Skip to content
Home » News » เรือเอเวอร์กิฟเวนเป็นอิสระ

เรือเอเวอร์กิฟเวนเป็นอิสระ

เรือเอเวอร์กิฟเวนเป็นอิสระ แล้ว เรียกเงินค่าชดเชย1พันล้านดอลลาร์

แล้วทางการอียิปต์ เผยอาจเรียกค่าชดเชยเป็นเงิน 1 พันล้านดอลลาร์ หรือ 3 หมื่นล้านบาท จากเหตุเรือเอเวอร์ กิฟเว่น (Ever Given) เกยตื้นขวางคลองสุเอซ ซึ่งหากไม่ได้รับการตอบสนอง ก็อาจไม่ปล่อยเรือออกจากน่านน้ำ

โอซาน ราบี (Osama Rabie ) ผู้อำนวยการสำนักงานคลองสุเอซ ระบุว่า ตัวเลขค่าชดเชย 1 พันล้านดอลลาร์ มาจากรายได้ค่าธรรมเนียที่สูญเสียไปวันละ 14 ล้านดอลลาร์ หรือ 420 ล้านบาท ตลอด 6 วัน ที่เรือเอเวอร์ กิฟเว่นเกยตื้น ค่าจ้างคนงานพร้อมอุปกรณ์ที่ใช้ในการกู้เรือ และความเสียหายที่เกิดจากการขุดลอก โดยอียิปต์มีสิทธิ์เรียกร้องค่าชดเชย และ เหตุการณ์นี้ทำให้ประเทศเสื่อมเสียชื่อเสียง โดยเชื่อว่าจะได้ข้อตกลงภายใน 2-3 วันนี้ แต่หากไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ ก็อาจจะไม่อนุญาตให้เรือเอเวอร์กิฟเว่น แล่นออกจากทะเลสาบเกรท บิทเตอร์ เลก  (Great Bitter Lake ) ซึ่งเป็นจุดพักเรือลำดังกล่าวระหว่างการตรวจสอบและซ่อมบำรุง

เรือเอเวอร์กิฟเวนเป็นอิสระ
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/144830

เจ้าของเรือต่อรองค่าปรับ หลังถูกเรียกค่าไถ่ 2.79 หมื่นล้าน

บริษัทญี่ปุ่นซึ่งเป็นเจ้าของเรือเอเวอร์ กิฟเวน ที่ประสบอุบัติเหตุขวางคลองสุเอซ เส้นทางขนส่งทางเรือที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เจรจาต่อรองค่าปรับกับทางการอียิปต์ที่ยึดเรือลำดังกล่าวเอาไว้ และต้องการให้มีการนำเงิน 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 27,900 ล้านบาท มาจ่ายเพื่อแลกกับการนำเรือลำดังกล่าวคืนไป

เรือเอเวอร์ กิฟเวน ประสบอุบัติเหตุหลังเกิดพายุทะเลทราย ทำให้เรือจอดขวางช่องทางเดินเรือในคลองสุเอซ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม และใช้เวลาถึง 6 วันจึงประสบความสำเร็จในการเคลื่อนย้ายเรือออกจากจุดดังกล่าวได้ แต่ก็สร้างความเสียหายอย่างมากกับการเดินเรือขนส่งสินค้า

เรือเอเวอร์กิฟเวนเป็นอิสระ

หลังจากที่กักเรือยักษ์ที่ขวางคลองสุเอซ ลำนี้ไว้นานกว่า 100 วัน เนื่องจากยังตกลงเรื่องค่าชดเชยกับเจ้าของเรือไม่ได้ล่าสุดเตรียมปล่อย เรือเอเวอร์กิฟเวนเป็นอิสระ แล้ว หลังจากที่สำนักงานบริหารคลองสุเอซได้ดำเนินการตามหมายศาลยึด เรือเอฟเวอร์ กิฟเวน เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ที่ประสบเหตุเกยตื้นจนขวางคลองสุเอซ เมื่อ 23 มีนาคม ที่ผ่านมา รวมเป็นเวลานานกว่า 100 วัน ล่าสุด ทางการอียิปต์ประกาศจะปล่อย เรือเอเวอร์กิฟเวนเป็นอิสระ แล้วในวันพุธนี้ตามเวลาในท้องถิ่น โดยจะมีพิธีลงนามปล่อยเรืออย่างเป็นทางการ หลังจากสามารถตกลงเรื่องค่าชดเชยกับ บริษัท โชเอะ คิเซ็น ไคฉะ บริษัทญี่ปุ่น ที่เป็นเจ้าของเรือลำนี้ได้ แต่ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียด ว่ามีการตกลงค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนเท่าใด จากเดิมที่ทางอียิปต์เคยเรียกร้องไว้ที่ 916 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 29,700 ล้านบาท และมีการลดจำนวนเงินลงในภายหลังอยู่ที่ราว 550 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯหรือราว 17,700 ล้านบาท แต่ทั้งสองฝ่ายก็ยังไม่สามารถตกลงกันได้

