Skip to content
Home » News » แนวคิด ริชาร์ด แบรนสัน สู่เจ้าของธุรกิจ 400 บริษัท

แนวคิด ริชาร์ด แบรนสัน สู่เจ้าของธุรกิจ 400 บริษัท

แนวคิด ริชาร์ด แบรนสัน
https://www.ceochannels.com/richard-branson-lesson-1/

แนวคิด ริชาร์ด แบรนสัน สู่เจ้าของธุรกิจ 400 บริษัท เริ่มทำธุรกิจตั้งแต่อายุ 15 ปี โดยเริ่มทำนิตยสารรายเดือนสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย ชื่อว่า Student และเริ่มขยายธุรกิจจัดจำหน่ายแผ่นเสียงทางไปรษณีย์ ในปี พ.ศ. 2513 และเปิดเครือข่ายร้านจำหน่ายแผ่นเสียง ใช้ชื่อว่า Virgin Records ทั่วประเทศอังกฤษ พร้อมกับทำธุรกิจห้องบันทึกเสียง

และเริ่มผลิตแผ่นเสียงในสังกัดของตัวเอง ศิลปินที่มีชื่อเสียงในสังกัด ในยุคแรกเช่น ไมค์ โอลด์ฟิลด์, แทนเจอรีน ดรีม, เซ็กซ์ พิสทอลส์ และยุคถัดมาเช่น เจเนซิส, ฟิล คอลลินส์, ปีเตอร์ แกเบรียล, บอย จอร์จ

ในปี พ.ศ. 2527 ริชาร์ด แบรนสัน เริ่มเข้าสู่ธุรกิจสายการบิน โดยเปิดสายการบินเวอร์จิน แอตแลนติก และเริ่มขยายสู่ธุรกิจอื่นเป็นจำนวนมาก เช่น โทรศัพท์มือถือ รถไฟ ลอตเตอรี่ เกมคอมพิวเตอร์ น้ำโคล่า วอดก้า สิ่งพิมพ์ ฯลฯ

แนวคิด ริชาร์ด แบรนสัน สู่เจ้าของธุรกิจ 400 บริษัท ชีวิตส่วนตัว ริชาร์ด แบรนสัน ชื่นชอบการผจญภัยและสร้างสถิติโลก ส่วนหนึ่งเพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ตราสินค้า “เวอร์จิ้น” ของเขาไปในตัว ในปี พ.ศ. 2529 เขาขับเรือเร็วข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก รายการ “บลูริบบันด์” (Blue Riband) เป็นระยะทางกว่า 3,000 ไมล์ ใช้เวลา 3 วัน 8 ชั่วโมง 31 นาที ทำลายสถิติเดิมกว่า 2 ชั่วโมง

นอกจากนี้เขายังทำสถิติเดินทางด้วยบัลลูนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ในปี พ.ศ. 2530 และข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ในปี พ.ศ. 2533

ริชาร์ด แบรนสัน เขาทำได้อย่างไร ?

นี่คือหลักคิดการใช้ชีวิต สร้างธุรกิจของเขา

เราไม่สามารถที่จะเดินได้โดยการเพียงท่องทฤษฏี แต่เราต้องเรียนรู้วิธีการเดินด้วยการออกเท้าก้าวเดินไป แม้จะมีหกล้มบ้าง ก็เป็นเรื่องธรรมดา

จงท้าทายความสามารถของตัวเอง ตั้งเป้าหมายให้ใหญ่เข้าเข้า เพราะนี่เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้เราไปถึงเป้าหมาย ไม่มีเหตุผลอื่นที่ดีกว่านี้อีกแล้ว

สิ่งใหม่ที่เราลงมือทำ เราไม่อาจคาดการได้ถูกต้องทั้งหมด ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร ทุกอย่างคือการทดลอง และ เรียนรู้

จงสนุกและมีความสุขกับทุกนาทีของชีวิต ทำทุกสิ่งให้มันว้าว !!! กับตัวเองตลอดเวลา

โอกาสทางธุรกิจเหมือนรถโดยสาร สายหนึ่งผ่านไปสายใหม่ก็มีเข้ามา รอโอกาสที่ใช่สำหรับเรา ไม่ใช่ก็ปล่อยให้มัน่ผ่านไปก็ไม่เสียหาย ดีกว่าขึ้นรถเมล์ผิดสาย เสียหายกว่ามาก

