เกียรติประวัติ จอร์จ วอชิงตัน เฮนรี ลี สมาชิกสภานิติบัญญัติสหรัฐอเมริกา และ โรเบิร์ต อี. ลี สหายร่วมสงครามปฏิวัติและเป็นบิดาสงครามประชาชน ได้กล่าวคำยกย่องสรรเสริญวอชิงตันที่รู้จักกันดี ดังนี้
เกียรติประวัติ จอร์จ วอชิงตัน สำหรับชาวอเมริกัน เขาคือที่หนึ่งในยามสงคราม ที่หนึ่งในการปกป้องสันติภาพ และที่หนึ่งในหัวใจเพื่อนร่วมชาติ เป็นคนที่มีความกตัญญู ยุติธรรม มีมนุษยธรรม สามารถควบคุมอารมณ์ได้ และมีความจริงใจ การแต่งกายของเขาน่ายกย่องและดูเด่น เขาอบรมสั่งสอนพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้กับบุคคลรอบข้าง เขายืนหยัดที่จะเป็นแบบอย่างที่ถูกต้อง บทบาทของเขาที่มีความบริสุทธิ์ได้ปรากฏเด่นชัดต่อสาธารณชน เช่น เป็นบุคคลที่คนในชาติเศร้าโศกเสียใจ
คำกล่าวของลีได้ตั้งเป็นแบบอย่างมาตรฐาน กิตติศัพท์ที่เปี่ยมล้นของวอชิงตันเป็นสิ่งที่ประทับใจในความทรงจำของชาวอเมริกัน วอชิงตันจัดให้รัฐบาลแห่งชาติชุดก่อนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งประธานาธิบดี
ในปี ค.ศ. 1778 วอชิงตันถูกขนานนามว่าเป็น “บิดาผู้ก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกา”
ในช่วงฉลองครบรอบ 200 ปีของประเทศสหรัฐ วอชิงตันได้รับแต่งตั้งเป็นเกียรติยศให้เป็นระดับนายพลเอก (General) ของกองทัพบกสหรัฐ โดยสภาคู่มีมติที่ Public Law 94-479 ในวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1976 และเป็นคำสั่งออกมาจากกองทัพบกเลขที่ 31-3 วันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1978 โดยมีผลแต่งตั้งอย่างเป็นทางการย้อนหลังในวันที่ 4 กรกฎาคม 1976 อันเป็นวันชาติของสหรัฐฯ เพื่อให้วอชิงตันดำรงตำแหน่งสูงสุดทางการทหารในประวัติศาสตร์สหรัฐ
อนุสาวรีย์และที่ระลึก

ปัจจุบันนี้ ใบหน้าและรูปภาพของวอชิงตันถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ต่างๆของสหรัฐอเมริกา เช่น ธงชาติ ตราประทับของสหรัฐอเมริกา แม้กระทั่งการแสดงความเคารพต่อวอชิงตันที่เห็นชัดที่สุดคือ มีรูปใบหน้าของเขาปรากฏอยู่บนธนบัตรฉบับละ 1 ดอลลาร์สหรัฐ และ เหรียญควอเตอร์ ใบหน้าของวอชิงตัน, โธมัส เจฟเฟอร์สัน, ธีโอดอร์ รูสเวลต์ และ อับราฮัม ลิงคอล์น ถูกนำไปแกะสลักที่เมานต์รัชมอร์ อนุสาวรีย์วอชิงตัน หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ชาวอเมริกันรู้จักมากที่สุดได้ถูกสร้างขึ้น The George Washington Masonic National Memorial ในอเล็กซานเดรีย, เวอร์จิเนีย สร้างขึ้นด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Masonic Fraternity
