Skip to content
Home » News » เศรษฐกิจ ยุค 1987 ของเกาหลีใต้

เศรษฐกิจ ยุค 1987 ของเกาหลีใต้

เศรษฐกิจ ยุค 1987 ของเกาหลีใต้
http://polsci.tu.ac.th/direk/view.aspx?id=482&fbclid=IwAR21khdcVUYfCDT-ov36DuvX18ZtSlROTWeZx7ZJ9VDSojkl0eJ24xSYYCI

เศรษฐกิจ ยุค 1987 ของเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาและเติบโตทางเศรษฐกิจนำไปสู่การขยายตัวของภาคแรงงานและชนชั้นกลางอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และทั้งสองกลุ่มจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในปี ค.ศ. 1987

งานศึกษาของ Jongryn Mo และ Barry M. Weingast (2013) เสนอมุมมองการเปลี่ยนผ่านของเกาหลีใต้จากระบอบอำนาจนิยมไปสู่ระบอบประชาธิปไตยไว้อย่างน่าสนใจ พวกเขาเสนอหลักสองสมดุล (Double Balance) ว่าด้วยความสมดุลระหว่างการเปิดเสรีทางการเมืองและการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ

ซึ่งหากด้านใดด้านหนึ่งพัฒนารุดหน้ามากกว่าอีกด้านจะนำไปสู่อสมดุล ซึ่งจะทำให้เกิดความพยายามที่จะสร้างสมดุลจากด้านที่พัฒนาน้อยกว่า สิ่งสำคัญคือต้องคงไว้ซึ่งความสมดุลของทั้งสองด้าน ซึ่งในกรณีเกาหลีใต้นั้นเกิดสภาวะที่มีการเปิดเสรีทางด้านเศรษฐกิจ แต่ไม่มีการเปิดเสรีทางการเมือง

นอกจากนี้ การทำให้ประเทศเปลี่ยนจากเกษตรกรรมไปสู่อุตสาหกรรมระดับสูงนั้น ส่งผลให้โครงสร้างเศรษฐกิจไม่สอดคล้องกับระบอบอำนาจนิยมใน 4 ประการด้วยกัน คือ การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ การสร้างผลประโยชน์สาธารณะ การลดบทบาทของรัฐในการควบคุมเศรษฐกิจ และสิทธิการครอบครองทรัพย์สินที่มั่นคงปลอดภัย ความอสมดุลนี้ทำให้เกิดแรงกดดันต่อการเปิดเสรีทางการเมืองซึ่งทำให้รัฐบาลอำนาจนิยมต้องสูญสิ้นอำนาจในท้ายที่สุด

ในขณะที่ทฤษฎีการพัฒนาให้ทันสมัยของ Seymour Martin Lipset (1959) ที่เสนอว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะนำไปสู่การเติบโตของชนชั้นกลาง ชนชั้นกลางจะเรียกร้องให้เกิดสิทธิขั้นพื้นฐานของปัจเจกและการเปิดเสรีทางการเมือง อันส่งผลให้ผลประโยชน์สาธารณะเพิ่มพูนขึ้น และจะทำให้ประเทศกลายเป็นประชาธิปไตย

สอดคล้องกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยของเกาหลีใต้ ซึ่งมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 9 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962 ถึง 1987 ทำให้เกิดการขยายตัวของชนชั้นกลางและความไม่พอใจต่อระบอบอำนาจนิยม Mo และ Weingast (2013: 109) ยังเสนออีกว่า การสนับสนุนประชาธิปไตยของชนชั้นกลางนั้นเป็นมากกว่าการสนับสนุนทางศีลธรรม (Moral Support)

ชนชั้นกลางเกาหลีใต้ร่วมเคลื่อนไหวบนท้องถนนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในปี ค.ศ. 1987 และการกระทำนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนในเกมการต่อรองอำนาจระหว่างรัฐบาลเผด็จการกับฝ่ายประชาธิปไตย