ความสำเร็จในการทำธุรกิจมากพร้อมกับความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ ถ้าเราไม่อาจรับผิดชอบต่อตัวเอง รับผิดชอบต่อสิ่งที่ลงทุนไป ความสำเร็จก็ไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

สิ่งหนึ่งที่พึงระวังในการทำธุรกิจคือ ตัวเราเองและคนรอบข้างทำสิ่งที่ผิดพลาดบางอย่าง แล้วไม่ยอมบอก ปล่อยให้ความผิดพลาดเล็ก ๆ เป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมา

การทำธุรกิจไม่ใช่เรื่องของรูปลักษณ์ภายนอก เสื้อผ้าที่สวมใส่ แต่มันอยู่ที่ไอเดีย ความคิดของเราต่างหาก และนี่คือสิ่งที่จำเป็นที่สุดของการทำธุรกิจ

อย่าจมอยู่กับปัญหา แต่จงมองจากข้างนอก แล้วเราจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง คนล้มเหลวส่วนใหญจะเลือกที่จะจมกับปัญหา แต่คนสำเร็จเลือกที่จะปล่อยผ่าน ไม่นำมาพัวพันกับชีวิต เขาจะเดินต่อไป ด้วยประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้

โชคดีที่เราไม่ได้เป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ ผมจึงสามารถทำอะไรก็ได้ในสิ่งที่ผมอยากจะทำมัน ทำให้ธุรกิจมีอิสระที่จะปรับปรุงพัฒนาให้เติบโตในทิศทางที่ผมต้องการ

ทำธุรกิจมันต้องมีส่วนร่วม ทุกอย่างต้องสนุก ต้องมีการออกกำลังความคิด แสดงออกมาให้เห็นภายนอกด้วย การตัดสินใจเกิดจากสัญชาตญาณ ที่ผ่านประสบการที่ผ่านร้อนหนาวมาอย่างโชกโชน อย่ากลัวที่จะตัดสินใจผิดพลาด แต่จงเรียนรู้จากสิ่งนั้นเก็บไปใช้ในครั้งต่อ ๆ ไป

ปรัชญาในการใช้ชีวิตคือ ลุกออกจากเก้าอี้ ไปดูผู้คนรอบข้าง ออกไปหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับชีวิต
สร้างชีวิต สร้างธุรกิจ เมื่อมีเงินก็ลงทุนในธุรกิจใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีใครทำมากนัก เลือกที่จะแก้ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จให้กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่าหวานแหก็ปัญหาทุกสิ่งอย่างให้กับคนทั้งโลก

ความท้าทายที่สำคัญที่สุดในชีวิตเรา ไม่ได้อยู่ที่การเอาชนะปัญหา อุปสรรค ที่เกิดขึ้นจากภายนอก แต่อยู่ที่เราสามารถเอาชนะปัญหา อุปสรรค ในตัวเราได้มากน้อยขนาดไหน ชนะตัวเองได้ ก็ชนะทุกสิ่งอย่างในโลกนี้ได้ สำเร็จโดยไม่ต้องต้องลงทุน เงินทอง ทรัพย์สิน คือการรู้จักตัวเอง

ผมโชคดีมากที่เกิดมาในครอบครัวที่อบอุ่น ครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากที่จะช่วยผลักดันให้เราก้าวไปสู่ความสำเร็จในทิศทางที่ดีงาม ถูกต้อง

ผมไม่เคยคิดถึงเรื่อง บัญชี การเงิน ก่อนที่จะลงมือทำธุรกิจทุกสิ่งเริ่มจากความสนุก และ ความสุขที่ผมอยากส่งไปให้กับผู้บริโภค อย่าให้ปัจจัยเรื่อง เงินทุน มาเป็นกำแพงขวางกันในการทำธุรกิจ ผลิดสินค้า บริการดี ๆ ให้กับลูกค้า เงินมาทีหลัง ไอเอีย และการค่อย ๆ ลงมือทำต้องมาก่อน

