Skip to content
Home » News » แฮร์รี่ พอตเตอร์

แฮร์รี่ พอตเตอร์

https://www.blockdit.com/posts/5ff93cb6a245230cb9664e35?id=5ff93cb6a245230cb9664e35&series=5fecc1fb186a470b2629256c

แฮร์รี่ พอตเตอร์ โจได้งานเป็นอาจารย์สอนภาษาฝรั่งเศส ซึ่งในเวลาว่าง โจก็จะนำแบบร่างแฮร์รี พอตเตอร์มาเกลา และต้องการทำให้งานชิ้นนี้ออกมาดีที่สุดผ่านไปเจ็ดปีหลังจากเขียนฉบับร่างเสร็จสมบูรณ์ โจก็พร้อมจะแนะนำแฮร์รี พอตเตอร์ให้โลกได้รู้จักแล้ว

โจได้ปรินท์สามบทแรกของแฮร์รี พอตเตอร์ ก่อนจะนำมาห่อพลาสติกและส่งให้เอเจนซีได้ลองอ่าน ซึ่งเอเจนซีเหล่านี้ก็คือคนกลางที่ขายหนังสือให้สำนักพิมพ์ โดยเอเจนซีนั้นมีช่องทางการติดต่อสำนักพิมพ์ และได้ส่วนแบ่งจากนักเขียนไม่กี่วันหลังจากที่ส่งสามบทแรกให้เอเจนซีได้ลองอ่าน ต้นฉบับของเธอก็ถูกตีกลับมา เอเจนซีไม่สนใจและไม่ต้องการอ่านบทที่เหลือ

ถึงแม้จะถูกปฏิเสธ แต่โจก็ไม่ท้อ เธอมาไกลเกินกว่าจะถอยได้แล้วโจได้หาเอเจนซีรายใหม่ และก็พบกับชายที่ชื่อ “คริสโตเฟอร์ ลิตเติล (Christopher Little)”ต้นฉบับแฮร์รี พอตเตอร์ถูกกองรวมอยู่กับต้นฉบับอื่นๆ ในสำนักงานของลิตเติล ซึ่งต้นฉบับอื่นๆ ก็มีมากเหลือเกิน และลิตเติลคงไม่มาเสียเวลาดูทั้งหมด

วันหนึ่ง ขณะที่กำลังจะออกไปทานอาหารกลางวัน ลิตเติลได้ลองหยิบต้นฉบับของวรรณกรรมที่คนในออฟฟิศชอบอ่าน ลองเอาติดมือไปอ่านขณะพักทานอาหารกลางวันเพื่อนของลิตเติลที่นัดทานอาหารกลางวันนั้นมาสาย ลิตเติลจึงลองหยิบต้นฉบับพ่อมดน้อยมาเปิดอ่านดู และเขาก็ถูกดูดเข้าไปในโลกของพ่อมดน้อยในทันทีเมื่อกลับถึงออฟฟิศ ลิตเติลก็ได้เขียนจดหมายหาโจ กล่าวว่าเขารู้สึกสนใจที่จะตีพิมพ์หนังสือเรื่องนี้ ซึ่งทำให้โจดีใจมากในที่สุด โอกาสก็มาถึงแล้วลิตเติลขายหนังสือของโจแก่สำนักพิมพ์ Bloomsbury ซึ่งส่วนแบ่งจากการขายนั้นก็มากพอที่จะทำให้โจมาเป็นนักเขียนเต็มตัว และลาออกจากงานอาจารย์

ภายหลังจากพยายามมาเป็นเวลานานหลายปี ในที่สุด ฝันของโจก็เป็นจริง เธอได้เป็นนักเขียนอย่างเต็มตัวแล้วต่อมาไม่นาน ลิตเติลได้ติดต่อโจเพื่อบอกว่าหนังสือแฮร์รี พอตเตอร์ของโจกำลังถูกประมูลในสหรัฐอเมริกาโจนั้นแปลกใจ เธอนึกว่าการประมูลจะมีแต่พวกเครื่องเพชรหรือของเก่า ราคาแพงๆ ไม่นึกว่าหนังสือของเธอก็ถูกประมูลได้

ลิตเติลอธิบายให้โจฟังว่าในสหรัฐอเมริกา สำนักพิมพ์ต่างๆ กำลังสนใจหนังสือของโจ สนใจมากซะจนแข่งกันว่าใครจะซื้อไปตีพิมพ์ได้

https://www.blockdit.com/posts/5ff93cb6a245230cb9664e35?id=5ff93cb6a245230cb9664e35&series=5fecc1fb186a470b2629256c

