
แพะรับบาป เชอร์รี่ แอน คดีสะเทือนขวัญ หารู้ไม่ว่า ?? นายประเมิน คือ พยานเท็จ !! เขาถูกจ้างโดยตำรวจเพื่อใส่ความผู้ต้องหาทั้ง 5 คน โดยได้รับค่าจ้างเป็นสังกะสีแค่ไม่กี่แผ่น (ตีเป็นเงินประมาณ 500 บาท) เพื่อนำไปซ่อมทำหลังคาบ้านของเขา โดยสังกะสีนั้นแลกกับชีวิตของผู้บริสุทธิ์ทั้ง 5 คน
วันที่ 21 สิงหาคม ปี พ.ศ.2529เจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมกำลัง บุกเข้าจับกุม เสี่ยวินัย และ ลูกน้อง ถึงหน้าบริษัท เสี่ยวินัยถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บงการและจ้างวานให้ฆ่าเชอร์รี่ แอน
แต่ต่อมาเขาเป็นเพียงคนเดียว ที่ไม่ถูกอัยการฟ้อง จนถูกปล่อยตัวเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2529 เนื่องจากอัยการพิจารณาแล้วว่า หลักฐาน และสำนวน ที่ตำรวจยื่นฟ้องมานั้น ยังมีหลักฐานไม่เพียงพอ
แพะรับบาป เชอร์รี่ แอน จำเลยอีก 4 คน ที่เหลือต้องรับชะตากรรมที่ตนเองไม่ได้ก่อ พวกเขาทั้งหมดถูกตัดสินประหารชีวิต จากศาลชั้นต้น ก่อนรอประหาร พวกเขาทั้ง 4 ถูกจำคุกใกล้ตะแลงแกง ที่นั่นมีทั้งโรคระบาด อาหารไม่สะอาด หนู แมลงสาบ สุขอนามัยสุดเลวร้าย
ญาติของทั้ง 4 คน เดินหน้าต่อสู้คดี โดยการยื่นอุทธรณ์ ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งหมด แต่ให้ขังระหว่างรอฎีกาอีก 6 ปี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2536 ศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าทั้งหมดเป็นผู้บริสุทธิ์และไม่มีความผิดใด ๆ แต่เรื่องที่น่าเศร้าสำหรับคดีนี้ คือ
นายรุ่งเฉลิม (เฮาดี้) เสียชีวิตในคุกด้วยโรคหัวใจวาย ก่อนที่ศาลจะตัดสิน
นายพิทักษ์ ติดโรคร้ายมาจากคุก และมาเสียชีวิตลงเมื่อปลายปี พ.ศ. 2536 เมื่อพ้นคดีออกจากคุกมาเพียงแค่ 5 เดือนนายธวัชเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตามหลังนายพิทักษ์ไม่นานนักนายกระแสร์ก็พิการ เนื่องจากกระดูกสันหลังร้าวนายกระแสร์ ได้พูดหลังออกจากคุกว่า…ก่อนเข้าคุกข้าพเจ้ามีครอบครัว ภรรยาอยู่ที่ท่าเรือคลองเตย
มีลูกชาย 1 คน ลูกสาว 1 คน ตอนที่ข้าพเจ้าเข้าไปอยู่ในคุกภรรยาข้าพเจ้าเครียดมากจนเสียชีวิต ต่อมาลูกสาว ถูกฆ่าข่มขืน ข้าพเจ้าอยู่ในคุก ไม่มีใครบอกว่าลูกสาวข้าพเจ้าโดนฆ่าตาย