ถนนสู่การเป็นนายตัวเองเปิดกว้างขึ้น

ริชาร์ด แบรนสัน บอกว่า…

ปัจจุบัน คุณสามารถศึกษาและทดสอบตลาดได้ง่ายกว่าสมัยก่อนและสามารถทำได้ระหว่างทำงานประจำ เพราะระบบ Crowd funding อย่าง Kick Starter, และ Indiegogo เป็นช่องทางเสนอไอเดียธุรกิจด้วยวิดีโอคลิปโดยไม่ต้องเสี่ยงสร้างธุรกิจใดๆขึ้นมาก่อน

หากไอเดียของคุณน่าสนใจและมีความเป็นไปได้อย่างมากในสายตานักธุรกิจ ผลลัพธ์จะสะท้อนออกมาเป็นเม็ดเงินที่นายทุนโอนมาสนับสนุนโครงการของคุณ เมื่อคุณได้รับเงินครบตามต้องการ หรืออาจจะมากกว่าถ้าไอเดียมันโดนจริงๆ เมื่อนั้นคุณจะมีเงินทุนมากพอที่จะกระโดดไปลุยกับกิจการส่วนตัวอย่างเต็มที่ตั้งแต่ก่อนลาออกจากงานประจำ

จงคิดนอกกรอบระบบการศึกษาในระบบ

ริชาร์ด แบรนสัน ย้ำว่า แม้คนจำนวนมากเติบโตมาเป็นลูกจ้างก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะต้องเกิดมาเพื่อเป็นลูกจ้างตลอดไป

ปัญหาอยู่ที่ระบบการศึกษาโลกที่สอนให้คนเรียนให้ดี เรียนให้จบ เอาเกรดและใบปริญญาไปสมัครงานดีๆ ผู้คนจึงเดินตามโปรแกรมที่วางไว้ชั่วลูกชั่วหลาน แต่ศักยภาพของการเป็นนายตัวเองมีอยู่ในส่วนลึกของทุกคน อยู่ที่มีความสามารถในการระลึกรู้ได้มากหรือน้อย เร็วหรือช้า และมีกล้าที่จะดึงมันออกมาใช้ตัดสินใจเปลี่ยนตัวเองหรือไม่

แต่กาลเวลามีส่วนบีบให้คนสมัยใหม่ต้องดึงความเป็นนายตัวเองออกมาโดยเร็ว เพราะช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ตลาดแรงงานมีความผันผวนรุนแรง คนนับหมื่นๆ ตกงานอย่างฉับพลันเป็นว่าเล่นหลังจากใช้ชีวิตบนสายอาชีพเดิมมาช้านาน

สถานการณ์โลกจะบีบบังคับให้คนต้องเลือกที่จะเป็นนายตัวเองมากขึ้น

ความผันผวนทางเศรษฐกิจและการมาของอินเตอร์เน็ตที่มีผลต่อวิธีดำเนินกิจการของบริษัท ทำให้ความมั่นคงในงานประจำลดลงกว่าสมัยต้นยุค Gen X (ปี 1980+/- 10 ปี)

ริชาร์ด แบรนสัน บอกว่า ปรากฏการณ์เหล่านี้ทำให้คนเริ่มตระหนักถึงการพึ่งพาตนเองและมุ่งหน้าสู่การสร้างอาชีพอิสระและธุรกิจส่วนตัวกันมากขึ้นเป็นประวัติการณ์

…ความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เริ่มส่งผลกระทบกับระบบการศึกษาในอนาคตอย่างเห็นได้ชัด โรงเรียนและมหาวิทยาลัยเริ่มหันมาผลิตหลักสูตร ผู้ประกอบการ หรือ Entrepreneurship มากขึ้น…

แม้แต่ ริชาร์ด แบรนสัน เองก็สนับสนุนหลักสูตรแบบนี้ เขาทำโครงการ Virgin Money’s Fiver แก่โรงเรียนประถมในอังกฤษโดยการให้เงินทุน 5 ปอนด์แก่นักเรียนอายุ 5-11 ปีในหลักสูตร การบ้านคือนำเงินจำนวนนี้ไปต่อยอดทำกำไรและกลับมารายงานผลงานต่อครู!

วันที่ในข่าวนี้ 1 มกราคม 1970 วันที่ประมาณการ