ไอแซก นิวตัน ตำนานแอปเปิลหล่น ย้อนกลับไปกว่า 300 ปีที่แล้ว ในปีค.ศ.1687 เซอร์ ไอแซค นิวตัน ได้เผยกฎฟิสิกข์ที่ยิ่งใหญ่ของโลกนั่นคือ “กฎแรงโน้มถ่วง”หรือ”กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน”กฎแรงโน้มถ่วงของนิวตัน อธิบายไว้ว่า ” แต่ละจุดมวลในเอกภพจะดึงดูดจุดมวลอื่นๆ ด้วยแรงที่มีขนาดเป็นสัดส่วนโดยตรงกับผลคูณของมวลทั้งสอง และเป็นสัดส่วนผกผันกับค่ากำลังสองของระยะห่างระหว่างกัน “อ่านแล้วอาจจะงงๆ แต่ไม่เป็นไร เพราะวันนี้เราจะพาคุณมาดูต้นตอของการเกิดทฤษฎีนี้ นั่นคือต้นแอปเปิ้ลในสวนหลังบ้านของคุณแม่ เซอร์ ไอแซค นิวตัน
ไอแซก นิวตัน ตำนานแอปเปิลหล่น ต้นแอปเปิ้ลต้นนี้อยู่ในหมู่บ้าน Woolsthorpe-by-Colsterworth เมืองลิงคอล์นเชียร์ ประเทศอังกฤษ บ้านเกิดของเซอร์นิวตัว โดยถูกนำมาปลูกครั้งแรกเมื่อ 400 กว่าปีที่แล้ว จนกระทั่งอีก 240 ปีต่อมาก็ปรากฎแก่สายตาของท่านเซอร์นิวตัน

และต้นแอปเปิ้ลต้นนี้เอง ที่ทำให้ท่านเซอร์นิวตัวได้ค้นพบกฎแรงโน้มถ่วงของโลก แต่การค้นพบในครั้งนั้นลูกแอปเปิ้ลไม่ได้ตกใส่หัวเซอร์นิวตันอย่างที่เราเข้าใจกันแต่อย่างใด!! เพราะความจริงแล้วจากบันทึกอัตชีวประวัติของนิวตัว ที่ชื่อว่า Memoirs of Sir Isaac Newton’s Life ซึ่งถูกบันทึกโดย วิลเลียม สเทิกลีย์ (William Stukeley) เพื่อนสมัยวัยเด็กของนิวตัน ได้ระบุเหตุการณ์ในวันนั้นไว้ว่า”เราเดินไปที่สวนและดื่มชากันใต้ร่มเงาของต้นแอปเปิล และนิวตันก็บอกแก่ข้าพเจ้าว่า เขาอยู่ในสภาพแวดล้อมคล้ายๆ กับตอนนี้เลย
ในตอนที่ความคิดเรื่องแรงโน้มถ่วงผุดขึ้นมาในใจเขา ทำไมลูกแอปเปิลจึงต้องตกตรงสู่พื้นเป็นมุมฉากด้วย เขาคิดกับตัวเองเช่นนั้นขณะเห็นลูกแอปเปิลตกลงพื้นพอดี มันต้องมีแรงดึงบางอย่างสถิตอยู่ในสสารเป็นแน่ และศูนย์กลางของแรงดึงในสสารของโลกก็ต้องเป็นศูนย์กลางของโลกแน่ ไม่ใช่เพียงด้านใดด้านหนึ่งของโลก”ซึ่งจากการบันทึกในเหตุการณ์ดังกล่าว เราจึงตีความได้ว่า จริงๆ แล้วลูกแอปเปิ้ลก็ตกลงพื้นเป็นปกติ เพียงแต่ท่านเซอร์นิวตัวไปเห็นแล้วเกิดข้อสงสัยถึงแรงโน้มถ่วงนั่นเอง
การค้นพบและสร้างกฎแรงโน้มถ่วงของนิวตันเป็นสิ่งที่พิเศษและเหลือเชื่ออย่างยิ่ง ไม่มีใครนึกฝันมาก่อนว่ามีแรงดึงดูดระหว่างมวล แล้วนิวตันค้นพบได้อย่างไร จึงมีตำนานเล่าว่าขณะที่เขานั่งใต้ต้นแอปเปิลมีลูกแอปเปิลหล่นลงมาใส่หัว ทำให้เขาเกิดปัญญาคิดขึ้นได้อย่างฉับพลันว่าลูกแอปเปิลหล่นลงมาด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งอันที่จริงการค้นพบของนิวตันต้องผ่านการศึกษาค้นคว้า ครุ่นคิดใคร่ครวญ พัฒนามาเป็นลำดับ ต้องสร้างวิชาแคลคูลัส สร้างกฎการเคลื่อนที่ และใช้เวลานานหลายปีกว่าจะสรุปออกมาเป็นกฎแรงโน้มถ่วงได้ แต่ตำนานแอปเปิลหล่นก็ไม่ใช่เรื่องที่มโนขึ้นเอง มีหลักฐานว่าเรื่องลูกแอปเปิลหล่นก็เป็นส่วนหนึ่งของแรงบันดาลใจในการค้นพบด้วยเช่นกัน
