970

ด้านประธานาธิบดีอิหร่าน ฮัสซาน รูฮานี ตอบโต้คำขู่ของผู้นำสหรัฐฯ ว่า คนที่จำตัวเลข 52 ได้ ไม่ควรจะลืมตัวเลข 290 ซึ่งเป็นตัวเลขจำนวนผู้โดยสารของสายการบินอิหร่านที่เสียชีวิตหลังจากถูกสหรัฐฯ ยิงตกโดยไม่ตั้งใจ บริเวณอ่าวเปอร์เซีย เมื่อปี 1988 ในสมัยของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน

อิหร่านจะล้างแค้นสหรัฐฯอย่างไร อิหร่านประกาศแล้วว่าจะแก้แค้น และก็เห็นชัดว่านั่นไม่ใช่การพูดเล่น ๆ สุเลมานี เป็นแกนนำหลักของอิหร่าน และเป็นผู้นำของฝ่ายผู้มีความเชื่อแบบสุดโต่ง พวกเขาต้องการจะเอาคืนอย่างสาสม หรือไม่ก็อาจจะมากกว่านั้น

พิธีศพของ สุเลมานี จัดขึ้นเมื่อ 6 ธ.ค. ที่กรุงเตหะราน เมืองหลวงของอิหร่าน โดย อยาตอลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดอิหร่าน เป็นผู้นำสวด ผู้คนหลายแสนออกมารวมตัวไว้อาลัยตามท้องถนนก่อนที่จะนำร่างของเขาไปทำพิธีฝังวันที่ 7 ธ.ค. ที่เมืองเคอร์มาน บ้านเกิดของเขาซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ

แม้ว่ามีข้อห้ามขายอาวุธให้อิหร่าน แต่อิหร่านก็ได้พัฒนาจรวดและขีปนาวุธสมัยใหม่ สถานการณ์จะแย่เข้าไปใหญ่หากอิหร่านจะใช้อาวุธเหล่านั้นในการตอบโต้สหรัฐฯ

การตอบโต้สหรัฐฯ อาทิ การโจมตีเรือของสหรัฐฯ มีความเสี่ยงทำให้เกิดการตอบโต้กลับอย่างรุนแรง โรงกลั่นน้ำมันของอิหร่านตั้งอยู่ที่แนวชายฝั่งอ่าวเปอร์เซีย และจะตกเป็นเป้าโจมตีของสหรัฐฯ ได้โดยง่าย

หากอิหร่านตอบโต้ มีความเป็นไปได้ที่พวกเขาจะทำตามยุทธศาสตร์แบบ สุเลมานี ซึ่งคือการโต้ตอบในลักษณะที่ต่างออกไป พูดเปรียบให้เห็นภาพคือ ไม่สนใจการโจมตีที่เข้าไปยัง “ประตูหน้า” แต่มุ่งความสนใจไปที่ “หน้าต่างบานข้าง ๆ” แทน

ก่อนหน้าที่ สุเลมานี มุ่งความสนใจไปที่การฝึกฝนกองกำลังติดอาวุธที่ทรงพลังมากมาย นี่ทำให้อิหร่านไม่สามารถจะเลือกต่อสู้สหรัฐฯ แบบประจันหน้าได้ ตอนนี้ สหรัฐฯ ต้องมุ่งความสนใจไปที่กองกำลังที่เปราะบางที่สุดซึ่งก็คือกองกำลังเล็ก ๆ ที่ประจำการอยู่ที่ซีเรียนั่นเอง

คำถามสำคัญคือ ทำไมสหรัฐฯ ต้องตัดสินใจสังหาร สุเลมานี ในตอนนี้

สุเลมานี เป็นขวากหนามสำหรับสหรัฐฯ อย่างน้อยก็ตั้งแต่สหรัฐฯ บุกอิรักในปี 2003 เขาวางยุทธศาสตร์ให้กลุ่มมุสลิมชีอะห์ในอิรัก ฝึกฝนและจัดหาอาวุธให้กับกลุ่มติดอาวุธต่าง ๆ ซึ่งกลายเป็นนักรบที่มีประสิทธิภาพและโหดเหี้ยมไว้รับมือกับสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตร

สหรัฐฯ และชาติพันธมิตร ติดตามความเคลื่อนไหวของ สุเลมานี อย่างใกล้ชิดมาหลายปีแล้ว ที่สหรัฐฯ ตัดสินใจปฏิบัติการสังหารในคราวนี้สะท้อนว่า ปธน.ทรัมป์ เชื่อว่าผลลัพธ์ที่ได้จะคุ้มกับความเสี่ยง และอิหร่านตกอยู่ในสภาพอ่อนแอจากการโดนปล่อยให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว การโดนคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ และการประท้วงในประเทศ พวกเขาอาจจะโกรธเกรี้ยวแต่จะไม่สามารถตอบโต้กลับได้อย่างจริงจัง

ไม่แน่ชัดเลยว่าการสังหารนี้ไปในทิศทางเดียวกับยุทธศาสตร์สหรัฐฯ ที่วางไว้หรือไม่

สุเลมานี เป็นหัวใจสำคัญของอิหร่าน เขาเป็นนักวางยุทธศาสตร์ บางทีเขาอาจจะวางแผนเป็นขั้น ๆ ไว้แล้วก็ได้ว่าให้อิหร่านทำอย่างไรหากเขาโดนสังหาร

เหตุสังหารขณะเราก้าวสู่ทศวรรษใหม่นี้อาจนำไปสู่หมุดหมายครั้งสำคัญของสถานการณ์ในตะวันออกกลาง อาจทำให้เกิดเหตุการณ์นองเลือดหลายระลอกตามมา

อิหร่านจะต้องเริ่มวางแผนแล้วว่าจะตอบโต้การตายของสุเลมานีอย่างไร เพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขาสามารถปกป้องที่ทางและสถานะของอิหร่านขณะอยู่นอกเขตประเทศตนเองได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ สุเลมานี ใช้เวลาอย่างยาวนานในการสร้างขึ้นมา

https://www.bbc.com/thai/international-51010149