
แยกทรัพย์สินสถาบัน ออกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ หลัง 2475: แยกทรัพย์สินสถาบันพระมหากษัตริย์ออกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 สภาได้ตรา พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 แยกระหว่าง “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” “ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน” และ “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ออกจากกัน โดยให้คำนิยามดังนี้
“ทรัพย์สินส่วนพระองค์” หมายความว่า ทรัพย์สินหรือสิทธิอันติดกับทรัพย์สินที่มีอยู่ หรือเกิดขึ้นในส่วนใดๆ แห่งราชอาณาจักร ถ้า
(ก) ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านั้น เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้วในเมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ และพระองค์ทรงมีสิทธิที่จะจำหน่ายสิ่งเหล่านั้นได้ก่อนครองราชสมบัติ
(ข) ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านั้นได้ตกมาเป็นของพระองค์ ในเมื่อหรือภายหลังแต่เวลาที่ครองราชสมบัติโดยทางใดๆ จากบรรดาพระราชบุพการีใดๆ หรือจากบุคคลใดๆ ซึ่งไม่ได้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรนี้
(ค) ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านั้นได้มา หรือได้ซื้อมาจากเงินส่วนพระองค์
แยกทรัพย์สินสถาบัน ออกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ “ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน” หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า พระราชวัง
“ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวแล้ว
เดิมตาม พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 กระทรวงการคลังทำหน้าที่ดูแลทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงใช้จ่ายในฐานที่ทรงเป็นประมุข การจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ โดยการพยามโอนทรัพย์สินของพระคลังข้างที่มาเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นี่เอง ที่เป็นชนวนเหตุสำคัญในการสละราชสมบัติของรัชกาลที่ 7 และนำไปสู่การฟ้องร้องหลังจากนั้น
กระทรวงการคลังในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นโจทก์ฟ้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีว่าในระหว่างเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์และพระบรมราชินี จำเลยทั้งสองได้โอนทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ไปเป็นพระนามของจำเลยโดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามรัฐธรรมนูญ เช่น การโอนเงินฝากในชื่อกรมพระคลังข้างที่เป็นชื่อส่วนตัว ความเสียหายรวมดอกเบี้ยกว่า 6 ล้านบาท ศาลตัดสินให้จำเลยแพ้คดีเมื่อ 30 ก.ย. 2484
ขณะที่การจัดการทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์เพื่อส่งต่อให้รัชกาลที่ 8 เป็นไปอย่างยากลำบาก ทรัพย์สินส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในอังกฤษหลายรายการ กลับตกอยู่ที่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต บุตรบุญธรรมในรัชกาลที่ 7 และต้องขายทิ้งเพื่อจ่ายภาษีมรดกแก่รัฐบาลอังกฤษ ไม่ได้กลับคืนมาสู่สถาบันพระมหากษัตริย์
“ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์”
คือ ทรัพย์สิน ของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งหมายถึง สถาบันฯ ที่ไม่ใช่ตัวบุคคล ที่ดำรงพระยศเป็นพระมหากษัตริย์ เป็นทรัพย์สิน ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ ต้นราชวงศ์จักรี พูดง่ายๆ ก็คือเป็นสมบัติของชาติชนิดหนึ่ง หมายถึงเป็นสมบัติของ สถาบันพระมหากษัตริย์ ที่มีมาตั้งแต่เริ่มตั้ง ราชวงศ์จักรี สืบทอดเรื่อยมา
ต่อมา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทรัพย์สินส่วนนี้ จึงตกเป็นของแผ่นดิน แต่เพื่อเป็นการให้เกียรติ์ราชวงศ์จักรี ซึ่งเป็นเจ้าของเดิม จึงตั้งชื่อเป็น “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ขึ้น ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ กระทรวงการคลัง อีกที
ส่วน “พระมหากษัตริย์” ก็ได้รับพระเกียรติ์ ให้ทรงสามารถแต่งตั้ง คณะกรรม ไปช่วยดูแลการทำงานได้ 4 คน โดยมี รมต.กระทรวงการคลัง เป็นประธาน และมีผู้อำนวยการ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นผู้บริหาร แต่ทั้งหมดนี้ ต้องนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของชาติ และประชาชนเท่านั้น
“สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ไม่ได้นำ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไปใช้ในเรื่องส่วนพระองค์ของ “พระมหากษัตริย์” เลย แต่นำไปใช้เพื่อช่วยเหลือประชาชน และสังคมทั้งหมด
แต่ถ้าสำนักงานทรัพย์สินฯ อยากจะบริจาคเงิน ให้มูลนิธิต่างๆ ของในหลวง ก็ย่อมทำได้ และตามกฎหมาย “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” เป็น “ทรัพย์สินของแผ่นดิน” จึงไม่ต้องเสียภาษี แต่ส่วน เงินปันผล ที่ได้จากการถือ หุ้นบริษัทต่างๆ ก็มีการหักภาษี ณ. ที่จ่ายตามปกติ (ข้อมูลทั้งหมด จากเว็บ “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” และสามารถติดตามการทำงานต่างๆ ของสำนักงานฯ ได้เช่นกัน)
ส่วนรายได้ของ “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ก็จะนำไปลงทุนในกิจการต่างๆ เพื่อออกดอกผล แต่ทั้งหมด เมื่อได้มาก็เพื่อนำไปส่งเสริมกิจกรรม ที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมต่อไป
แต่จะมีเงินส่วนหนึ่ง ที่จะถวายให้ ในหลวง ในแต่ละปี เพื่อไปใช้ตาม พระราชอัธยาศัย บ้างตามสมควร (ก็อาจถือว่าเป็น เงินเดือน โดยตำแหน่งก็ได้ เราต้องไม่ลืมนะครับว่า เดิมทรัพย์สินตรงนี้ เดิมเป็นของ ราชวงศ์จักรี มาก่อน พอเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็ไปขอของๆ พระองค์ ให้มาเป็นสมบัติชาติ )
“ทรัพยสินส่วนพระองค์”
อันนี้แปลง่ายๆ ก็คือ “ทรัพย์สินส่วนตัว” ของในหลวง ซึ่งต้องเสียภาษีอากรให้แก่รัฐ และมูลนิธิต่างๆ ที่ ในหลวง ทรงริเริ่มตั้ง ก็จะนำมาจาก “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” ก่อตั้งทั้งสิ้นครับ เช่น
“มูลนิธิอานันทมหิดล” จุดประสงค์ เพื่อมอบทุนให้แก่นักเรียน เรียนดีไปศึกษาต่อต่างประเทศ ในสาขาวิชาสำคัญๆ ที่ขาดแคลนในประเทศ
“มูลนิธิชัยพัฒนา” เป้าหมายที่สำคัญคือ เพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชน ให้มีความร่มเย็น เป็นสุข และอยู่ดีกินดี อันจะนำไปสู่ความมั่นคง ของประเทศ คือ “ชัยชนะแห่งการพัฒนา” (ดูรายละเอียดได้ที่ เว็บมูลนิธิชัยพัฒนา) และยังมีอีกหลายๆ มูลนิธิ เช่น “มูลนิธิราชประชาสมาสัย” เพื่อช่วยเหลือ ผู้ป่วยโรคเรื้อน และญาติ เป็นต้น
วันที่ในข่าวนี้ 1 มกราคม 1932 วันที่ประมาณการ