ข้าพเจ้าก็ไม่รู้เรื่องเขาปิดกัน ลูกสาวกำลังสอบชิงทุนไปเรียนที่ประเทศญี่ปุ่น ถ้าเกิดข้าพเจ้าซึ่งเป็น พ่อยังอยู่ข้างนอก ก็ยังดูแลเขาได้ และอาจไม่โดนฆ่า ต่อมาลูกชายก็หายสาปสูญและก็ยังหาไม่เจอ
นายกระแสร์ เริ่มเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นด้วยน้ำเสียงช้าๆ ว่า “เมื่อปี 2529 นางสาวเชอรี่แอน ดันแคน ถูกฆ่าตาย ตำรวจปากน้ำก็มาแจ้งจับพวกข้าพเจ้ากับเสี่ยวินัย ชัยพาณิชไปจับ รุ่งเฉลิม กนกชวาลชัย พิทักษ์ ธวัช จับไปปากน้ำว่าร่วมกันฆ่านางสาวเชอรี่แอน แต่พวกเราไม่ได้ฆ่า บอกกับตำรวจ กับใครตอนนั้นก็ไม่มีใครเชื่อ นักข่าวประโคมข่าวมาก
ตำรวจปากน้ำชื่อ พ.ต.อ.มงคล ศรีโพธิ์ และพ.ต.อ.สันติ เพ็งสูตร เอาตัวนายประเมิน โภชน์พัฒน์ มาชี้ตัวโดยดูรูปจากตำรวจก่อนและให้เงินนายประเมิน 500 บาท แล้วมาชี้ตัวว่าพวกเราเป็นคนประคองเชอรี่แอนลงมาจากตึกคอนโดมิเนียมของเสี่ยวินัย จากนั้นอัยการก็สั่งฟ้องเรา ศาลตัดสินประหารชีวิตพวกเรา 4คน
แต่ยกฟ้องเสี่ยวินัย เราถูกส่งเข้าไปอยู่ในแดนประหาร คุกบางขวาง จนปี 2535 ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง แต่รุ่งเฉลิม ตายในคุกก่อนที่ศาลจะอุทธรณ์จะพิพากษา เพราะคิดมากเครียด เนื่องจากตัวเองไม่ได้ทำความผิด ลูกเขาก็ยังเล็กๆ อยู่ในสมัยนั้น ตัวข้าพเจ้าเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาเจ้านายเก่าบริษัทยามประกันตัวให้ออกมาได้
แต่พิทักษ์และธวัช ยังติดอยู่ในบางขวาง เพราะต้องรอศาลฎีกา แต่ออกมาได้ไม่เท่าไหร่ก็เสียชีวิตทั้ง 2 คนเพราะติดโรคมาจากในเรือนจำ ข้าพเจ้าจำไม่ได้ว่าตายปีไหน ตอนข้าพเจ้าโดนจับถูกตำรวจซ้อม หัวฟาดกับโต๊ะ ทำให้มึน ประสาทเลยช้าคิดอะไรช้าผู้ต้องหาโดนซ้อมจนสมองชา
“ตอนที่ข้าพเจ้าถูกจับข้าพเจ้าไม่รับสารภาพ ข้าพเจ้าถูกตำรวจหลายคนซ้อม เยอะ หลายคนจำไม่ได้ มีตำรวจนอกเครื่องแบบด้วย ไม่ทราบว่าใครบ้าง ถูกซ้อมจนกระดูกสันหลังร้าว ไปหาหมอตามคลินิคเขาฉายเอ็กซเรย์ให้ข้าพเจ้า ขณะที่ศาลชั้นต้นกำลังจะตัดสิน แล้วข้าพเจ้าก็ไม่มีตังค์ที่จะผ่า
