Skip to content
Home » News » แนวคิด มาร์ก ซัคเคอเบิร์ก

แนวคิด มาร์ก ซัคเคอเบิร์ก

ข้อคิดจาก-มาร์ก
https://www.leaderwings.co/business/mark-zuckerberg-100-rules/

แนวคิด มาร์ก ซัคเคอเบิร์ก นาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) มหาเศรษฐีที่สร้างฐานะด้วยตัวเองในวัย 33 ปี ที่มีสินทรัพย์มากถึง 72 พันล้านดอลลาห์ จากธุรกิจ Social Media ยอดนิยมอย่าง Facebook นั่นเอง

มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ถือว่าเป็นนักศึกษาคนนึงที่ได้สร้างตำนานของตัวเองขึ้นมา จากความสนใจเรื่องนวัตกรรมเทคโนโลยี และคอมพิวเตอร์ หากว่ากันตามจริงเขาก็ไม่ต่างจากวัยรุ่นทั่วไปที่มักจะเพลิดเพลินอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ แต่สิ่งที่เขาแตกต่างจากคนอื่นก็คือ เขาเป็นคนช่างสังเกต ช่างคิด และมองเห็นปัญหาที่อยู่รอบตัว เขาจึงนำมาต่อยอด พัฒนาให้เป็นธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ

ความช่างสังเกตของมาร์ค พบว่า ที่ฮาร์วาร์ดยังไม่มีหนังสือรุ่นระบบออนไลน์ เขาจึงนำเสนอแก่มหาวิทยาลัย แต่ก็ถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลที่ว่า จำนวนของนักศึกษามีจำนวนมากทำให้รวบรวมข้อมูลได้ยาก จากปัญหานี้ทำให้เขานำมาขบคิดต่อ จนกระทั่งเขาได้ทำหนังสือรุ่นออนไลน์ ในเว็บไซต์ชื่อ Facemash และล้มภายในไม่กี่ชั่วโมงเพราะมีการแฮคข้อมูลจากเว็บไซต์มหาวิทยาลัย

ต่อมาเขาก็ได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนอีก 3 คน ช่วยกันพัฒนาต่อยอดจนกลายเป็นเว็บไซต์ Thefacebook.com ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2004 โดยให้นักศึกษาเขียนข้อมูลและเรื่องราวของตัวเองลงไปในเว็บไซต์ ซึ่งได้รับความนิยมล้นหลามจากนักศึกษา นั่นทำให้เขาทำงานอย่างหนัก ทั้งๆที่เขาพึ่งจะเรียนอยู่ชั้นปีที่ 2  

เนื่องจาก thefacebook.comได้รับความนิยมจากนักศึกษาฮาร์วาร์ดมากถึง 2 ใน 3 เขาจึงตัดสินใจขยายไปมหาวิทยาลัยอื่นๆทั่วอเมริกาและแคนาดา โดยรายได้มาจากการติดแบนเนอร์โฆษณาประชาสัมพันธ์กิจกรรมของนักศึกษา

จนปัจจุบัน Facebook ได้พัฒนารูปแบบให้ผู้คนทั่วโลก สามารถใช้งานในโลกออนไลน์ที่ผู้ใช้งานสามารถแสดงความเห็น แสดงตัวตนและสามารถเข้ากลุ่มถึงผู้ที่มีความสนใจด้านเดียวกัน โดยวัตถุประสงค์หลักที่สร้าง Facebook คือ “เชื่อมต่อผู้คนถึงกัน”

แนวคิด มาร์ก ซัคเคอเบิร์ก มาดูแนวคิดที่ทำให้ชายคนนี้ประสบความสำเร็จจนกลายเป็นเจ้าแห่ง Social media ทุกสถาบัน

มีความฝันที่ยิ่งใหญ่และทะเยอทะยานเพื่อความสำเร็จ แม้ความฝันของมาร์คนั้นมาจากจุดเล็กๆที่เพียงแค่ต้องการเชื่อมต่อผู้คนถึงกันภายในมหาวิทยาลัย ก็เปลี่ยนสู่ความต้องการเชื่อมต่อโลกถึงกัน แน่นอนว่าเขาเคยล้มเหลวมาก่อน แต่ด้วยความทะเยอทะยานของเขาส่งผลให้เขาทำสิ่งยิ่งใหญ่ให้สำเร็จได้

ต้องหลงใหลในสิ่งที่ทำสุดๆ เขาแทบจะใช้เวลาทั้งหมด หมกมุ่นอยู่คอมพิวเตอร์และหนังสือ ในขณะเพื่อนคนอื่นออกไปสังสรรค์ เขาหลงไหลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ประถมและศึกษามันอย่างละเอียดจนกระทั้งสามารถเขียนโปรแกรมได้ตั้งแต่10ขวบ

อุดมการณ์แน่วแน่และชัดเจน เขาเป็นผู้ที่มีแผนของตัวเองอยู่เสมอ ต่อให้เขาจะได้รับข้อเสนอสุดพิเศษขนาดไหน แต่ถ้ามันไม่ตรงกับแผนของเขา ก็พร้อมที่จะปฏิเสธทุกเมื่อ