https://www.thairath.co.th/news/foreign/2134617

ล่าสุด บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นเจ้าของเรือ ได้ลงนามสัญญาข้อตกลงกับองค์การฯ เสร็จสิ้นหลังเจรจาอย่างยากลำบาก โดยไม่เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนเงินชดเชย โดยเรือได้เดินทางสู่เมืองรอตเทอร์ดาม ของเนเธอร์แลนด์และเมืองเฟลิกซ์สโตว์ ของสหราชอาณาจักร

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม อียิปต์ ยื่นข้อเสนอลดเงินชดเชยที่เรียกร้องจาก 916 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 2.97 หมื่นล้านบาท เหลือ 550 ล้านดอลลาร์ หรือราว 1.79 หมื่นล้านบาท

บทเรียนเรือเอเวอร์กิฟเวน

จะด้วยเหตุผลของกระแสลมที่พัดรุนแรง หรือความผิดพลาดทางเทคนิคหรือความผิดพลาดของมนุษย์ ที่ทำให้ เรือเอเวอร์ กิฟเวน (Ever Given) ที่ขนตู้คอนเทนเนอร์กว่า 24,000 ตู้ บรรทุกน้ำหนักสินค้าได้ถึง 219,079 ตัน ติดคาช่องแคบของคลองสุเอซ (Suez Canal) เป็นเวลา 7 วัน คลองสุเอซ เป็นคลองที่มนุษย์ขุดขึ้นในประเทศอียิปต์ เชื่อมระหว่างท่าเรือซาอิด ฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเมืองสุเอซ (Suez) บนฝั่งทะเลแดง เป็นประตูสำหรับการลำเลียงสินค้าระหว่างยุโรปกับเอเชีย ขนาดความยาวของคลอง 193 กิโลเมตร  กว้าง 300-350 เมตร และมีความลึกประมาณ 19.5 – 20.1 เมตร การเดินเรือตั้งแต่ต้นคลองจนถึงจุดสิ้นสุดคลอง ใช้เวลาประมาณ 11-16 ชม. 

https://www.google.com/url?sa=i&url=https%3A%2F%2Fwww.bangkokbiznews.com%2Fnews%2Fdetail%2F929713&psig=AOvVaw1LxEdTclxaJ6zaNmjjfCBX&ust=1627227117301000&source=images&cd=vfe&ved=0CAsQjRxqFwoTCMj_tciD_PECFQAAAAAdAAAAABAN

คลองสุเอซนี้ ช่วยย่นระยะเวลาในการเดินทางขนส่งสินค้าทางเรือประมาณ  และช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2412 หากใช้เส้นทางอ้อมไปทางแหลมกู๊ดโฮป ทวีปแอฟริกา จะมีระยะทางเพิ่มประมาณ 8,900 กิโลเมตร ก็ต้องใช้ระยะเวลาเดินเรือเพิ่มขึ้นประมาณ 13 – 15 วัน ที่สำคัญเป็นเส้นทางอันตรายที่อาจจะเกิดการถูกปล้นจาก โจรสลัด บริเวณนอกชายฝั่งของโซมาเลีย และนอกชายฝั่งอ่าวกินี ด้วย 90% ของการค้าโลกเป็นการขนส่งทางทะเล เนื่องจากเป็นต้นทุนการขนส่งที่ต่ำและสามารถขนส่งสินค้าได้จำนวนมาก ซึ่งในส่วนของการขนส่งสินค้าทางเรือเดิน เข้า ออก คลองสุเอซ ประมาณ 25,000 ลำ แต่ในปี 2562 ก่อนเกิดปัญหาโควิด – 19 มีเรือสัญจรผ่านคลองสุเอซมากกว่า 19,000 ลำ คิดเป็นน้ำหนักสินค้าเกือบ 1.25 พันล้านตัน หรือประมาณ 13% ของการค้าโลก ดังนั้นการที่มีเรือขวางคลองสุเอซ ทำให้การขนส่งทางเรือย่อมมีปัญหา 

