ฮอโลคอสต์ จำกัดชาวยิว ฮอโลคอสต์ (อังกฤษ: The Holocaust) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า โชอา เป็นพันธุฆาตระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งนาซีเยอรมนีและผู้ให้การสนับสนุนท้องถิ่น ฆ่ายิวยุโรปประมาณหกล้านคนอย่างเป็นระบบ
คิดเป็นสองในสามของประชากรยิวในทวีปยุโรป ระหว่างปี 1941 ถึง 1945 ยิวตกเป็นเป้าหมายการกำจัดโดยเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ที่ใหญ่กว่าระหว่างสมัยฮอโลคอสต์ ซึ่งเยอรมนีและผู้ให้การสนับสนุนบีฑาและฆ่ากลุ่มอื่น
รวมทั้งชาวสลาฟ (ส่วนใหญ่ได้แก่ ผู้มีชาติพันธุ์โปแลนด์ เชลยศึกโซเวียต และพลเมืองโซเวียต) ชาวโรมา “ผู้ป่วยรักษาไม่หาย” ผู้คัดค้านทางการเมืองและศาสนา เช่น นักคอมมิวนิสต์และคริสต์ศาสนิกชนพยานพระยะโฮวา และชายรักร่วมเพศ เมื่อรวมผู้เสียหายทั้งหมดจากการบีฑาของนาซีแล้ว จะมียอดผู้เสียชีวิตถึง 17 ล้านคน
ประเทศเยอรมนีมีการนำไปปฏิบัติซึ่งการบีฑายิวดังกล่าวเป็นขั้นตอน หลังอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมนีในเดือนมกราคม 1933 ระบอบสร้างเครือข่ายค่ายกักกันในประเทศเยอรมนีสำหรับคู่แข่งทางการเมืองและผู้ที่ถือว่า “ไม่พึงประสงค์” เริ่มจากดาเคาเมื่อ 22 มีนาคม 1933 หลังผ่านรัฐบัญญัติมอบอำนาจเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ปีเดียวกัน ซึ่งให้อำนาจเต็มที่แก่ฮิตเลอร์ รัฐบาลเริ่มแยกยิวออกจากประชาสังคม
ซึ่งรวมทั้งการคว่ำบาตรธุรกิจยิวในเดือนเมษายน 1933 และการตรากฎหมายเนือร์นแบร์กในเดือนกันยายน 1935 ในวันที่ 9–10 พฤศจิกายน 1938 ในคืนกระจกแตก ธุรกิจและสิ่งปลูกสร้างอื่นของยิวถูกปล้นสะดม ทุบทำลายหรือจุดไฟเผาทั่วประเทศเยอรมนีและออสเตรีย ซึ่งประเทศเยอรมนีผนวกในเดือนมีนาคมปีนั้น หลังเยอรมนีบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 ซึ่งเป็นชนวนสงครามโลกครั้งที่สอง ระบอบตั้งเกตโตเพื่อแยกยิวออก สุดท้ายมีการตั้งค่ายและจุดกักกันอื่นหลายพันแห่งทั่วทวีปยุโรปที่ถูกเยอรมนียึดครอง

ฮอโลคอสต์ จำกัดชาวยิว
ฮอโลคอสต์ จำกัดชาวยิว การเนรเทศยิวไปเกตโตนั้นลงเอยด้วยนโยบายกำจัดยิวที่นาซีเรียก “การแก้ปัญหายิวครั้งสุดท้าย” ซึ่งข้าราชการนาซีอาวุโสอภิปรายกันในการประชุมที่วันเซเมื่อเดือนมกราคม 1942 เมื่อกองทัพเยอรมันยึดดินแดนทางทิศตะวันออกได้ มาตรการต่อต้านยิวทั้งหมดกลายเป็นหัวรุนแรงมากขึ้น ฮอโลคอสต์อยู่ภายใต้การประสานงานของเอสเอส และมีคำสั่งจากผู้นำสูงสุดของพรรคนาซี