หลายสิ่งหลายอย่างได้นำชื่อของวอชิงตันไปตั้ง ชื่อของวอชิงตันถูกนำไปตั้งเป็นชื่อเมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา นั่นคือ วอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งเป็น 1 ใน 2 เมืองหลวงของโลกที่ใช้ชื่อของประธานาธิบดีสหรัฐฯ (อีกเมืองหนึ่งคือ มอนโรเวีย เมืองหลวงของประเทศไลบีเรีย) รัฐวอชิงตัน เป็นเพียงรัฐเดียวที่ใช้ชื่อนี้หลังจากตั้งประเทศ (แมริแลนด์, เวอร์จิเนีย, เซาท์แคโรไลนา, นอร์ทแคโรไลนา และจอร์เจีย เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระนามพระราชวงศ์อังกฤษ) มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน และ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน เซนต์หลุยส์
เกียรติประวัติ จอร์จ วอชิงตัน การถือทาส
เกียรติประวัติ จอร์จ วอชิงตัน ตลอดระยะเวลาในช่วงชีวิตของวอชิงตันมีการค้าขายทาสอย่างต่อเนื่อง วอชิงตันได้รับมรดกทาส 10 คน หลังจากที่พ่อของเขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1743 ขณะที่มีอายุเพียง 11 ขวบ ในปีที่เขาแต่งงานกับมาร์ธา คัสทิสนั้น เขามีทาสอย่างน้อย 36 คน เขาใช้ทรัพย์สินของมาร์ธาไปชื่อที่ดินและสวน และซื้อทาสมาเพิ่มอีกจำนวนมาก เขาต้องจ่ายภาษีทาส 135 คน และซื้อทาสครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 1772 แม้ว่าเขาจะได้รับทาสมาเพิ่มจากการชดใช้หนี้ของลูกหนี้ก็ตาม
ก่อนที่สงครามปฏิวัติอเมริกาจะเกิดขึ้น วอชิงตันแสดงความรู้สึกเกี่ยวกับข้อกำหนดว่าด้วยเรื่องทาสที่ไม่มีคุณธรรม แต่ในปี ค.ศ. 1786 เขาเขียนจดหมายไปถึง โรเบิร์ต มอริส ข้อความว่า “ไม่มีใครที่หวังความจริงใจมากกว่าที่ข้าพเจ้าทำ ที่จะมองถึงแผนการยกเลิกทาส”
ในปี 1788 วอชิงตันเขียนจดหมายไปถึงผู้จัดการส่วนตัวของเขาที่เมานต์เวอร์นอนว่า เขาหวังที่จะยกเลิกการค้าชาวนิโกร การปรับปรุงครั้งยิ่งใหญ่เกี่ยวกับประชากรทาสในเมานต์เวอร์นอนที่ไม่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ วอชิงตันไม่สามารถขายทาสที่ได้รับมาจากมรดกอย่างถูกกฎหมายหมายได้ เพราะว่าทาสเหล่านี้ได้แต่งงานระหว่างตระกูลทาสกับเจ้าของทาสของพวกเขา และเขาก็ไม่สามารถขายทาสได้โดยปราศจากการทำลายครอบครัว
ในช่วงที่วอชิงตันดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอยู่นั้น ในปี ค.ศ. 1789 เขาซื้อทาสไปที่นิวยอร์กซิตี้ เพื่อเอาไว้ใช้งานในบ้านของประธานาธิบดีหลังแรก มี 7 คนคือ ออนนีย์ จัดจ์, มอลล์, จิลเลส, ปารีส, อัสติน, คริสโตเฟอร์ ชีลส์ และ วิลเลียม ลี หลังจากที่ย้ายเมืองหลวงไปยังฟิลาเดลเฟีย ในปี 1790 เขาซื้อทาสอีก 9 คนไปใช้งานที่บ้านของประธานาธิบดี ที่ฟิลาเดลเฟีย ออนนีย์ จัดจ์, มอลล์, จิลเลส, ปารีส, อัสติน, คริสโตเฟอร์ ชีลส์, เฮอร์คูล, ริชมอนด์ และ โจ (ริชาร์ดสัน) ออนนีย์ จัดจ์ และ เฮอร์คูล ได้พยายามหลบหนีเป็นอิสระ แต่ถูก ริชมอนด์ และ คริสโตเฟอร์ ชีลส์ ขัดขวางเอาไว้