ในปี 1995 โรว์ลิงเขียนต้นฉบับของแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์เสร็จด้วยเครื่องพิมพ์ดีดรุ่นเก่า เธอส่งต้นฉบับไปให้บริษัทตัวแทนคริสโตเฟอร์ ลิตเติ้ลในฟูแล่ม ภายหลังจากที่ได้อ่านสามบทแรกของต้นฉบับ ไบรโอนี่ อีแวนผู้พิจารณาต้นฉบับก็รู้สึกสนใจเป็นอย่างมาก ทางบริษัทจึงตกลงที่จะเป็นตัวแทนของโรว์ลิงในการหาผู้ตีพิมพ์

โดยส่งต้นฉบับไปให้สำนักพิมพ์ 12 แห่งพิจารณา แต่ก็ได้รับการปฏิเสธทั้งหมด ในที่สุดหนึ่งปีให้หลังเธอก็ได้รับการอนุมัติ (พร้อมเงินจ่ายล่วงหน้า 1,500 ปอนด์) จากแบร์รี คันนิงแฮม บรรณาธิการสำนักพิมพ์บลูมบิวส์รีในลอนดอน การตัดสินใจตีพิมพ์หนังสือของโรว์ลิงถือเป็นหนี้บุญคุณของอลิซ นิวตัน ลูกสาววัยแปดขวบของประธานบริหารสำนักพิมพ์บลูมบิวส์รี ซึ่งได้ลองให้ลูกสาวอ่านบทแรกของหนังสือดูและปรากฏว่าเธอขออ่านบทต่อไปในทันทีที่อ่านบทแรกจบ

และแม้ว่าบลูมบิวส์รีจะตกลงที่จะตีพิมพ์หนังสือ แต่คันนิ่งแฮมแนะนำให้โรว์ลิงหางานช่วงกลางวันทำเนื่องจากเธอมีโอกาสน้อยมากที่จะทำเงินจากหนังสือเด็ก ไม่นานหลังจากนั้น ในปี 1997 โรว์ลิงได้รับเงินจากสภาศิลปะสก็อตเป็นเงินจำนวน 8,000 ปอนด์เพื่อสนับสนุนเธอในงานเขียนครั้งต่อ ๆ ไป

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1997 บลูมบิวส์รีตีพิมพ์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ โดยตีพิมพ์ครั้งแรกทั้งหมด 1,000 เล่ม หนังสือ 500 เล่มจากทั้งหมดได้ถูกแจกจ่ายให้กับห้องสมุดต่าง ๆ ในปัจจุบันหนังสือเหล่านี้มีมูลค่าอยู่ระหว่าง 16,000 ปอนด์ไปจนถึง 25,000 ปอนด์ ห้าเดือนให้หลัง ศิลาอาถรรพ์ก็ได้รับรางวัลหนังสือเนสเล่สมาร์ตตีส์

จากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ก็ได้รับรางวัลบริติชบุ๊คอวอร์ด สาขาหนังสือเด็กแห่งปีและตามด้วยรางวัลชิลเดรนส์บุ๊คอวอร์ด ต่อมาในช่วงต้นปี 1998 มีการจัดการประมูลขึ้นที่สหรัฐอเมริกา เพื่อยื่นซื้อลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์นิยายและสำนักพิมพ์สกอแลสติกชนะการประมูลด้วยค่าลิขสิทธิ์ 105,000 ดอลล่าร์

โรว์ลิงกล่าวว่าเธอ “แทบคลั่ง” เมื่อทราบข่าวนี้ ในเดือนตุลาคม ปี 1998 สำนักพิมพ์สกอแลสติกได้ตีพิมพ์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์และเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษจากคำว่า Philosopher’s Stone เป็น Harry Potter and the Sorcerer’s Stone การปรับเปลี่ยนในครั้งนี้โรว์ลิงได้บอกว่าเธอรู้สึกเสียดายและคงจะคัดค้านถ้าเธออยู่ในสถานะที่ดีกว่าที่เธอเป็น ณ ตอนนั้น

ภายหลังโรว์ลิงย้ายออกจากแฟลตของเธอมาอยู่ที่บ้านเลขที่ 19 ถนนฮาร์เซลแบงก์ เทอร์เรซ ในเอดินบะระ ด้วยเงินที่ได้จากการขายลิขสิทธิ์ให้สกอแลสติก

https://www.blockdit.com/posts/5ff93cb6a245230cb9664e35?id=5ff93cb6a245230cb9664e35&series=5fecc1fb186a470b2629256c

จากนั้นหนังสือภาคต่อ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับ ก็ได้รับการตีพิมพ์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1998และเป็นอีกครั้งที่โรว์ลิงได้รับรางวัลหนังสือเนสเล่สมาร์ตตีส์ ต่อมาในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1999 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันก็ได้รับรางวัลดังกล่าวอีกครั้งและทำให้โรว์ลิงเป็นนักเขียนคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้สามครั้งติดต่อกัน