โดยการฆ่าเกิดขึ้นในประเทศเยอรมนี ทั่วทวีปยุโรปที่ถูกยึดครอง และทั่วทุกดินแดนที่ฝ่ายอักษะควบคุม หน่วยพิฆาตกึ่งทหารที่เรียกว่า ไอน์ซัทซ์กรุพเพิน ด้วยความร่วมมือกับกองพันตำรวจแวร์มัคท์และผู้ให้การสนับสนุนท้องถิ่น ฆ่ายิวประมาณ 1.3 ล้านคนในการยิงหมู่ระหว่างปี 1941 ถึง 1945 เมื่อถึงกลางปี 1942 ผู้เสียหายถูกเนรเทศจากเกตโตในรถไฟสินค้าปกปิดไปค่ายมรณะ ซึ่งหากมีชีวิตรอดจากการเดินทาง ก็จะถูกฆ่าในห้องรมแก๊ส การฆ่าดำเนินไปจนสิ้นสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรปในเดือนพฤษภาคม
นักประวัติศาสตร์ฮอโลคอสต์ส่วนใหญ่นิยามฮอโลคอสต์ว่าเป็นการนำนโยบายของรัฐเยอรมันไปปฏิบัติเพื่อกำจัดยิวในทวีปยุโรประหว่างปี 1941 ถึง 1945ไมเคิล เกรย์ ผู้ชำนัญพิเศษในการศึกษาฮอโลคอสต์ เขียนใน ทีชชิงเดอะฮอโลคอสต์ (ปี 2015) เสนอบทนิยามสามประการ ได้แก่ (ก) “การบีฑาและฆ่ายิวโดยนาซีและผู้ให้การสนับสนุนระหว่างปี 1933 ถึง 1945” ซึ่งมองเหตุการณ์คืนกระจกแตกในประเทศเยอรมนีเมื่อปี 1938 เป็นฮอโลคอสต์ระยะเริ่มต้น
“การฆ่าหมู่ยิวอย่างเป็นระบบโดยระบอบนาซีและผู้ให้การสนับสนุนระหว่างปี 1941 ถึง 1945” ซึ่งรับรู้การเปลี่ยนนโยบายของเยอรมนีในปี 1941 สู่การกำจัดชาวยิวในทวีปยุโรป และ (ค) “การบีฑาและการฆ่ากลุ่มต่าง ๆ โดยระบอบนาซีและผู้ให้การสนับสนุนระหว่างปี 1933 ถึง 1945” ซึ่งรวมผู้เสียหายจากนาซีทุกกลุ่ม เกรย์เขียนว่า บทนิยามที่สามนี้ไม่ได้ระบุว่ามีเพียงชาวยิวเท่านั้นที่ถูกเลือกกำจัดโดยเฉพาะ
พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์ฮอโลคอสต์สหรัฐนิยามฮอโลคอสต์ว่าเป็น “การบีฑาและฆ่ายิวอย่างเป็นระบบ มีระบบข้าราชการประจำ และรัฐให้การสนับสนุนโดยระบอบนาซีและผู้ให้การสนับสนุน” โดยแยกแยะระหว่างฮอโลคอสต์และการพุ่งเป้าไปยังกลุ่มอื่นระหว่าง “สมัยฮอโลคอสต์”ยาดวาเชม อนุสรณ์ฮอโลคอสต์ของอิสราเอล ระบุว่านักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ถือว่า “สมัยฮอโลคอสต์” เริ่มต้นในเดือนมกราคม 1933 เมื่อฮิตเลอร์ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
ผู้เสียหายอื่นในสมัยฮอโลคอสต์ ได้แก่ ผู้ที่ถูกมองว่าด้อยกว่า ทั้งด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติหรือชาติพันธุ์ (เช่น โรมา ชาติพันธุ์โปแลนด์ รัสเซียและผู้พิการ) และผู้ที่ตกเป็นเป้าเพราะความเชื่อหรือพฤติกรรม (เช่น พยานพระยะโฮวา คอมมิวนิสต์และคนรักร่วมเพศ)ปีเตอร์ เฮส์ระบุว่า ฮิตเลอร์มองยิวว่า “เป็นอันตรายโดยเฉพาะต่อประเทศเยอรมนี ฉะนั้นจึงถูกลิขิตโดยเฉพาะให้หายไปโดยสิ้นเชิงจากไรช์และดินแดนทั้งปวงที่อยู่ภายใต้ไรช์” เขาเขียนว่า การบีฑาและฆ่ากลุ่มอื่นนั้นมีความเสมอต้นเสมอปลายน้อยกว่ามาก
ตัวอย่างเช่น นาซีถือว่าสลาฟเป็น “ต่ำกว่ามนุษย์” แต่การปฏิบัติต่อสลาฟนั้นประกอบด้วย “การทำให้เป็นทาสและการลดจำนวนแบบค่อยเป็นค่อยไป” ส่วน “สลาฟบางส่วน เช่น ชาวสโลวาเกีย ชาวโครเอเชีย ชาวบัลแกเรีย ชาวยูเครนบางส่วน ได้รับที่ความชอบในระเบียบใหม่ของฮิตเลอร์”

แดน สโตน ผู้เชี่ยวชาญในประวัติศาสตร์นิพนธ์ฮอโลคอสต์ แสดงรายการชาติพันธุ์โปแลนด์ ยูเครน เชลยศึกโซเวียต พยานพระยะโฮวา เยอรมันผิวดำ และคนรักร่วมเพศอยู่ในกลุ่มที่ถูกนาซีบีฑา เขาเขียนว่าการยึดครองยุโรปตะวันออกสามารถมองได้ว่าเป็นพันธุฆาต แต่เขาแย้งว่าทัศนคติของชาวเยอรมันต่อยิวนั้นต่างออกไป นาซีถือว่ายิวมิได้เป็นเชื้อชาติที่ต่ำต้อยกว่า นอกคอกหรือเป็นเชื้อชาติศัตรูดังที่มองกลุ่มอื่น แต่เป็น “เชื้อชาติอุปสรรค กล่าวคือ ไม่ใช่มนุษย์ด้วยซ้ำ” สำหรับสโตน ฮอโลคอสต์จึงนิยามว่าเป็นพันธุฆาตยิว แม้เขาแย้งว่าไม่สามารถ “ตั้งอยู่ทางประวัติศาสตร์ได้อย่างเหมาะสมโดยปราศจากความเข้าใจ “จักรวรรดินาซี” พร้อมกับแผนประชากรศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่” Donald Niewyk และ Francis Nicosia ในเดอะโคลัมเบียไกด์ทูเดอะฮอโลคอสต์ (ปี 2000) นิยมบทนิยามที่ให้ความสนใจต่อยิว โรมาและผู้เสียหายจากอัคซีโยน เต4 ว่า “ฮอโลคอสต์ หรือคือพันธูฆาตนาซี เป็นการฆ่าอย่างเป็นระบบและรัฐให้การสนับสนุนซึ่งคนทั้งกลุ่มที่ตัดสินจากกรรมพันธุ์ ได้แก่ ยิว ยิปซีและผู้พิการ”
รัฐพันธุฆาต
ลอจิสติกส์ของการฆ่าหมู่เปลี่ยนประเทศเยอรมนีให้เป็นสิ่งที่ไมเคิล เบเรนเบาม์เรียกว่า “รัฐพันธุฆาต” เอแบร์ฮาร์ด เยกเคิลเขียนในปี 1986 ว่าเป็นครั้งแรกที่รัฐแสดงอำนาจเบื้องหลังความคิดว่ากลุ่มประชากรทั้งกลุ่มควรถูกกำจัดให้สิ้นทุกคนที่มีปู่ย่าตายายเป็นยิว 3 หรือ 4 คนจะถูกกำจัดและมีการปรับแก้ไขกฎซับซ้อนเพื่อจัดการกับ “พันธุ์ผสม” (คือ ครึ่งยิวหรือเป็นยิวหนึ่งในสี่)ข้าราชการชี้ตัวผู้เป็นยิว ริบทรัพย์สิน และจัดกำหนดการรถไฟเพื่อเนรเทศ บริษัทไล่ยิวออกจากงานและต่อมาใช้เป็นแรงงานทาส มหาวิทยาลัยปลดผู้บริหาร อาจารย์และนักศึกษายิว บริษัทยาเยอรมันทดสอบยากับเชลยค่าย บริษัทอื่นสร้างเตาเผาศพเมื่อเชลยเข้าสู่ค่ายมรณะ จะได้รับคำสั่งให้ยกทรัพย์สินส่วนบุคคลทั้งหมด ซึ่งมีการจำแนกเป็นหมวดและติดป้ายระบุก่อนมีการส่งกลับประเทศเยอรมนีเพื่อใช้ซ้ำหรือแปรใช้ใหม่ ธนาคารแห่งชาติเยอรมันช่วยฟอกสิ่งของมีค่าที่ขโมยมาจากผู้เสียหายผ่านบัญชีลับ