กระนั้น การเคลื่อนไหวเรียกร้องและขับเคลื่อนประชาธิปไตยไม่ได้มีเพียงชนชั้นกลางเท่านั้น แต่ยังมีแนวร่วมที่ประกอบด้วยตัวแสดงทางสังคมกลุ่มอื่นๆ อย่าง ขบวนการแรงงาน นักเรียน นักศึกษา ชาวนา กลุ่มผู้มีรายได้น้อยในเขตเมือง และกลุ่มศาสนา ที่มีบทบาทสำคัญไม่แพ้กัน รวมถึงตัวแสดงภายนอกอย่างสหรัฐอเมริกาที่มีส่วนทำให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในปี ค.ศ. 1987 ประสบผลสำเร็จ

Jennifer S. Oh (2017) เสนอว่า การเปลี่ยนผ่านในปี ค.ศ. 1987 ประสบความสำเร็จเพราะเกิดจุดร่วมจากทั้งฝ่ายประธานาธิบดีช็อน ดู ฮวาน (Chun Doo-hwan) และพรรครัฐบาล กับฝ่ายประชาธิปไตย ทั้งยังเกิดความไม่ลงรอยกันในหมู่ชนชั้นปกครอง ทำให้พวกเขาไม่สามารถสร้างฉันทามติที่แข็งแกร่งพอที่จะไปขัดขวางการเปลี่ยนแปลงได้

Oh บอกว่า มีเหตุผล 4 ประการที่ทำให้ประธานาธิบดีช็อน ดู ฮวาน เห็นด้วยกับการยอมปรับเปลี่ยนระบอบการปกครองของประเทศให้เข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตย

  • ประการแรก คือ เกิดความแตกแยกในพรรครัฐบาลระหว่างกลุ่มที่มีความคิดและท่าทีแข็งกร้าว (hardliner) กลุ่มที่มีท่าทีประนีประนอม (softliner) และกลุ่มที่เป็นกลาง นักการเมืองในกลุ่ม hardliner เป็นกลุ่มทหารและกลุ่มผู้สนับสนุนช็อน ดู ฮวาน ซึ่งต้องการระบบการเมืองแบบรัฐสภาซึ่งจะอนุญาตให้ช็อน ดู ฮวาน เป็นประธานาธิบดีเชิงสัญลักษณ์ และ โน แท อู (Roh Tae-woo) เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่นักการเมืองกลุ่ม softliner ต้องการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนผ่านกับพรรคฝ่ายค้าน ทั้งยังเชื่อว่าพรรครัฐบาลมีโอกาสชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง เพราะการเลือกตั้งโดยตรงนี้จะนำพาความแตกแยกไปสู่กลุ่มฝ่ายค้าน ส่วนกลุ่มนักการเมืองที่เป็นกลางนั้นมีแนวคิดใกล้กับกลุ่ม hardliner แต่ไม่เห็นด้วยกับการใช้กำลัง โน แท อู อยู่ในกลุ่มนี้ โดยโน แท อู ต้องการได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีโดยไม่ใช้การเลือกตั้งทางตรง แต่ก็ต่อต้านการใช้กำลังทหารกับฝ่ายประชาธิปไตย
  • ประการที่สอง คือ ในปี ค.ศ. 1987 การใช้กำลังทหารไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีอีกต่อไป เนื่องจากกองทัพไม่ต้องการใช้กำลังเข้าปราบปรามฝ่ายประชาธิปไตยเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงอย่างการสังหารหมู่ที่ควังจู (Gwangju Massacre) อีก ฝ่ายตำรวจก็ตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับกองทัพ คือ ไม่ต้องการใช้กำลังบังคับเพื่อหยุดยั้งการเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตย
  • ประการที่สาม คือ สภาพเศรษฐกิจของประเทศกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น ทำให้นักการเมืองกลุ่ม softliner เสนอว่า พรรคมีโอกาสรักษาอำนาจไว้ได้แม้ว่าจะอยู่ในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งข้อเสนอนี้ได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้องจากการที่ โน แท อู จากพรรครัฐบาลชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศ
  • ประการสุดท้าย คือ มหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่กำลังจะจัดขึ้นในกรุงโซล ในปี ค.ศ. 1988 ทำให้ ช็อน ดู ฮวาน และรัฐบาลไม่กล้าเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความไม่มั่นคงภายในและภาพลักษณ์ไม่ดีต่อนานาชาติ

