เจ้าทุกข์น้ำท่วม 54 ซัด “ปู” แก้น้ำท่วมไม่เคยถาม ปชช ศาลปกครองสูงสุดสั่งเพิกถอนคำสั่งบรรเทาทุกข์ชั่วคราวชาวบางบัวทองที่ยื่นฟ้อง ศปภ. ช่วงน้ำท่วมปี 2554 เหตุมวลน้ำสลายสิ้นแล้วไม่จำเป็นต้องบรรเทาทุกข์อีก ขณะที่ “ทศสิริ” ซัดรัฐแก้ปัญหาน้ำแบบเดิมๆ ไม่เคยทำประชาพิจารณ์ หนีไม่พ้นต้องขัดแย้งกับ ปชช.อีก จี้ถามนายกฯ ทำไมเลือกปกป้องอุตสาหกรรรมมากกว่าเกษตรกรรม จากกรณีหนุนนิคมสร้างเขื่อนกั้นน้ำ ทั้งที่ไทยเป็นประเทศอู่ข้าวอู่น้ำ
เจ้าทุกข์น้ำท่วม 54 ซัด “ปู” แก้น้ำท่วมไม่เคยถาม ปชช วันที่ 15 มี.ค. นางอังคณา เสาธงทอง ตุลาการศาลปกครองกลาง ออกบัลลังก์อ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุด สั่งเพิกถอนคำสั่งบรรเทาทุกข์ชั่วคราวของศาลปกครองชั้นต้น ที่สั่งให้ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) และ กทม. ร่วมกันพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ในการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำคลองมหาสวัสดิ์เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกับความสามารถในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่รับผิดชอบของ ศปภ. และกทม. นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง จนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น

การมีคำสั่งดังกล่าว เป็นกรณีที่ ศปภ.ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด หลังศาลปกครองกลางมีคำสั่งกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาในคดีที่นางทศสิริ พูลนวล ชาวบ้าน จ.นนทบุรี ที่รับผลกระทบจากการเปิดปิดประตูระบายน้ำคลองมหาสวัสดิ์ ยื่นฟ้อง ศปภ.และกทม.
ส่วนเหตุที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งเพิกถอนระบุว่า ปัจจุบันมวลน้ำอันเป็นต้นเหตุแห่งการใช้มาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาได้สิ้นไปแล้วจึงไม่จำเป็นต้องมีมาตรการหรือวิธีการใด เพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาตามที่นางทศสิริร้องขออีกต่อไป ฉะนั้นคำสั่งศาลปกครองชั้นต้นที่กำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา ให้ ศปภ.และกทม. ร่วมกันพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ในการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำคลองมหาสวัสดิ์เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกับความสามารถในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่รับผิดชอบของ ศปภ.และกทม.
นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง จนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น ย่อมหมดความจำเป็นที่จะให้มีผลบังคับใช้ต่อไป ศาลปกครองสูงสุดจึงยกคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นดังกล่าว โดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาร้องของอุทธรณ์คำสั่งของ ศปภ.
ด้าน นางทศสิริกล่าวหลังฟังคำสั่งว่า คดีนี้ยังไม่สิ้นสุด เนื่องจากคำสั่งศาลปกครองสูงสุดวันนี้แค่ยกคำสั่งของศาลปกครองกลาง แต่ในประเด็นการบริหารจัดการน้ำของ ศปภ.และกทม.ที่ผิดพลาดนั้นยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลปกครองกลางอยู่ ซึ่งการที่ตนยื่นฟ้องในคดีนี้ก็เพื่อให้เกิดบรรทัดฐานที่เท่าเทียมกันระหว่างชาวนนทบุรี-กทม. และเพื่อไม่ให้รัฐบาลใช้อำนาจตัดสินใจตามลำพัง ต้องเปิดให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นตนเองด้วย
“การเตรียมการรับมือปัญหาอุทกภัยของปี 2555 ก็ยังเป็นวิธีคิดแบบเดิม ไม่มีการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ว่าต้องการแบบไหน เมื่อเป็นเช่นนี้เชื่อปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา จะยังคงอยู่ ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและประชาชนไม่มีที่สิ้นสุด และที่รัฐบาลไปลงทุนสร้างเขื่อนรอบนิคมอุตสาหกรรมที่ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยไม่ได้ทำประชาพิจารณ์กับประชาชนที่อยู่ในบริเวณรอบนิคมอุตสาหกรรม
จนทำไปสู่การฟ้องร้องคดีก็อยากถามรัฐบาลว่า ทำไมถึงเลือกรักษาพื้นที่เขตอุตสาหกรรม มากกว่าเขตพื้นที่เกษตรกรรม ทั้งที่ประเทศไทยเป็นประเทศอู่ข้าวอู่น้ำ อยากให้รัฐบาลชี้แจงให้ชัดเจนและควรนำปัญหาของประชาชนให้คิดให้มากกว่านี้”
นางทศสิริกล่าวอีกว่า ใน จ.นนทบุรี ก็เช่นกัน วันนี้ยังไม่มีการมาสอบความความเห็นประชาชนในพื้นที่ว่า ควรจะเตรียมการรับมืออุทกภัยอย่างไร มีเพียงกลุ่มชาวบ้านที่รวมตัวกันเรียกร้องให้ทางจังหวัดช่วยเหลือ ซึ่งก็อยากเรียกร้องให้ จ.นนทบุรี มีมาตรการแก้ปัญหาอุทกภัยที่ชัดเจนและประกาศให้ประชาชนได้ทราบ ไม่ให้เกิดความเสียหายขึ้นอีก