จากเหตุการณ์ครั้งนี้ประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นแบบคร่าว ๆ 80,000 – 100,000 ล้านดอลลาร์ ไม่นับรวมเรือขนส่งสินค้าจำนวน 400  กว่าลำ ที่จอดเรือลอยลำเข้าคิว เพื่อผ่านคลองดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าระหว่างเอเชียกับยุโรปอย่างมาก ไม่นับรวมความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินเป็นเม็ดเงินได้ 2-3 วันแรกที่มีการนำเสนอข่าวเรือเอเวอร์ กิฟเวนเกยตื้น ปรากฏว่า ราคาน้ำมันดิบทั่วโลกทะยานขึ้นกว่า 6%  เนื่องจากในจำนวนเรือที่ตกค้างลอยลำอยู่มีเรือบรรทุกน้ำมันดิบ 10 ลำ ที่บรรทุกน้ำมัน 13 ล้านบาร์เรลรวมอยู่ด้วย 

นอกจากนั้น ยังมีเรือขนส่ง 16 ลำที่ลำเลียงสัตว์มีชีวิตจากอียู โดยสัตว์ 130,000 จาก 200,000 ตัว มาจากประเทศโรมาเนีย ปกติคามกฎหมายอขง อียู กำหนดว่าเรือที่บรรทุกสัตว์มีชีวิตต้องบรรทุกอาหารสำรองอย่างน้อยเพิ่มอีก 25% สำหรับความล่าช้าในการขนส่ง ซึ่งปกติจะไม่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น คาดว่าสัตว์มีชีวิตบนเรืออาจขาดน้ำ และอาหาร จนเสียชีวิตก่อนถึงจุดหมาย 

เรือขนส่งทางทะเลจำนวน 400 กว่าลำ อาจต้องใช้เวลาประมาณ 3 วันในการระบายเรือให้หมดจากการเข้าคิวรอที่คลองสุเอซ 

ยังมีค่าใช้จ่ายในการช่วยเรือเอเวอร์ กิฟเวน ให้หลุดจากการเกยตื้อ กลับมาลอยลำได้อีกครั้ง เช่น การขุดทราย 27,000 ลูกบาศก์เมตรบริเวณริมคลองสุเอซที่ติดกับตัวเรือออก การย้ายตู้สินค้าออกจากเรือเพื่อลดน้ำหนักของเรือเอเวอร์กิฟเวน รวมทั้งเรือลากจูงของบริษัท Bernhard Schulte Shipmanagement (BSM)

ประเทศไทย เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการส่งสินค้าไปบนเรือสินค้าที่ลอยลำ เพื่อผ่านคลองสุเอซ เช่นกัน ซึ่งสินค้าอาจจะเกิดความเสียหาย เน่าเสีย โดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตร  เช่น ปลาหมึกแช่แข็ง อาหารปรุงแต่ง กุ้งแปรรูป กุ้งแช่แข็ง เนื้อไก่และพืชผัก ผลไม้ ลูกนัทปรุงแต่ง  แม้จะมีตู้คอนเทนเนอร์ที่เรียกว่า Refrigerator คือ ตู้สินค้าประเภทที่มีเครื่องปรับอากาศ มีการปรับอุณหภูมิในตู้ได้ สามารถปรับอุณหภูมิได้อย่างน้อย –18 องศาเซลเซียส ก็ตาม

กรณีของตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งก่อนหน้านี้ประสบปัญหาขาดแคลน ต้องใช้การหมุนเวียนตู้คอนแทนเนอร์กลับมาใช้หลังจากอันโหลดสินค้าเสร็จแล้ว แต่เมื่อเกิดการติดขัดของการจราจรทางเรือ ตู้คอนเทนเนอร์จำนวนมากที่ยังคงอยู่บนเรือที่เข้าคิวรอคอย รวมทั้งค่าระวางเรือที่เพิ่มสูงขึ้น จากเดิมที่จัดเก็บ 4,000 ดอลล่าร์ จะเพิ่มขึ้นเป็น 5,000 ดอลล่าร์ หรือมากกว่าสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุต จะเห็นว่าจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้ทราบว่า ระบบโลจิสติกส์ทางเรือ มีความสำคัญอย่างยิ่ง แม้ประเทศอียิปต์ยมีโครงการขุดขยายคลองสุเอซให้กว้างขึ้นอีก 2 เท่าภายในปี 2566 เพื่อให้รองรับเรือเพิ่มเป็นประมาณ 100 ลำต่อวัน แต่ควรหามาตรการแก้ปัญหาได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว จะได้สร้างผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทางการค้าโลกได้น้อยลง