Skip to content
Home » News » เหตุการณ์จลาจล

เหตุการณ์จลาจล

เหตุการณ์จลาจล
https://www.thairath.co.th/scoop/1951725

เหตุการณ์จลาจล การเดินขบวนครั้งใหญ่จึงเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ออกไปตามถนนราชดำเนิน สู่ลานพระบรมรูปทรงม้า มีแกนนำเป็นนักศึกษาและมีประชาชนเข้าร่วมด้วยหลายแสนคน (เชื่อว่ามากกว่า 400,000 คน) เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุม รัฐบาลรีบตกลงรับข้อเรียกร้องและสัญญาว่ารัฐธรรมนูญฉบับถาวรจะแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2515 ผู้ชุมนุมบางส่วนยอมสลายตัว แต่มีนักศึกษาราว 200,000 คนปฏิเสธไม่ยอมสลายตัว และผู้นำคือ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ตัดสินใจพาผู้ชุมนุมไปพระบรมมหาราชวังเพื่อขอเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

เหตุการณ์จลาจล วันนั้น มีนักเรียนนิสิตนักศึกษาและประชาชนเข้าร่วมเดินขบวนถึงกว่า 5 แสนคน และมีการถ่ายทอดออกโทรทัศน์ทางช่อง 4 และช่อง 7 การจัดรูปขบวนของนักเรียนนิสิตนักศึกษาในวันนั้นจัดเป็นแถวรูปหน้ากระดาน 5 ขบวนอย่างเป็นระเบียบ พร้อมด้วยสัญลักษณ์ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

ที่นํามาใช้ในการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ และมีขบวนรถบรรทุกขนาดเล็กจํานวน 13 คัน ที่มี ศูนย์กลางอยู่ที่รถบัญชาการ ตามมาด้วยรถพยาบาล รถสวัสดิการ รถเสบียง รถพัสดุแสงเสียงและไฟฟ้า และรถระวังหลัง

การเดินขบวนครั้งยิ่งใหญ่นี้มีการเตรียมการป้องกันรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ทั้งนี้เพราะกระแสข่าวว่า อาจจะมีการปราบปรามจากทหารและตํารวจ เหตุการณ์จลาจล เล็ดลอดออกมาเป็นระยะ ๆ ดังนั้น นักเรียนอาชีวะที่ประกอบกันเข้าเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยจึงกระจายออกเป็นถึง 10 หน่วยด้วยกัน คือ หน่วย คอมมานโด หน่วยหมี หน่วยเฟืองป่า หน่วยฟันเฟือง หน่วยเซฟ หน่วยกนก 50 หน่วยวิษณุ หน่วยช้าง หน่วยเสือเหลือง และหน่วยจ๊อด

วันนั้นตลอดวันของเสาร์ที่ 13 ตุลาคม ในขณะที่การเดินขบวนคลาคล่ำถนนราชดําเนิน ตัวแทนของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ ได้เข้าพบเจรจาขั้นสุดท้ายกับจอมพลประภาส จารุเสถียร เมื่อได้รับคําตอบว่าจะปล่อยผู้ต้องหาทั้ง 13 คน และจะร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 1 ปี จากนั้นตัวแทนของศูนย์ก็ได้เข้า เฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเวลา 16.20-17.20 น.

วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยประกาศว่า รัฐบาลยอมรับข้อเสนอของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ ยอมปล่อยผู้ต้องหา และจะประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ในปีต่อไป ตัวแทนของนิสิตนักศึกษาและผู้แทนพระองค์พยายามดําเนินการให้มีการสลายตัวของฝูงชนที่ยังคงชุมนุมอยู่เป็นเรือนแสน บรรยากาศ ทั่วไปเต็มไปด้วยปัญหาการติดต่อประสานงาน