เผย 9 มาตรการแก้ไขน้ำท่วม ของ ยิ่งลักษณ์
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yingluck Shinawatra ซึ่งเปิดเผยถึงนโยบายเชิงปฏิบัติการในการแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง พร้อมทั้งยืนยันว่าเป็นมาตรการที่เห็นผลทันที
โดย นโยบายเชิงปฏิบัติการในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยดังกล่าว ประกอบไปด้วย 9 มาตรการ ดังนี้
- มาตรการที่ 1 ต้องเร่งระบายน้ำท่วมออกทะเลให้หมดโดยเร็วที่สุด
- มาตรการที่ 2 ต้องใช้แรงดันเรือหรือเครื่องในการดันน้ำให้หมดโดยฉับไว
- มาตรการที่ 3 ใช้การบริหารทางเทคนิคด้วยการวัดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มาตรการที่ 4 การช่วยเหลือราษฎร โดยเพิ่มบทบาทให้กองทัพทุกเหล่าทัพมาช่วยเหลือ ราษฎรที่ประสบปัญหาอุทกภัยให้มากยิ่งขึ้น
- มาตรการที่ 5 การให้ข้อมูลข่าวสารกับพี่น้องประชาชนทั่วประเทศตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีความเชื่อมั่นว่า พี่น้องประชาชนทุกคนมีความรักความสามัคคี สามารถนำพาประเทศชาติให้ผ่านพ้นวิกฤติไปได้ด้วยดี
- มาตรการที่ 6 การรักษาเขตตัวเมือง ด้วยการตรวจติดตามสภาพคันกั้นน้ำที่ทำจากดินให้มีสภาพแข็งแรง หากมีสภาพเก่าหรือชำรุดต้องติดตามแก้ไขให้อยู่ในสภาพคงทน สามารถเป็นคันกั้นน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มาตรการที่ 7 กรมชลประทานปฏิบัติการขุดลอกคันกั้นน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมมาตรการดันน้ำลงทะเลอย่างฉับพลันทันที
- มาตรการที่ 8 การริเริ่มโครงการประชาอาสา โดยให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมแรงร่วมใจกัน ใช้เรือของตนเองที่มีอยู่ ในการดันน้ำลงทะเล โดยภาครัฐรับผิดชอบดูแลค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับน้ำมันเรือ
- มาตรการที่ 9 ให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ เมื่อเกิดปัญหาอุทกภัย โดยจังหวัดตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดและมีพี่น้องประชาชนในทุกภาคส่วนของชุมชนและตัวแทนส่วนราชการระดับท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทร่วมกันในการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดผลทางปฏิบัติทันที
ทั้งนี้ ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าช่วงระหว่างเดือนมิ.ย. –ต.ค. พ.ศ.2554 ประเทศไทยเกิดพายุโซนร้อนและมรสุมจำนวนหลายลูกในตอนบนของไทย รวมทั้งเกิดน้ำทะเลหนุนสูง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรงสร้างความเสียหายให้กับสถานที่ต่างๆ และบ้านเรือนประชาชนเป็นจำนวนมาก รวมทั้งที่พักอาศัยของผู้ฟ้อง โดยมีปริมาณน้ำสะสมในเขื่อนต่างๆ อาทิ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนอื่นๆ มากที่สุดในรอบหลายปี
จากนั้นผู้ถูกฟ้องพยายามระบายน้ำในระดับสูงสุดและต่ำสุดให้เหมาะสมแล้ว ขณะเดียวกันระหว่างนั้นประตูระบายน้ำบางโฉมศรีได้พังทลายลงเป็นแห่งแรก และประตูระบายน้ำแห่งอื่นๆ พังทลายลงตามมา ส่งผลให้ปริมาณน้ำจำนวนมหาศาลไหลจากภาคเหนือลงสู่ภาคกลาง รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมต่างๆถูกน้ำท่วมตามไปด้วย โดยระหว่างนั้นผู้ถูกฟ้องดำเนินมาตรการเพื่อป้องกันน้ำไม่ให้เข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศ การวางแนวกระสอบทรายขนาดใหญ่หรือบิ๊กแบ็คเป็นระยะทางยาวตั้งแต่สถานีตำรวจดอนเมืองไปจนถึงประตูระบายน้ำคลอง 2 รวมทั้งการยกระดับถนนสูง 6 เมตร
ขณะที่การวางแนวป้องกันดังกล่าวบริเวณที่พักอาศัยของผู้ฟ้องไม่ได้กระทบโดยตรงซึ่งอยู่ในพื้นที่ อ.นครไชยศรี และ อ.สามพราน เพราะน้ำบริเวณดังกล่าวสามารถไหลลงสู่คลองทวีวัฒนาก่อนที่จะเข้าจังหวัดนครปฐม และไหลลงสู่แม่น้ำท่าจีนได้ จึงเป็นการวางแนวป้องกันน้ำฝั่งตะวันออกและเพื่อป้องกันไม่ให้กระทบพื้นที่ กทม.ชั้นใน และพื้นที่เศรษฐกิจ เพื่อผลประโยชน์โดยรวมของประเทศ มิใช่การเลือกปฏิบัติที่จะป้องกันพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ขณะที่ผู้ถูกฟ้องได้ดำเนินการมาตรการเยียวยาให้กับผู้ได้รับผลกระทบ 5,000 บาทต่อหลังคาเรือนแล้ว รวมทั้งมาตรการเยียวยาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีและคำสั่งอื่นๆ
ดังนั้น การกระทำของผู้ถูกฟ้องจึงยังไม่เป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.420 และไม่เป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายที่กระทำล่าช้าเกินสมควร และไม่มีเหตุต้องชดใช้ค่าเสียหาย จึงพิพากษายกฟ้อง