William Stukeley ผู้เขียนบันทึกเรื่องราวของนิวตันในชื่อ “Memoirs of Sir Isaac Newton’s Life” ได้บันทึกสิ่งที่นิวตันเล่าให้เขาฟังด้วยตัวเองขณะพวกเขาสองคนนั่งอยู่ใต้ต้นแอปเปิลในสวนว่า “เมื่อก่อนเขา (นิวตัน) อยู่ในสถานการณ์แบบเดียวกันนี้ ได้เห็นลูกแอลเปิลหล่น ความคิดเรื่องแรงโน้มถ่วงเข้ามาในใจเขา ทำไมลูกแอปเปิลถึงตกดิ่งลงสู่พื้น ทำไมไม่ออกไปด้านข้างหรือขึ้นข้างบน ทำไมมันถึงมุ่งสู่ใจกลางโลกเสมอ เหตุผลคือโลกดึงมันลงมา จะต้องมีแรงดึงในสสารและผลรวมของแรงดึงในสสารของโลกต้องอยู่ในแนวศูนย์กลางของโลก ถ้าสสารดึงสสาร มันจะต้องมีสัดส่วนตามปริมาณของมัน ดังนั้นลูกแอปเปิลดึงโลกและโลกก็ดึงลูกแอปเปิล” ตำนานลูกแอปเปิลหล่นกับการค้นพบที่ยิ่งใหญ่นี้จะถูกเล่าขานไปอีกนานแสนนาน
ทุ่มสุดตัวเพื่อผลงานยิ่งใหญ่แต่นอบน้อมถ่อมตนยิ่ง
ผลงานและความสำเร็จของนิวตันมิใช่ได้มาด้วยความอัจฉริยะของเขาเพียงอย่างเดียว แต่เป็นผลจากการทุ่มเทในการศึกษาค้นคว้าทดลองครุ่นคิดวิเคราะห์ที่ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก เขาอุทิศเวลาทั้งชีวิตให้กับการทำงาน นิวตันไม่เคยแต่งงาน ไม่อยู่ภายใต้กิเลสตัณหาและความเปราะบางทางอารมณ์แบบผู้ชายคนอื่น เชื่อกันว่าเขาเสียชีวิตไปโดยที่ยังบริสุทธิ์อยู่
แม้นิวตันจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานโดดเด่นที่สุดและได้รับการยกย่องมากที่สุดในยุคนั้น แต่เขากลับเจียมเนื้อเจียมตัวกับความสำเร็จของตัวเอง ดังจะเห็นได้จากถ้อยคำที่เขาสื่อสารกับเพื่อนร่วมวงการ เช่น
“ถ้าฉันสามารถมองได้ไกลกว่าคนอื่น นั่นเป็นเพราะว่าฉันยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์”
ซึ่งน่าจะหมายถึงความสำเร็จของเขามาจากผลงานของผู้ยิ่งใหญ่ยุคก่อนหน้า และหนึ่งในบรรดายักษ์ที่นิวตันให้การยกย่องเป็นพิเศษคือกาลิเลโอ ส่วนไหล่ของเขานั้นได้เป็นที่ยืนให้กับใครต่อใครมากมาย รวมทั้งไอน์สไตน์ผู้โด่งดัง
ส่วนปัจจุบันต้นแอปเปิ้ลต้นนี้ได้รับการดูแลอย่างดีโดย National Trust องค์การอนุรักษ์สถานที่เพื่อประโยชน์ทางประวัติศาสตร์หรือความสวยงามแห่งชาติ ในประเทศอังกฤษเพราะครั้งหนึ่งเคยเกิดพายุพัดจนต้นแอปเปิ้ลต้นนี้โค่นลงมาในปี 1820 แต่โชคดีที่รากยังคงฝังลึกและงอกออกมาใหม่ดังที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
นอกจากนี้ยังมีการตอนกิ่งต้นแอปเปิ้ลของเซอร์นิวตันเพื่อนำไปปลูกในสถาบันการศึกษาและสถาบันชื่อดังอื่นๆ อีกด้วย ได้แก่
- Massachusetts Institute of Technology ประเทศสหรัฐอเมริกา
- Bariloche Institute ใน Bariloche ประเทศอาร์เจนติน่า- East Malling Research Station, ประเทศอังกฤษ
- The Botanical Gardens in Kew, ประเทศอังกฤษ
- The gardens of Hatfield House, ประเทศอังกฤษ
- Hertfordshire, ประเทศอังกฤษ
- The Cambridge Botanical Gardens, ประเทศอังกฤษ- The Fellow’s Garden at Queen’s College, Cambridge, ประเทศอังกฤษ
- The National Physical Laboratory, Teddington, ประเทศอังกฤษ
- National Institute of Standards and Technology, Washington DC, ประเทศสหรัฐอเมริกา
- The Dominion Physical Laboratory
ประเทศนิวซีแลนด์โดยหลายสถานศึกษาเวลาสอนเรื่องแรงโน้มถ่วงของนิวตัน ก็จะนำลูกแอปเปิ้ลจากต้นดังกล่าวมาสอนให้นักศึกษาในคลาสนั้นทำให้เหมือนว่าได้ย้อนเวลาไปค้นพบกฎแรงโน้มถ่วงเช่นเดียวกับท่าน “เซอร์ ไอแซค นิวตัน” เลย!!

1.ม.ค.1687(วันที่ประมาณการ)