เหตุการณ์รัฐประหาร
ถือเป็น “จุดเปลี่ยนสำคัญของการเมืองไทย” หลังเกิดวิกฤตทางการเมืองที่ไม่มีคาดคิด ว่าในรอบ15 ปี ประเทศไทยจะเกิดรัฐประหาร การยึดอำนาจคืนจากรัฐบาลอีกครั้ง ในขณะนั้นนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ผจญปัญหาทางการเมืองที่ยืดเยื้อมาอย่างยาวนาน หลายปัญหาถาโถม ซึ่งถ้าไล่ลำดับเหตุการณ์ก่อนวันที่19 ก.ย. มีการชุมนุมประท้วง การบริหารประเทศของ นายทักษิณ จนหลายฝ่ายกังวลและเป็นห่วง ว่าจะนำไปสู่ความรุนแรง จนกระทั่งเกิด เหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. 2549
โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะ โค่นรักษาการนายกรัฐมนตรี ดร. ทักษิณ ชินวัตร นับเป็นรัฐประหารในรอบ 15 ปี รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในเดือนต่อมา หลังจากการเลือกตั้งทั่วไปที่มีกำหนดจัดในเดือนเมษายนถูกสั่งให้เป็นโมฆะ นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมานับแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2548 คณะรัฐประหารยกเลิกการเลือกตั้งซึ่งกำหนดจัดในเดือนตุลาคม ยกเลิกรัฐธรรมนูญ สั่งยุบรัฐสภา สั่งห้ามการประท้วงและกิจกรรมทางการเมือง ยับยั้งและตรวจพิจารณาสื่อ ประกาศใช้กฎอัยการศึก และจับกุมสมาชิกคณะรัฐมนตรีหลายคน

สถานการณ์การเมืองในปีดังกล่าวยังคงเต็มไปด้วยบรรยากาศของความขัดแย้ง จนกระทั่ง วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เกิดกรณีคาร์บอมบ์ที่เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงฝ่ายรัฐบาล หลังมีรถคันหนึ่ง ซึ่งขนวัตถุระเบิดกว่า 67 กิโลกรัม ถูกนำมาจอดไว้บริเวณใกล้ๆกับบ้านพักของ นายทักษิณ ย่านจรัญสนิทวงศ์ จากการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจพบว่า รถคันดังกล่าวที่พูดถึง ได้ออกจากสำนักงานใหญ่ของ กอ.รมน. เมื่อเช้าของวันเดียวกัน แต่พล.อพัลลภ ปิ่นมณี รักษาการ ผอ.ในขณะนั้น ปฏิเสธความเกี่ยวข้องทุกกรณี พร้อมกล่าวด้วยว่า “ถ้าผมทำ นายกฯ หนีไม่พ้นผมหรอก…”
ท่าทีต่อกรณีนี้จากกลุ่มต่อต้านมองว่า เป็นแผนสมคบคิดของรัฐบาล ภายหลัง ร.ต.ท.ธวัชชัย ถูกจับกุมตัว และ พล.อ.พัลลภ ถูกปลดออกจากตำแหน่งทันที ซึ่งต่อมาได้มีการจับกุมนายทหารเพิ่ม 5 นาย เนื่องจากสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องแต่นายทหาร 3 นาย รวมทั้ง ร.ต.ท.ธวัชชัย ถูกปล่อยตัว ภายหลังเกิดการรัฐประหารในเดือนกันยายน
เช้าของวันที่ 19 กันยายน 2549 มีคำสั่งจาก นายทักษิณ เรียกผู้นำเหล่าทัพทุกคนเข้าประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล ปรากฏเหตุไม่คาดคิดเมื่อผู้นำเหล่าทัพทุกคนไม่มีคนไหนเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ยกเว้น พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน แถลงสาเหตุเมื่อวันที่ 21 กันยายน และให้คำมั่นว่าจะฟื้นฟูรัฐบาลระบอบประชาธิปไตยภายในหนึ่งปี อย่างไรก็ตาม คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขประกาศว่า หลังจากการเลือกตั้งและการตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยแล้ว คณะปฏิรูปการปกครองจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปแบบของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งยังไม่มีการอธิบายบทบาทที่มีต่อการเมืองไทยในอนาคต
หลังรัฐประหาร คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว พระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมานถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้แต่งตั้งพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ต่อมาวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกใน 41 จังหวัด แต่ยังคงไว้ 35 จังหวัด
รัฐประหารดังกล่าวไม่มีการเสียเลือดเนื้อและไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ ปฏิกิริยาตอบรับจากนานาชาติมีตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์ในหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย การแสดงความความเป็นกลาง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ไปจนการแสดงความผิดหวังอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นพันธมิตรนอกนาโต และว่า รัฐประหาร “ไม่มีเหตุผลยอมรับได้
การรัฐประหารในครั้งนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเนื่องจากการที่คณะรัฐประหารได้เข้าเฝ้าในคืน วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดย ประธานองคมนตรี ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชานุญาตให้ถ่ายทอดสดออกโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ต่อมาในช่วงบ่ายมีข่าวลือที่แพร่สะพัดในทำเนียบรัฐบาลว่าจะมีรัฐประหารเกิดขึ้น ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็มีข่าวลือออกมาเช่นกันว่ารัฐมนตรีและนักการเมืองที่ร่วมกระบวนการหลายคนได้หลบหนีออกนอกประเทศไปแล้ว ในเวลาพลบค่ำมีกำลังทหารหน่วยรบพิเศษจากจังหวัดลพบุรีได้เคลื่อนกำลังพลเข้ากรุงเทพมหานคร
เวลา 21.00 น. กำลังทหารจากพลร่มป่าหวาย หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เข้ามาประจำการที่กองบัญชาการกองทัพไทยและในชั่วโมงต่อมา เวลา 22.00 น. ขบวนรถถังได้เคลื่อนพลเข้ามาคุมสะพานมัฆวานรังสรรค์และถนนราชดำเนิน พร้อมด้วยทหารจำนวนมาก วางแนวกำลังพลตามถนน ต่าง ๆ ไปตั้งแต่แยกเกียกกาย ผ่านมาถึงถนนราชสีมา, สวนรื่นฤดี, สี่แยกราชตฤณมัยสมาคม (สนามม้านางเลิ้ง) ซึ่งมีทหารแต่งตัวเต็มยศลายพรางเป็นคนควบคุมกำลัง ณ ขณะนั้น