ภายหลังเธอถอนชื่อหนังสือเล่มที่สี่ของเธอออกจากการแข่งขันเพื่อเปิดโอกาสและให้ความยุติธรรมแก่นักเขียนคนอื่น แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน ยังได้รับรางวัลหนังสือวิตเบรดสาขาหนังสือเด็กแห่งปี แม้ว่าจะพลาดรางวัลสาขาหนังสือแห่งปีให้กับเบวูล์ฟฉบับแปลของเชมัส ฮีนีย์ก็ตาม

หนังสือเล่มที่สี่ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี วางจำหน่ายพร้อมกันทั้งในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 และทำลายสถิติยอดขายของทั้งสองประเทศ โดยสามารถขายได้ 372,775 เล่มในวันแรกที่อังกฤษ ซึ่งเกือบจะเท่ากับจำนวนยอดขายตลอดปีของ นักโทษแห่งอัซคาบัน

ส่วนที่อเมริกาก็สามารถขายได้กว่าสามล้านเล่มภายในเวลา 48 ชั่วโมงแรกและทำลายทุกสถิติ โรว์ลิงกล่าวว่าเธอต้องเจอกับปัญหาใหญ่ระหว่างที่เขียนหนังสือเล่มนี้ และต้องเขียนบทนึงในหนังสือใหม่หลายครั้งเพื่อแก้ปัญหาของโครงเรื่อง ในปีนั้นเองโรว์ลิงได้รับการระบุให้เป็นนักเขียนแห่งปี 2000 จากรางวัลบริติชบุ๊คอวอร์ด

เป็นการรอคอยนานกว่าสามปีตั้งแต่การวางแผงของ ถ้วยอัคนี กับเล่มที่ห้า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ ระยะห่างนี้ได้นำไปสู่การคาดการณ์ของนักข่าวว่าเธอเจอเข้ากับภาวะเขียนต่อไม่ออก แต่เธอได้ออกมาปฏิเสธ และกล่าวในภายหลังว่าการเขียนหนังสือเล่มนี้เป็นงานที่น่าเบื่อ เนื่องจากมันควรที่จะสั้นกว่านี้ อีกทั้งเธอยังหมดทั้งแรงและเวลาทุกครั้งที่พยายามจะเขียนมันต่อให้จบ

หนังสือเล่มที่หก แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม วางจำหน่ายในวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 และทำลายทุกสถิติการขายเช่นกัน สามารถขายได้ถึง 9 ล้านเล่มภายในเวลา 24 ชั่วโมงแรกของการวางขาย ต่อมาในปี 2006 เจ้าชายเลือดผสม ได้รับรางวัลหนังสือแห่งปีจากบริติชบุ๊คอวอร์ด

ชื่อของหนังสือเล่มที่เจ็ดซึ่งเป็นภาคสุดท้ายของหนังสือชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้รับการประกาศในวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2006 โดยใช้ชื่อว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต (Harry Potter and the Deathly Hallows) และในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 มีการประกาศว่าโรว์ลิงได้เขียนข้อความลงบนรูปปั้นครึ่งตัวในห้องพักของเธอที่โรงแรมบัลโมรัล เมืองเอดินบะระ ว่าเธอได้เขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์เล่มที่เจ็ดเสร็จในห้องนี้เมื่อวันที่ 11 มกราคม ปี 2007

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต วางจำหน่ายในวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 (เวลาเที่ยงคืนหนึ่งนาที) และทำลายสถิติหนังสือที่ขายได้ไวที่สุดตลอดกาลที่ภาคก่อนเคยทำได้สำเร็จ สามารถขายได้ถึง 11 ล้านเล่มในการวางขายวันแรกที่สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา และบทสุดท้ายของหนังสือก็เป็นหนึ่งในบทที่เธอเขียนไว้ตั้งแต่ช่วงปี 1990 แล้ว[80]

ณ ตอนนี้ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ถือเป็นชื่อสินค้าระดับโลกที่มูลค่ามากกว่า 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และหนังสือสี่เล่มสุดท้ายของแฮร์รี่ พอตเตอร์ก็สร้างสถิติเป็นหนังสือที่ขายได้ไวที่สุดติดต่อกัน หนังสือทั้งเจ็ดเล่มมีจำนวนหน้าทั้งหมด 4,195 หน้า และมีการนำไปแปลเป็นภาษาต่าง ๆ กว่า 73 ภาษา

หนังสือชุด แฮร์ พอตเตอร์ ยังได้รับการยอมรับว่าสามารถสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่เยาวชนในยุคที่เด็ก ๆ ต่างออกห่างจากหนังสือไปหาคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์แทน อย่างไรก็ตามก็ได้มีรายงานว่า ถึงแม้หนังสือชุดนี้จะสร้างความสนใจได้อย่างมหาศาล แต่จำนวนนักอ่านรุ่นเยาว์ก็ยังคงลดลงต่อไป

วันที่ในข่าวนี้ 1 มกราคม 1995 วันที่ประมาณการ