ความตึงเครียด และข่าวลือต่าง ๆ นานาในทางร้ายต่อผู้นํานิสิตนักศึกษา กรมประชาสัมพันธ์ออกแถลงการณ์ว่า “ได้มีนักเรียนหรือบุคคลกลุ่มหนึ่ง เตรียมการที่จะใช้อาวุธร้ายแรงต่าง ๆ ในวันที่ 13 ตุลาคม 2516” และเมื่อ 22.00 น. ก็มีแถลงการณ์อีกว่า “บัดนี้ ปรากฏว่าได้มีบุคคลบางคนที่มิใช่นักศึกษา ถือโอกาสอภิปรายโจมตีรัฐบาลและยุยงส่งเสริมให้เกิดความวุ่นวายต่อไป”

วันที่ 14 ตุลาคม นักศึกษาเคลื่อนขบวนถึงพระบรมมหาราชวังและพบกับผู้แทนพระองค์ ซึ่งถ่ายทอดพระราชกระแสขอให้นักศึกษาสลายตัว ซึ่งนักศึกษายินยอม ฝ่ายรองผู้บัญชาการตำรวจสั่งให้ตั้งสิ่งกีดขวางเพื่อให้นักศึกษาออกได้ทางเดียว ทำให้นักศึกษาที่มีจำนวนมากออกจากพื้นที่ได้ลำบาก

ทั้งนี้ ไม่ทราบรายละเอียดแน่ชัดว่าความรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อใด แต่ในช่วงเช้าตรู่ เกิดระเบิดขึ้นแถวพระบรมมหาราชวังและตำรวจเริ่มต้นปราบปรามนักศึกษาอย่างรุนแรง ต่อมาในช่วงสาย เกิดเหตุทำลายทรัพย์สินและความรุนแรงเมื่อสถานการณ์บานปลาย รัฐบาลระดมรถถัง เฮลิคอปเตอร์และทหารราบเพื่อช่วยตำรวจ

มีผู้เสียชีวิต 77 คน และได้รับบาดเจ็บ 857 คน และอาคารหลายหลังใกล้กับถนนราชดำเนินถูกวางเพลิง รวมทั้งกรมประชาสัมพันธ์ กรมสรรพากร โรงแรมรัตนโกสินทร์ กองสลากกินแบ่งรัฐบาล กองตำรวจนครบาลผ่านฟ้า

จำนวนผู้ประท้วงเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 500,000 คนอย่างรวดเร็วเมื่อผู้เห็นใจฝ่ายนักศึกษาเข้ามาช่วย สุดท้ายทหารถอนกำลังออกในเวลาเย็น ต่อมาเวลา 19.15 น. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยประกาศว่า จอมพล ถนอม กิตติขจร ขอลาออกจากตำแหน่งแล้ว

และมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งสัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่เหตุการณ์ยังไม่สงบ กลุ่มทหารเปิดฉากยิงปืนเข้าใส่นักศึกษาและประชาชนอีกครั้ง หลังจากพระราชดำรัสทางโทรทัศน์เพียงหนึ่งชั่วโมง นักศึกษาพยายามพุ่งรถบัสที่ไม่มีคนขับ เข้าใส่กองบัญชาการตำรวจนครบาล

โดยผู้ชุมนุมนับพันยังไม่วางใจในสถานการณ์ จึงประกาศท้าทายกฎอัยการศึก ในเวลา 22:00 นาฬิกา และประกาศว่าจะปักหลักชุมนุม ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตลอดทั้งคืน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้ถูกหลอกอีกครั้ง

เหตุการณ์ 14 ตุลา หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์การก่อการกำเริบโดยประชาชนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เป็นเหตุการณ์ที่มีนักศึกษาและประชาชนมากกว่า 5 แสนคนชุมนุมเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการจอมพลถนอม กิตติขจร นำไปสู่คำสั่งของรัฐบาลให้ใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม ระหว่างวันที่ 14 ถึง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก

ในเวลาหัวค่ำของวันที่ 15 ตุลาคม ได้มีประกาศว่าจอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร เดินทางออกนอกประเทศแล้ว เหตุการณ์จึงค่อยสงบลง และวันที่ 16 ตุลาคม 2516 ผู้ชุมนุมและประชาชน ต่างพากันช่วยทำความสะอาด พื้นถนนและสถานที่ต่างๆ ซึ่งได้รับความเสียหาย