ความเป็นอุตสาหกรรมและขอบเขตของการฆ่านั้นไม่เคยปรากฏมาก่อน มีการดำเนินการฆ่าอย่างเป็นระบบในแทบทุกพื้นที่ของทวีปยุโรปที่ถูกยึดครอง คือ กว่า 20 ประเทศ ยิวเกือบ 3 ล้านคนในประเทศโปแลนด์ที่ถูกยึดครองและยิวระหว่าง 700,000 ถึง 2.5 ล้านคนในสหภาพโซเวียตถูกฆ่า อีกหลายแสนคนเสียชีวิตในทวีปยุโรปส่วนที่เหลือมีการเคลื่อนย้ายผู้เสียหายในรถไฟสินค้าปกปิดจากทั่วยุโรปไปยังค่ายมรณะซึ่งมีห้องรมแก๊ส สถานที่ดังกล่าวเติบโตจากการทดลองแก๊สพิษของนาซีระหว่างโครงการการฆ่าหมู่อัคซีโยน เท4 (“การุณยฆาต”) ต่อผู้พิการหรือป่วยทางจิตที่เริ่มตั้งแต่ปี 1939 ประเทศเยอรมนีตั้งค่ายมรณะ 6 แห่งในประเทศโปแลนด์ ได้แก่ เอาชวิทซ์ 2-เบียร์เคอเนา (ตุลาคม 1941), ไมดาแนก (ตุลาคม 1941); เชลม์โน (ธันวาคม 1941) และค่ายปฏิบัติการไรน์ฮาร์ด 3 แห่ง ได้แก่ เบวเซตส์ โซบีบอร์และเทรบลิงคาในปี 1942 มีการตั้งค่ายมรณะที่ 7 ชื่อ Maly Trostinets ใกล้กับกรุงมินสค์ ในประเทศเบลารุส ซึ่งขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของไรชส์ค็อมมิสซารีอาทอ็อสท์ลันท์ การอภิปรายในการประชุมที่วันเซในเดือนมกราคม 1942 ชัดเจนว่า “การแก้ปัญหายิวครั้งสุดท้าย” ของเยอรมันตั้งใจให้สุดท้ายรวมบริเตนและรัฐเป็นกลางทั้งหมดในทวีปยุโรป รวมทั้งไอร์แลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ ตุรกี สวีเดน โปรตุเกสและสเปน
กประวัติศาสตร์มองฮอโลคอสต์ว่าเป็นปรากฏการณ์ทั่วทวีปยุโรปเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หรือมองว่าฮอโลคอสต์หลายครั้งไม่สามารถดำเนินการได้หากปราศจากผู้ให้การสนับสนุนท้องถิ่น ประมาณว่ากว่า 200,00 คนเป็นผู้ลงมือฮอโลคอสต์ซึ่งหากปราศจากผู้ให้การร่วมมือเหล่านี้ เยอรมนีจะไม่สามารถขยายฮอโลคอสต์ไปทั่วทวีปยุโรปส่วนใหญ่ได้ คริสตจักรบางแห่งพยายามปกป้องยิวโดยประกาศว่ายิวที่เข้ารีตแล้วเป็น “ส่วนหนึ่งของฝูง” ตามข้อมูลของเซาล์ ฟรีดเล็นแดร์ “กระนั้นก็ถึงแค่จุดหนึ่งเท่านั้น” ฟรีดเล็นแดร์เขียนว่า “ไม่มีแม้กลุ่มสังคมกลุ่มหนึ่ง ชุมชนศาสนาหนึ่ง สถาบันวิชาการหนึ่งหรือสมาคมวิชาชีพหนึ่งในประเทศเยอรมนีและทวีปยุโรประกาศความเป็นหนึ่งเดียวกับยิว
ในปี 1933 มียิวประมาณ 9.5 ล้านคนในทวีปยุโรป ส่วนใหญ่กระจุกตัวหนาแน่นในยุโรปตะวันออก

1.ม.ค.1941(วันที่ประมาณการ)