เรือยักษ์ติดคลองสุเอซ กลายเป็นข่าวฮือฮา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมาเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก แล่นชนฝั่งและติดค้างกั้นกลาง “คลองสุเอซ” (Suez Canal) หนึ่งในเส้นทางขนส่งสินค้าสายคึกคักที่สุดของโลก ทำให้คลองขุดฝีมือมนุษย์นี้กลายเป็น “คลองตัน” สร้างปัญหาชะงักงันแก่การขนส่งสินค้าทางเรือทั่วโลกมานานหลายวัน กรณี เรือยักษ์ติดคลองคลองสุเอซ กลายเป็นประเด็น “ปลุกให้ตื่น” ว่าด้วยความไม่แน่นอนของห่วงโซ่การขนส่งของโลก ที่เรียกว่า logistics supply chain ที่มีผลกระทบต่อผู้คนทุกประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การระบาดของโควิด-19 สร้างความสั่นสะเทือนเรื่องความเปราะบางต่อระบบ logistics ของโลกมาแล้ว พอเกิดกรณีเรือ Ever Given ซึ่งเป็นเรือสินค้าขนาด 220,000 ตัน “ขวางคลอง” สุเอซ ก็ยิ่งตอกย้ำถึงความเสี่ยงที่คนในโลกไม่เคยคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นได้ เรือลำนี้ออกเดินทางจากท่าเรือหนิงโปทางตะวันออกของจีนเมื่อ 4 มีนาคม และกำหนดถึงปลายทางที่ท่าเรือเมือง Rotterdam ของเนเธอร์แลนด์วันที่ 31 มีนาคม แต่มาเกิดเหตุเกยตื้นเสียก่อนเมื่อวันที่ 24 มีนาคม
สาเหตุ เรือยักษ์ติดคลองสุเอซ
บริษัทเจ้าของเรือในไต้หวัน แถลงว่า เรือ‘Ever Given’ ซึ่งเป็นเรือขนาดใหญ่ ยาว 400 เมตร กว้าง 59 เมตร ขนาดระวางขับน้ำถึง 200,000 ตัน และจดทะเบียนที่ปานามา อาจเจอลมกระโชกแรง เกิดเหตุสูญเสียการควบคุม จนทำให้ เรือยักษ์ติดคลองสุเอซ เมื่อช่วงเวลาประมาณ 07.40 น. ของวันอังคารที่ 23 มี.ค.ที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่น ทำให้การจราจรทางน้ำในคลองสุเอซ ติดขัดอย่างหนัก เรือสินค้านับ 100 ลำ ต้องรอคิวที่จะผ่านคลองสุเอซ

ด้าน ดร.แซล เมอร์โคเกลียโน นักประวัติศาสตร์ทางทะเล ซึ่งอยู่ที่รัฐนอร์ท แคโรไลนา มีความเห็นว่า เหตุการณ์นี้ถือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยาก และเรือ Ever Given ถือเป็นเรือขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยแล่นผ่านคลองสุเอซ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เรือขวางคลอง อาจเป็นเพราะเรือหมดกำลังและความสามารถในการบังคับท้ายเรือ
ผลกระทบจาก เรือยักษ์ขวางคลองสุเอซ
ความล่าช้าทุกนาทีเป็นเงินเป็นทอง ข้อมูลจาก Lloyd’s List ระบุว่า สินค้าที่ตกค้างคิดเป็นความสูญเสียค่าใช้จ่ายวันละ 9,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเกือบ 300,000 ล้านบาท คิดเป็นชั่วโมงละ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ประมาณ 12,000 ล้านบาท เรือบรรทุกสินค้า Ever Given ที่ดำเนินงานโดยบริษัทเดินเรือ Evergreen Marine Corporation ของไต้หวัน ยังคงเกยตื้นขวางการเดินเรือในคลองสุเอซ ของอียิปต์ ส่งผลให้การค้าโลกต้องชะงักมาเป็นวันที่ 6 ท่ามกลางความพยายามในการกู้เรือด้วยวิธีต่างๆ และมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น
เรือบรรทุกสินค้าประมาณ 20,000 ลำ หรือประมาณ 12% ของการค้าขนส่งทั่วโลกใช้เส้นทางผ่านคลองสุเอซ ที่มีระยะทาง 193 กิโลเมตร เชื่อมต่อทะเลเมดิเตอร์เรเนียน กับทะเลแดง เป็นเส้นทางเดินเรือที่ช่วยร่นเวลาในการเดินทางไปมาระหว่างเอเชียกับยุโรป หากไม่ใช้เส้นทางผ่านคลองสุเอซ เรือสินค้าจะต้องไปอ้อมที่แหลมกู๊ดโฮป ทางตอนใต้สุดของทวีปแอฟริกา ซึ่งใช้เวลานานกว่าถึงเกือบ 2 สัปดาห์ ข้อมูลจาก Lloyd’s List ระบุว่า การปิดคลองครั้งนี้ ทำให้มีสินค้าต้องถูกส่งล่าช้าคิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 9,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวัน หรือประมาณเกือบ 300,000 ล้านบาท คิดเป็นชั่วโมงละ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 12,000 ล้านบาท เมื่อเส้นทางการเดินเรือผ่านคลองสุเอซถูกปิดกั้นแบบนี้ จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมปัญหาของระบบขนส่งสินค้าที่มีมาก่อนหน้านี้จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้การเดินทางขนส่งต้องชะงักไป โดยจะเกิดปัญหาต่อการดำเนินงานกิจการท่าเรือหลายแห่งในยุโรป การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์หมุนเวียนในระบบ
บริษัทให้บริการเดินเรือ Leth Agencies ระบุว่า จนถึงช่วงสุดสัปดาห์ มีเรือบรรทุกสินค้ากว่า 300 ลำ มาจอดบริเวณท่าเรือเข้าคลองสุเอซ ท่าเรือ Great Bitter Lake และท่าเรือในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ผลกระทบต่อราคาน้ำมัน
นับตั้งแต่เรือ Ever Given ประสบเหตุเกยตื้นกลางคลองสุเอซ เมื่อวันอังคาร 23 มี.ค. นักลงทุนในตลาดน้ำมันทั่วโลกต่างมีปฏิกิริยารุนแรงต่อข่าวนี้ เนื่องจากประมาณ 10% ของการขนส่งน้ำมันทางทะเล จะใช้เส้นทางผ่านคลองสุเอซ คิดเป็น 1.74 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปริมาณการขนส่งน้ำมันดิบทางเรือทั้งหมด 39.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน

เมื่อวันศุกร์ 26 มี.ค. ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นไปมากกว่า 3 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องมาจากความวิตกกังวลว่าสถานการณ์วิกฤติคลองสุเอซ อาจจะยืดเยื้อไปอีกหลายสัปดาห์ ส่งผลกระทบต่อการขนส่งน้ำมันดิบ น้ำมันกลั่น และส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันดิบ ซาโตรุ โยชิดะ นักวิเคราะห์ด้านสินค้าโภคภัณฑ์แห่งบริษัท ราคุเทน ซีเคียวริตี้ เปิดเผยว่า ตอนนี้ตลาดน้ำมันอยู่ในภาวะฝันร้าย เนื่องจากอุปสงส์ไม่คล่องตัวจากวิกฤติคลองสุเอซ ในขณะที่อุปทานก็ชะลอตัวจากการประกาศล็อกดาวน์ยุโรป
แบกรับความเสี่ยงในการตัดสินใจเปลี่ยนเส้นทาง
ตอนนี้เรือบรรทุกสินค้ากว่า 200 ลำที่จอดรออยู่ มีเพียง 2 ทางเลือก ว่าจะรอต่อไป หรือจะเปลี่ยนเส้นทาง ซึ่งก่อนหน้านี้ JPMorgan เตือนว่า หากสถานการณ์ยิ่งยืดเยื้อไปมากเท่าไหร่ บริษัทขนส่งก็จะยิ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทั้งค่าเช่าเรือขนส่ง และค่าน้ำมันเชื้อเพลิง โดยก่อนหน้านี้เรือ Ever Greet ของ Evergreen Marine ซึ่งเป็นบริษัทเดียวกับ Ever Given ได้ตัดสินใจเปลี่ยนเส้นทางอ้อมไปทางแหลมกู๊ดโฮป ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางเพิ่มขึ้นประมาณ 2 สัปดาห์ และยังเคยเป็นเส้นทางเดินเรือที่อันตราย เนื่องจากมีโจรสลัดปล้นสดมภ์สินค้าออกอาละวาดเป็นประจำ บริเวณนอกชายฝั่งของโซมาเลีย และนอกชายฝั่งอ่าวกินี

บลูมเบิร์กรายงานว่า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (25 มี.ค.) มีเรือบรรทุกสินค้าลำอื่นๆ ติดอยู่ที่คลองสุเอซแล้วถึง 238 ลำ เพิ่มจากวันก่อนหน้าที่มี 186 ลำ และจาก 100 ลำในวันแรกที่เรือ Ever Given เกยตื้น และข้อมูลของนิตยสาร Lloyd’s List ระบุว่าในแต่ละวันมีสินค้ามูลค่ากว่า 9,600 ล้านเหรียญสหรัฐผ่านเส้นทางนี้
อย่างไรก็ดี การประเมินความเสียหายเป็นตัวเลขที่แน่นอนทำได้ยาก เนื่องจากมีสินค้าหลากหลายประเภทผ่านเส้นทางนี้ แต่เอกสารของสำนักวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติสหรัฐ (NBER) ซึ่งจัดทำโดย เดวิด ฮัมเมลส์ และกีออร์ก ชาวเออร์ นักเศรษฐศาสตร์ คาดการณ์ว่าการขนส่งสินค้าล่าช้าในแต่ละวันมีต้นทุนเพิ่มขึ้นระหว่าง 0.6-2.3% ของมูลค่าสินค้าที่อยู่บนเรือลำนั้นๆ
และเมื่อมีเรือกว่า 238 ลำรอให้เคลื่อนย้ายเรือ Ever Given ออกจากทางสัญจร ต้นทุนต่างๆ ย่อมเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวในแต่ละวัน ที่น่ากังวลก็คือ การเคลื่อนย้ายเรือ Ever Given น่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายวันหรืออาจเป็นสัปดาห์จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้เรือ