เศรษฐกิจ ยุค 1987 ของเกาหลีใต้ ในปี ค.ศ. 1987 กลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยและกลุ่มเป็นกลางเป็นฝ่ายแข็งแกร่งกว่ารัฐบาล เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นกลาง ในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย หนึ่ง ชนชั้นกลางที่อยู่ในกลุ่มเป็นกลางและไม่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่คุกคามและกระทบผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของกลุ่ม สอง สื่อและชนชั้นนำทางเศรษฐกิจ

ต่อต้านระบอบอำนาจนิยม แต่ไม่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือที่จะส่งผลให้อภิสิทธิ์ที่ตนมีถูกลดทอนลงไป สาม สหรัฐอเมริกา สนับสนุนให้เกิดระบอบประชาธิปไตยตราบเท่าที่เสถียรภาพภายในเกาหลีไม่ถูกคุกคาม ตัวแทนของสหรัฐฯ เข้าพบเหล่าผู้นำของพรรคฝ่ายค้าน และแสดงจุดยืนชัดเจนว่า สหรัฐฯ

จะต่อต้านการใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซงการเมือง สี่ กลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยที่เกิดการแบ่งแยกภายในกลุ่ม ระหว่าง กลุ่มพรรคการเมืองที่เป็นกลาง นำโดย กลุ่ม 3 คิม คือ คิม แด จุง (Kim Dae-jung) คิม ยอง ซัม (Kim Young-sam) และ คิม จง พิล (Kim Jong-pil) ซึ่งแต่ละคนมีเป้าหมาย คือ ชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดี และกลุ่มต่อต้านรัฐบาลหัวรุนแรง เช่น กลุ่มนักศึกษา กลุ่มแรงงาน และกลุ่มศาสนา

และวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1987 การเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องของฝ่ายประชาธิปไตย ก็เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก พร้อมๆ กับการเข้าสู่สาธารณรัฐที่ 6 ของเกาหลีใต้ โน แท อู ชนะการเลือกตั้งหลังจากขับเคี่ยวอย่างดุเดือดกับผู้สมัครจากกลุ่ม 3 คิม และเป็นประธานาธิบดีคนแรกของเกาหลีใต้ที่มาโดยวิธีการเลือกตั้งโดยตรง

ผลคือระบบการเมืองเกาหลีใต้เปลี่ยนจากระบบรัฐสภาเป็นระบบกึ่งประธานาธิบดี กึ่งรัฐสภา โดยให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงทุกๆ 5 ปี และเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกๆ 4 ปี ข้อกำหนดนี้ทำให้ประธานาธิบดีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหมดวาระไม่พร้อมกัน แต่ก็ทำให้คณะรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร) ไม่ได้มาจากสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ)

ทำให้ฝ่ายบริหารไม่ต้องตอบแทนพรรคด้วยการให้ตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี แม้ฝ่ายบริหารและเสียงส่วนใหญ่จากฝ่ายนิติบัญญัติจะมาจากพรรคเดียวกันก็ตาม แต่ระบบนี้อาจทำให้เกิดภาวะความยากลำบากในการบริหาร เมื่อประธานาธิบดีกับเสียงข้างมากในสภามาจากคนละพรรค

วันที่ในข่าวนี้ 1 มกราคม 1987 วันที่ประมาณการ