
เหตุการณ์สืบเนื่อง พฤษภาทมิฬ ภายหลังการประกาศลาออกของพลเอกสุจินดา คราประยูร ทำให้นายมีชัย ฤชุพันธ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในวันที่ 10 มิถุนายน 2535 คณะรัฐมนตรีคณะที่ 48 ของรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร จึงพ้นจากตำแหน่งไปตามวาระ
ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 และ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ประกาศลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ในเวลานั้น พล.อ.อ.สมบุญ อดีตผู้ว่าการการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ดำรงตำแหน่งเป็น หัวหน้าพรรคชาติไทย สืบต่อจาก พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ที่ลาออกหลังรัฐประหาร เป็นที่เชื่อกันในขณะนั้นว่า พล.อ.อ.สมบุญ จะต้องได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ต่อจาก พล.อ.สุจินดา อย่างแน่นอน
แต่แล้วเมื่อ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ นำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ กลับกลายเป็นการแต่งตั้งให้ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีระหว่างการรัฐประหาร กลับมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และทำให้เป็นที่พูดต่อๆ กันมาถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า พล.อ.อ.สมบุญ “แต่งชุดขาวรอเก้อ”
5 พรรคที่สนับสนุนสุจินดาเป็นนายกรัฐมนตรี ได้แก่ พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคประชากรไทย พรรคราษฎร ยกเว้น พรรคกิจสังคม เป็นฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 18
มีการแก้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 จำนวน 6 ครั้ง มีประเด็นสำคัญในการแก้ไขเพิ่มเติม คือ แก้ไขให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา รวมทั้งแก้ไของค์ประกอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้เหมาะสมยิ่งขึ้น , การกำหนดคุณสมบัติของผู้จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
รัฐบาลได้เปิดให้เอกชนประมูลจัดตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งใหม่ในระบบยูเอชเอฟ เพื่อเป็นทางเลือกในการรับข้อมูลข่าวสารของประชาชน ภายใต้ชื่อสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี และกลายเป็น สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ในปัจจุบัน
ผลกระทบต่อความคิดเปลี่ยนแปลงสังคม
เหตุการณ์สืบเนื่อง พฤษภาทมิฬ จากเหตุการณ์สูญเสียชีวิตประชาชนดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดทัศนะว่าผู้นำการประท้วงหรือชุมนุมพึงรู้จักใช้วิธีการเพื่อรักษาชีวิตของประชาชนไว้ อาจยอมลดเป้าหมายของข้อเรียกร้องเพื่อลดโอกาสนองเลือด หรือยอมแพ้ทางการเมืองเสียดีกว่า ซึ่งสุรพล ธรรมร่มดีมองว่าเป็นการยอมรับอนุรักษนิยมทางสังคม และบอกให้ประชาชนทนกับความเลวร้ายที่น้อยกว่า (lesser evil)
ตลาดหุ้น
เหตุการณ์สืบเนื่อง พฤษภาทมิฬ ก็เป็นหนึ่งในความขัดแย้งครั้งใหญ่ ความขัดแย้งที่ทำให้ดัชนี SET Index ร่วงลงไปเกือบ 9% พร้อมกับผู้เสียชีวิตอีกนับสิบและผู้บาดเจ็บอีกนับร้อย
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เกิดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม ถึงราวๆ วันที่ 24 พฤษภาคม 2535 โดยมีสาเหตุมาจากการประท้วงของประชาชนที่ไม่พอใจการเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีของพลเอกสุจินดา คราประยูร หลังจากมีการทำรัฐประหารนายกรัฐมนตรีคนก่อนหน้า ประกอบกับความน่าสงสัยของการเลือกผู้นำประเทศในขณะนั้น และหลายคนต่างก็มองว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นไม่เป็นธรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดการชุมนุมทางการเมืองครั้งใหญ่
สถานการณ์ตอนแรกอาจยังดีอยู่ การประท้วงของผู้ที่เห็นต่างคือสิ่งที่พึงกระทำได้ตามหลักประชาธิปไตย แต่เมื่อคนมากขึ้น เหตุการณ์ก็เริ่มบานปลายจนนำไปสู่การปะทะกันระหว่างประชาชนและเจ้าหน้าที่ จนนำไปสู่เหตุนองเลือดอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงในวันที่ 17 พฤษภาคม 2535
เมื่อตลาดหุ้นเปิดทำการในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ดัชนีหุ้นไทยเซ็ท อินเด็กซ์ ตกลง 9% จาก 732.89 จุดไปอยู่ที่ 675.51 จุด ทันทีที่เหตุการณ์สงบลง ดัชนีปรับขึ้น 13% ในช่วง 1 เดือนหลังจากนั้น แถมวันนั้นยังเป็นวันแรกที่กลต.เริ่มทำงานอย่างเป็นทางการ แค่เริ่มงานวันแรกก็เจองานหินให้จัดการแล้ว
หลายคนอาจคิดว่าเหตุการณ์ทางการเมืองที่รุนแรงขนาดนั้นยังไงตลาดหุ้นก็ต้องหยุดทำการเพื่อไม่ให้ดัชนีผันผวนมากเกินไป แต่ภายใต้การตัดสินใจของกลต. ชุดแรกในประวัติศาสตร์ (รวมถึงคนที่เกี่ยวข้อง) พวกเขาตัดสินใจเปิดการซื้อขายตามปกติ ด้วยเหตุผลที่ว่า การหยุดการซื้อขายอาจทำให้คนกลัวเหตุการณ์ประท้วงมากไปกว่าเดิมก็ได้
ซึ่งกลต. คิดถูกที่เปิดให้ทำการซื้อขายตามปกติ เหตุการณ์ความรุนแรงทั้งหมดได้จบลงหลังจากนั้นไม่กี่วัน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ร่วง 9% ในวันที่ 19 พฤษภาคม ผ่านไปราวๆ 3-4 เดือน SET Index ก็กลับมาเป็นปกติ และวิ่งเป็นขาขึ้นครั้งใหญ่จากระดับ 700 จุดไปถึง 1,800 จุดได้ภายในเวลาเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้นเอง ภาคเศรษฐกิจจริงก็ไม่ได้ย่ำแย่อย่างที่หลายคนกลัวกันด้วย
สำหรับหุ้นรายตัว โอกาสสู่ความรำรวยได้ตกเป็นของนักลงทุนผู้มีเหตุผลท่ามกลางความกลัวที่แผ่ปกคลุมไปทั้งตลาด หุ้น BBL (ธนาคารกรุงเทพ) ร่วงลง 10% จาก 70 บาทเหลือ 62 บาท ก่อนที่จะวิ่งไปถึง 240 บาทในอีกสองปีให้หลัง , หุ้น TCAP (ทุนธนชาต) ร่วงลงพอๆ กับ BBL จาก 28 บาทเหลือ 25 บาท ก่อนจะเป็นขาขึ้นครั้งใหญ่และขึ้นไปถึงเกือบ 170 บาท , KBANK (ธนาคารกสิกรไทย) จาก 25 บาทไป 90 บาท รวมถึงหุ้นตัวอื่นอีกมากที่มีพฤติกรรมคล้าย ๆ กัน (ราคาทั้งหมดได้ปรับการแตกหุ้นและเงินปันผลเรียบร้อยแล้ว)
ความขัดแย้งทางการเมืองที่ถูกกล่าวขานว่าเป็น “พฤษภาทมิฬ” อาจเป็นความสูญเสียที่เลวร้ายเกินกว่าที่มนุษย์จะกระทำต่อเพื่อมนุษย์ด้วยกัน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความกลัวที่เกิดขึ้นมากเกินไปของนักลงทุนที่ไม่มีเหตุผล จะเป็นโอกาสทองให้กับนักลงทุนผู้มีเหตุผลอยู่เสมอ