รัฐเพนซิลเวเนีย ได้เริ่มต้นการยกเลิกทาสในปี ค.ศ. 1790 และห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นเจ้าของทาสภายในรัฐนี้เกิน 6 เดือน ถ้าหากไม่ปฏิบัติตาม กฎหมายยกเลิกทาส (Gradual Abolition Law) จะให้อำนาจกับทาสเหล่านี้สามารถตั้งตัวเป็นอิสระได้ทันที วอชิงตันแย้งว่าการที่เขามาอยู่ที่เพนซิลเวเนียในครั้งนี้เป็นผลที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่เขามานั่งตำแหน่งรัฐบาลกลางของเพนซิลเวเนียเพียงคนเดียว
และไม่ควรที่จะอนุญาตให้กับตัวเขาเอง จากคำแนะนำของ เอ็ดมุนด์ แรนดอล์ฟ อัยการสูงสุดของเขา เสนอแนะว่า เขาควรสับเปลี่ยนหวุนเวียนทาสในบ้านของประธานาธิบดีอย่างเป็นระเบียบทั้งในและนอกรัฐ เพื่อป้องกันไม่ให้คนเหล่านี้สร้างบ้านต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 6 เดือน การสับเปลี่ยนนี้ถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมายของทางรัฐเพนซิลเวเนีย แต่การปฏิบัติของประธานาธิบดีครั้งนี้ก็ไม่มีใครออกมาคัดค้านแต่อย่างใด

กฎหมายไล่ล่าทาสที่หลบหนี ในปี ค.ศ. 1793 (Fugitive Slave Act of 1793) กำหนดให้มีการค้าขายทาสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยเจ้าของทาสสามารถเรียกคืนได้ ซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา มาตรที่ 4 ส่วนที่ 2 ผ่านรัฐสภาและลงนามประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยวอชิงตัน กฎหมายฉบับนี้กำหนดไว้ว่า ผู้ที่เป็นทาสที่ต้องสงสัยว่ามีพฤติกรรมจะหลบหนี จะถูกจับโดยไม่มีการประกันและจะถูกนำตัวส่งให้ผู้เป็นเจ้าของทาส ซึ่งสามารถอ้างความเป็นเจ้าของได้เพียงด้วยการสาบานว่าเป็นเจ้าของทาสจริง คนผิวดำที่ต้องสงสัยว่าเป็นทาสหลบหนีก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะขอให้ศาลพิจารณาการสอบสวน
วอชิงตันเป็นเพียงบุคคลที่มีชื่อเสียง เป็นเจ้าของทาส เป็นบิดาผู้ก่อตั้งประเทศผู้ซึ่งปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระในภายหลัง การปฏิบัติของเขาถูกชักจูงโดยผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเขาเองคือ มาร์กีส์ เดอ ลาฟาแยตต์ (Marquis de Lafayette) วอชิงตันไม่ได้ปล่อยทาสของเขาให้เป็นอิสระในช่วงที่เขามีชีวิตอยู่ อย่างไรก็ตาม วอชิงตันตั้งใจที่จะปล่อยทาสของเขาในวันที่เขาถึงแก่อสัญกรรม ในวันที่เขาถึงแก่อสัญกรรม มีทาส 317 คนที่เมานต์เวอร์นอน แบ่งออกเป็น 123 คนเป็นทาสของวอชิงตัน 154 คนเป็นทาสที่ได้มาจากมรดกตกทอด และอีก 40 คนเป็นทาสที่ยืมมาจากเพื่อนบ้าน
มันเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันว่าวอชิงตันไม่ได้พูดเรื่องการต่อต้านการค้าทาสในที่สาธารณะ เพราะว่าเขาไม่ปรารถนาที่จะสร้างความแตกแยกในการเมืองใหม่ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อ่อนไหวและแบ่งแยกทางความคิด แม้ว่าวอชิงตันจะคัดค้านกฎหมายไล่ล่าทาสที่หลบหนี เขามีสิทธิ์ในการยับยั้ง ซึ่งส่งผลให้กฎหมายฉบับนี้เป็นโมฆะได้ (การออกเสียงของสมาชิกวุฒิสภาไม่ได้ถูกบันทึกเอาไว้ แต่ทางรัฐสภาผ่านเป็นกฎหมาย ด้วยคะแนน 47 ต่อ 8)