วันนี้คุณกำลังคุยและแชทกับเพื่อน คุณใช้ Facebook ซึ่งมาร์กเป็นเจ้าของ วันนี้คุณกำลังแชร์รูปสวย ๆ กับเพื่อน คุณใช้ Instagram ซึ่งมาร์กเป็นเจ้าของ เด็กหนุ่มมหัศจรรย์คนนี้ไปเปลี่ยนวิถีชีวิตผู้คนทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะธุรกิจเท่านั้น มาเรียนรู้ข้อคิดจาก Mark Zuckerberg

1. เมื่อคุณหมกมุ่นในเรื่องใดเป็นพิเศษ สุดท้ายแล้วคุณจะเป็น Expert ในด้านนั้น ๆ

สำหรับตัวผมเองนั้น ผมหมกมุ่นกับการเขียนโปรแกรมเพื่อสร้างโปรดักที่เชื่อมต่อคนบนโลกโซเชียลเข้าด้วยกัน มันจึงกลายเป็น Facebook อย่างที่ทุกคนเห็นในวันนี้ 

และเช่นเดียว หากคุณหมกมุ่นเกี่ยวกับผู้คนที่อยู่รอบ ๆ ตัวคุณ คุณต้องการที่จะสร้างระบบการจัดการของผู้คนที่รายล้อมคนหรือคนภายในองค์กรคุณ ให้มันดีขึ้น ดียิ่งขึ้นไปอีก และในท้ายที่สุด คุณก็จะได้ระบบการจัดการองค์กรที่ดีที่สุดระบบหนึ่งออกมา

2. ถามหา Feedback จากผู้คน

ในการสร้างองค์กรที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ จำเป็นที่จะต้องอาศัยผู้คนที่ช่วยขับเคลื่อนเป็นจำนวนมาก ไม่ใช่เฉพาะผู้บริหารเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น

แต่มันหมายถึง องค์กรจำเป็นที่จะต้องเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของทั้งคนในองค์กรก็ดี พาร์ทเนอร์ก็ดี และจากลูกค้าก็มีส่วนสำคัญ

เพราะในหลาย ๆ ครั้งจะพบว่า มีบางคำถามจากคนในองค์กรที่ส่งผลให้มองเห็นถึงโอกาสที่ดีกว่า ทางออกที่ดีกว่า หรือแม้กระทั่งเปลี่ยนทิศทางของธุรกิจให้เติบโตขึ้นได้เลย

ดังนั้นจงอย่าปิดกั้นความคิดเห็นของผู้คน เพราะความคิดเห็นเหล่านั้น สามารถนำมาปรับใช้ในองค์กร ในบริษัท ให้เติบโตยิ่งขึ้นไปอีก

3. จงทำผิดพลาด

ผู้คนชอบถามผมว่า “ความผิดพลาดอะไรบ้างที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อคุณเริ่มต้นทำธุรกิจ” และผมก็ตอบไปว่า คุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้หรอก เพราะคุณจะพบว่าเมื่อคุณเริ่มต้นทำธุรกิจ คุณจะเจอข้อผิดพลาดเยอะมาก ๆ

แต่สิ่งที่คุณจะต้องทำก็คือ การเรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปพัฒนาในครั้งต่อ ๆ ไป และสิ่งสำคัญก็คือ เมื่อคุณล้มเหลว คุณห้ามถอดใจเด็ดขาด เพราะถ้าคุณถอดใจ ล้มเลิก ก็เท่ากับจบเกมทันที

4. จงเลือกคนที่คุณอยากจะทำงานด้วย

ไม่ใช่ว่าคนเก่งจะทำงานได้อย่างราบรื่นเสมอไป เพราะถ้าเก่งแต่ไม่ดีหรือคุณไม่อยากทำงานด้วย ไม่มีความสุขในการทำงาน งานคุณก็จะออกมาไม่ดีแน่ ๆ

ดังนั้น นอกจากที่คุณจะเลือกคนที่เก่ง คนที่ดีเข้ามาทำงานแล้ว คุณจำเป็นต้องเลือกคนที่คุณอยากทำงานด้วย เพราะเราจะต้องทำงานร่วมกับเขาไปอีกนาน

5. จงสร้างธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงโลกนี้

จากการที่ผมได้พูดคุยกับผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จหลาย ๆ คน ผมพบว่า พวกเขาเหล่านั้น ไม่ได้สร้างธุรกิจขึ้นมาเพียงเพราะแค่อยากมีธุรกิจ แต่พวกเขาเหล่านั้นต้องการสร้างธุรกิจที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกนี้ได้ สามารถช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้คนได้ และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้น

ดังนั้นลองถามตัวคุณเองว่า ธุรกิจที่คุณสร้างขึ้น จะช่วยให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้นได้อย่างไร…