พอศาลตัดสินข้าพเจ้าก็เข้าเรือนจำปากน้ำไปเลย พอออกมาแล้วหลักฐานฟิล์มเอ็กซเรย์ก็ไม่รู้ หมอหายไปอยู่ไหนหมดแล้ว จากกระดูกสันหลัง ทำให้หัวคิดช้า คิดอะไรคิดออก แต่ช้า เพราะมึน ตอนที่ตำรวจซ้อมหัวฟาดพื้น สมัยก่อนโรงพักปากน้ำเป็นไม้ เก้าอี้เป็นไม้ พอถูกถีบก็หงายท้องเลยหลังกระแทกโต๊ะที่นั่งหัวฟาด
ขณะนี้พอเวลาเดินเร็วๆ ขาจะชามาจากหลัง นอนหงายไม่ได้ ต้องนอนตะแคง ช่วงที่อยู่ในคุกมีหมอก็ขอยาแก้ปวดบ้าง แม่ส่งน้ำมันไปให้ทาบ้าง เข้าคุกทั้งที่ไม่ผิด
“ตอนเสี่ยวินัยเขายกฟ้องพวกข้าพเจ้าโดนตัดสินประหารชีวิต เสี่ยวินัย ก็ไปวิ่งเต้นแจ้งทางกองปราบปราม ทีนี้กองปราบปรามเขารู้แล้วว่าพวกข้าพเจ้าไม่มีความผิด กองปราบปรามติดตามคดีอย่างเงียบๆ กำลังตามจับผู้ต้องหาตัวจริงแล้วก็แจ้งมาที่โรงพักปากน้ำว่า พวกนี้ไม่มีความผิด ตัวจริงกำลังจะจับอยู่ แต่ตำรวจปากน้ำไม่เชื่อให้ศาล
อัยการสูงสุดดำเนินเรื่องต่อไป ไม่ยอมปล่อยพวกข้าพเจ้าทั้งที่รู้ว่าไม่ผิด อยู่ในคุกไม่มีใครช่วยหรือต่อสู้ให้ ภาวนาอย่างเดียวให้เรารอด เพราะเราไม่ได้ทำความผิด เราอยู่ในคุกเรายังไม่รู้ว่ากองปราบปรามกำลังดำเนินการ พอเขาจับตัวจริงได้เราก็รอด ศาลยกฟ้องก่อนแล้วจึงจับผู้ต้องหาตัวจริง หลังศาลยกฟ้องไม่มีใครยื่นมือมาช่วย
คนที่ไม่เคยทำผิดอยู่ๆ ศาลตัดสินประหารชีวิต จิตใจที่ยืนอยู่ตรงนั้นจะเป็นอย่างไร อย่างเฮาดี้ (นายรุ่งเฉลิม กนกชวาลชัย) เป็นลมพับตรงนั้น นอกนั้นพากันร้อง เป็นลมหมด ก็เขาไม่ได้ทำความผิดแล้วศาลตัดสินประหาร คนไม่ผิดความรู้สึกตอนนั้นจะเป็นอย่างไร ถ้าเป็นคนอื่นจะเป็นอย่างไร พอศาลตัดสินก็ต้องเข้าคุกไป
ผู้ต้องหา- เมียตายลูก-สาวโดนฆ่าข่มขืน-ลูกชายหายสาปสูญ “ก่อนเข้าคุกข้าพเจ้ามีครอบครัว ภรรยาอยู่ที่ท่าเรือคลองเตย มีลูกชาย 1 คน ลูกสาว 1 คน ตอนที่ข้าพเจ้าเข้าไปอยู่ในคุก ภรรยาข้าพเจ้าเครียดมากจนเสียชีวิต ต่อมาลูกสาวอายุ 17-18 ปีถูกฆ่าข่มขืน ข้าพเจ้าอยู่ในคุกไม่มีใครบอกว่าลูกสาวข้าพเจ้าโดนฆ่าตาย
ข้าพเจ้าก็ไม่รู้เรื่องเขาปิดกัน ลูกสาวกำลังสอบชิงทุนไปเรียนที่ประเทศญี่ปุ่น ถ้าเกิดข้าพเจ้าซึ่งเป็นพ่อยังอยู่ข้างนอกก็ยังดูแลเขาได้ ไม่โดนฆ่า ต่อมาลูกชายก็หายสาปสูญยังหาไม่เจอ