6. จงสร้างทีมที่เจ๋ง ๆ ขึ้นมา

อย่าลืมว่าเครื่องไม้เครื่องมือ ใครมีเงินก็ซื้อกันได้ แต่การที่จะหาคนมาใช้เครื่องมือให้งานออกมาดีนั้นสำคัญกว่า เพราะแม้แต่เครื่องมือที่อาจจะไม่ได้เลิศหรูมากนัก แต่ถ้าอยู่ในทีมที่ดีแล้วล่ะก็ พวกเขาจะสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมอยู่ดีนั่นแหละ

7. อย่าทำตัวเป็นน้ำที่เต็มแก้ว 

เมื่อคุณสามารถสร้างทีมที่ดีขึ้นมาได้สักทีมหนึ่ง คุณจะพบว่าพวกเขาเหล่านั้นเมื่อทำงานเป็นทีม จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าที่คุณคิดเอาไว้มาก หรือในหลาย ๆ ครั้งก็หาทางออกได้ดีกว่าตัวคุณที่เป็นเจ้าของธุรกิจซะด้วยซ้ำ

เพราะแน่นอนว่า คุณได้จ้างคนที่เก่งกว่าคุณในแต่ละด้านมารวมตัวกัน เมื่อพวกเขาอยู่กันเป็นทีม พวกเขาจะเป็นทีมที่แข็งแกร่งมาก ดังนั้น จงเรียนรู้จากทีมของคุณ”

8.จงให้ประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ผู้คน 

สำหรับลูกค้าของ Facebook แบ่งออกเป็นสองกลุ่มหลัก ๆ ก็คือ กลุ่มของผู้ใช้งานทั่วไป ซึ่งสิ่งที่ Facebook พยายามมอบให้ก็คือการเข้าอ่าน Feed เนื้อหาต่าง ๆ ที่มาจากทั้งเพื่อนของเขาและแฟนเพจที่เขาติดตาม และพยายามแสดงเนื้อหาที่คนใช้งานเหล่านั้นชื่นชอบและตรงกลุ่มมากที่สุด

และในขณะเดียวกัน ในฝั่งของเจ้าของแฟนเพจ ทาง Facebook เองก็ตอบสนองคนทำธุรกิจ ด้วยการทำให้เนื้อหา สินค้าหรือบริการ เข้าถึงผู้คนเป็นจำนวนมากในเวลาอันสั้นและค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม และพยายามให้โฆษณาแสดงตรงกลุ่มที่มีโอกาสกลายเป็นลูกค้าของธุรกิจมากที่สุด

เพราะเมื่อผู้คนหรือลูกค้าที่ได้สัมผัสประสบการณ์ที่ดีจากคุณ เขาจะกลับมาใช้บริการซ้ำแล้วซ้ำเล่า และบอกต่อไปยังเพื่อน ๆ ของเขาอีกหลายร้อย หลายพันคนเลยทีเดียว

9. คิดการใหญ่ 

ตอนที่ Facebook ยังคงเป็นแค่โปรเจกต์เล็ก ๆ เมื่อตอนเริ่มต้น และมีคนเสนอเข้าซื้อ แต่ Mark Zuckerberg ได้ปฎิเสธการขาย Facebook เพียงเพราะจะได้เงินก้อนเพียงก่อนหนึ่ง เพราะเขามองว่าถ้าขายไปเขาอาจจะได้เงินก้อนใหญ่มา แต่คนที่ซื้อไปอาจจะทำให้ Facebook เป็นเพียงแค่ความทรงจำ หรือเป็นเป็นโปรเจกต์ที่โลกหลงลืมไป

เขาคิดว่า Facebook มันทำได้มากกว่านั้น มันสามารถเปลี่ยนแปลงการติดต่อสื่อสารของผู้คนทั่วโลกอย่างใหญ่หลวง และเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล

10. เริ่มต้นจากสิ่งเล็ก ๆ

Mark Zuckerberg แม้ว่าจะเริ่มต้นด้วยคิดการใหญ่ว่า Facebook จะเปลี่ยนแปลงการติดต่อสื่อสารของคนบนโลกนี้ไปตลอดกาล จน Facebook ในวันนี้จะมีมูลค่าหลายหมื่นล้านเรียญสหรัฐในปัจจุบัน

แต่สิ่งที่เขาทำ ไม่ใช่ว่าต้องลงทุนเป็นล้าน ๆ เหรียญ ในวันที่เริ่มต้น แต่เขาเริ่มต้นจากสิ่งเล็ก ๆ ภายในหอพักของเขาที่มหาวิทยาลัย ที่แทบจะไม่ต้องลงเงินเลยในช่วงแรก จนกระทั่งตัวต้นแบบของเขามันเวิร์ค และค่อย ๆ ขยับขยายเป็นทีมงานเล็ก ๆ ขึ้นมา สู่การเสนอนักลงทุน ขยายเป็นองค์กรขนาดใหญ่ในปัจจุบัน

“ในโลกยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว”